การป้องกันโรค - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การป้องกันโรค

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > โรคปลาดุกและการป้องกันรักษา
การป้องกันโรค
ปกติเชื้อแบคทีเรียมีอยู่ภายในบ่อเลี้ยงแล้ว ปลาตัวที่แข็งแรงจะมีความต้านทานต่อเชื้อดังกล่าวได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อปลาตัวใดเกิดอ่อนแอลงอาจจะเนื่องมาจากน้ำเสีย ปลาแน่นบ่อเกินไป หรือมีตัวปรสิตเกาะจะทำให้ปลาตัวนั้นเกิดโรคได้ทันที และโรคที่เกิดขึ้นนั้นการรักษามักไม่ค่อยได้ผล อาจจะเป็นเพราะว่าเมื่อปลาเกิดโรคแล้วไม่ค่อยกินอาหาร
ดังนั้นการใช้ยาผสมกับอาหารให้ปลากินจึงเป็นวิธีการที่ไม่ค่อยได้ผล วิธีที่ดีที่สุดจะไม่ให้ปลาเกิดโรค คือ การป้องกัน ได้แก่ การกำจัดสาเหตุต่างๆดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น และก่อนเลี้ยงปลาหรืออยู่ในช่วงระยะการเลี้ยงปลาอยู่ ผู้เลี้ยงควรปฏิบัติดังนี้

1. การเตรียมบ่อ บ่อใหม่ควรจะใส่ปูนขาวประมาณไร่ละ 60-100 กิโลกรัม หรืออาจใช้มากกว่านี้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเป็นกรดเป็นด่างว่ามากน้อยเพียงใด สำหรับบ่อเก่าหลังจากจับปลาออกหมด ควรจะมีการวิดบ่อ แล้วใช้ปูนขาวในอัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่โรยให้ทั่วบ่อ ทิ้งไว้อย่างน้อย 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงปล่อยน้ำเข้าบ่อทิ้งไว้อีก 1 สัปดาห์จึงปล่อยปลาลงเลี้ยงได้ ส่วนในกรณีที่เป็นบ่อเก่าซึ่งมีน้ำขังอยู่เป็นเวลานาน ก่อนที่จะปล่อยปลาลงเลี้ยงควรจะได้กำจัดปลาที่หลงเหลืออยู่ในบ่อออกให้หมดเสียก่อนโดยการใช้ โลติ๊น

หากเป็นไปได้ทางที่ปล่อยน้ำเข้าบ่อควรมีอวนตาถี่กั้น เพื่อป้องกันพวกปรสิตบางชนิดและปลาธรรมชาติเข้าไปในบ่อ เพราะปลาเหล่านี้อาจเป็นตัวนำโรคและสามารถทำให้ปลาในบ่อเกิดโรคได้ทันทีในสภาพที่ปลาในบ่อแน่นและอ่อนแอ

2. อุปกรณ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่ใช้ในบ่อปลาของแต่ละบ่อไม่ควรใช้ปนกัน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้โรคติดต่อกันได้ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรจะตากให้แห้งเสียก่อนหรือจุ่มลงในน้ำยาฟอร์มาลีน 10 เปอร์เซ็นต์ก็ได้ เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งตามความสะดวก

3. ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงควรได้นำปลาไปแช่ในน้ำยาฟอร์มาลีน โดยใช้ฟอร์มาลีนความเข้มข้น 50-100 ppm แช่นาน 10-15 นาที ทั้งนี้เพื่อกำจัดพวกปรสิตที่ติดมากับตัวปลา หรือจะใช้ฟอร์มาลีน 50 ซีซี.ต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ใส่ลงในบ่อทันทีที่ปล่อยปลาลงเลี้ยงก็ได้ วิธีนี้ปลอดภัยกว่าวิธีแรกแต่สิ้นเปลืองฟอร์มาลีนมากกว่า

4. พยายามหาพันธุ์ปลาที่สมบูรณ์แข็งแรงหรือปลาที่ปราศจากโรค มาเลี้ยง

5. ต้องให้ปลาอยู่ในสภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ คือน้ำจะต้องดีอยู่เสมอ ควรถ่ายน้ำบ่อยๆ ปริมาณปลาที่ปล่อยลงเลี้ยงจะต้องไม่แน่นเกินไป อาหารควรมีปริมาณของวิตามินและเกลือแร่ตามที่ปลาต้องการและปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป

6 ขณะที่จับปลาหรือขนย้ายปลาควรจะทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ปลาบอบช้ำได้ เพราะจะทำให้ปลาอ่อนแอแล้วโรคจะเข้าแทรกซ้อนทันที

7. เมื่อปลาตายเกิดขึ้นภายในบ่อต้องตักช้อนปลาตายทิ้งให้หมดและ ต้องหาสาเหตุการตายของปลาว่าเกิดจากอะไร เพื่อจะได้หาทางป้องกันได้ทัน

No comments
Back to content