การจับรวบรวมลูกพันธุ์ปลา - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การจับรวบรวมลูกพันธุ์ปลา

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก
การจับรวบรวมลูกพันธุ์ปลา
หลังจากทำการอนุบาลลูกปลาดุกจนได้ขนาดแล้ว จึงทำการจับรวบรวมลูกพันธุ์ปลาเพื่อนำไปเลี้ยงหรือจำหน่าย โดยจะต้องทำด้วยความละเอียดอ่อน และระมัดระวังอย่างมาก ถ้าเป็นลูกปลาที่อนุบาลในบ่อซีเมนต์การรวบรวมสามารถทำได้ง่าย โดยใช้อวนลูกปลาหรือกระชังผ้าโอล่อนแก้วลากลูกปลาจากหัวบ่อไปท้ายบ่อตามความยาวของบ่อ พยายามรวบรวมลูกปลาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการลากครั้งเดียว เมื่อรวบรวมลูกปลาได้เกือบหมด แล้วจึงระบายน้ำออกจากบ่อเพื่อจับลูกปลาที่เหลือโดยใช้กระชอนตาถี่รองรับลูกปลา แต่ในวันที่จับรวบรวมลูกปลาจะต้องงดให้อาหารแก่ลูกปลา

ส่วนลูกปลาดุกที่อนุบาลในบ่อดินการจับรวบรวมจะทำได้ค่อนข้างลำบากกว่าและมักจะรวบรวมลูกปลาได้ไม่ค่อยหมด วิธีที่ใช้ได้ผลดีคือการใช้อวนลาก อวนที่ใช้จะต้องเป็นอวนที่ไม่มีปมและเนื้ออวนต้องนิ่ม การจับควรทำในตอนเช้าที่อากาศแจ่มใส ไม่ครึ้มฟ้าครึ้มฝนหรือไม่มีแดดจัด เมื่อจะจับลูกปลาจะต้องงดให้อาหารในวันนั้น ก่อนลากอวนควรลดระดับน้ำในบ่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง และบริเวณปลายท่อสูบน้ำด้านในบ่อต้องใช้โครงสี่เหลี่ยมบุด้วยอวนตาถี่สวมไว้เพื่อป้องกันลูกปลาออกไปทางท่อ จากนั้นจึงใช้อวนลูกปลาลากจากหัวบ่อไปท้ายบ่อ ในการตีอวนนั้นจะต้องกดคร่าวล่างของอวนให้ติดพื้นบ่อมากที่สุด แต่ไม่ควรให้จมลงไปในเลนมากนักเพราะจะทำให้เลนติดมามาก ทำให้หนัก และเมื่อตึงอวนขึ้นจะทำให้ลูกปลาจมในเลน

เมื่อรวบรวมลูกปลาได้ครั้งหนึ่งให้ใช้สวิงตาที่ตักลูกปลาใส่ในภาชนะที่บรรจุน้ำไว้ แล้วลากกลับจากท้ายบ่อมาหัวบ่ออีกครั้งก็พอ ไม่ควรลากเกิน 2 ครั้ง เพราะจะทำให้น้ำขุ่นและลูกปลาบอบช้ำมากเกินไป จากนั้นจึงระบายน้ำออกให้เกือบหมด ลูกปลาที่เหลือก็จะไปรวมกันอยู่ในร่องกลางบ่อสามารถใช้สวิงตักลูกปลาได้ง่าย นำลูกปลาที่ได้ไปปล่อยในบ่อพักเพื่อรอการลำเลียงต่อไป ลูกปลาจากบ่อดินควรนำมาพักไว้อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงก่อนการลำเลียง เพื่อให้ลูกปลาขับถ่ายของเสียและปรับตัวให้เคยชินกับสภาพที่อยู่กันอย่างหนาแน่นได้

No comments
Back to content