กาอนุบาลในบ่อดินขนาดใหญ่ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

กาอนุบาลในบ่อดินขนาดใหญ่

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > การอนุบาลปลาวัยอ่อน > กาอนุบาลในบ่อดินขนาดใหญ่
1.2 บ่อดินขนาดใหญ่
เหมาะสำหรับการอนุบาลลูกปลาให้ได้ขนาด 3-5 เซนติเมตร เพื่อรอการจับจำหน่ายหรือปล่อยลงบ่อเลี้ยง ขนาดของบ่อจะแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้เลี้ยง โดยทั่วไปจะมีขนาดตั้งแต่ 100-800 ตารางเมตร ยกคันบ่อให้สูง ความลึกของบ่อประมาณ 1 เมตร ดินควรเป็นดินที่สามารถเก็บกักน้ำ ได้โดยไม่รั่วซึม พื้นก้นบ่อควร ขนาดกว้าง 0.5-1 เมตร ลึกจากระดับพื้นก้นบ่อประมาณ 20 เซนติเมตร ยาวจากหัวบ่อจรดท้ายบ่อ เพื่อสะดวกในการรวบรวมลูกปลาเมื่อน้ำลด ตรงปลายร่องควรมีแอ่งลึกมีพื้นที่ประมาณ 2-4 ตารางเมตร เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมลูกปลา ตรงปลายร่องที่ติดกับคันบ่อให้ฝังท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้วทะลุสู่คูระบายน้ำ ตรงปลายท่อที่อยู่ภายในบ่อปิดกั้น ด้วยอวนพลาสติกสีเขียวตาขนาดเล็ก ตรงปลายท่อที่อยู่ในคูระบายน้ำสวมด้วยข้อต่อตั้งตรง ซึ่งตรงส่วนนี้สามารถโยกผลักให้ล้มนอนราบเพื่อระบายน้ำออกได้

หลังจากขุดบ่อเรียบร้อยแล้วจึงทำการเตรียมบ่อเพื่อปรับสภาพให้เหมาะสมกับการปล่อยลูกปลาดุกลงอนุบาล เนื่องจากลูกปลาดุกในระยะนี้มีความอ่อนแอและไม่ค่อยอดทนต่อสภาพแวดล้อม อาจกล่าวได้ว่าอัตราการรอดตายและการเจริญเติบโตของลูกปลาจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขั้นตอนของการเตรียมบ่อ ซึ่งการเตรียมบ่อที่ดีจะช่วยให้การดูแลลูกปลาในขั้นตอนของการเตรียมบ่อ ซึ่งการเตรียมบ่อที่ดีจะช่วยให้การดูแลลูกปลาในขั้นต่อๆไปง่ายขึ้น ลูกปลามีอัตราการรอดตายและการเจริญเติบโตสูง การเตรียมบ่อก่อนอื่นต้องกำจัดวัชพืชที่ขึ้นอยู่รอบข้างบ่อให้หมดเสียก่อน หากเป็นบ่อเก่าที่เคยผ่านการอนุบาลมาแล้วหลายรุ่นต้องเอาโคลนเลนออกแล้วตากบ่อให้แห้ง  ใช้เกลือโรยรอบบ่อในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อเนื้อที่บ่อ 8 ตารางเมตร หรือใช้ปูนขาว 1 กิโลกรัมต่อเนื้อที่บ่อ 20 ตารางเมตร หลังจากนั้นจึงใส่ปุ๋ยคอกตากแห้งอาจเป็นมูลสุกร มูลเป็ดหรือมูลไก่ก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกในการจัดหา ใส่ลงในอัตรา 50-250 กิโลกรัมต่อไร่ ระบายน้ำเข้าให้ได้ระดับ 25-30 เซนติเมตร ปล่อยทิ้งไว้ 2-3 วัน ปุ๋ยคอกที่ใส่ลงไปจะช่วยให้เกิดอาหารธรรมชาติขึ้นในบ่อ หรืออาจเพาะไรแดงไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะปล่อยลูกปลาลงอนุบาลในบ่อก็ได้

เมื่อมีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้นในบ่อแล้วจึงทำการปล่อยลูกปลาที่เตรียมไว้ ไม่ควรปล่อยลูกปลาหนาแน่นเกินไปเพราะจะทำให้อัตราการรอดต่ำ การอนุบาลในบ่อดินขนาดใหญ่จะปล่อยในอัตรา 300-500 ตัวต่อตารางเมตร เวลาที่นิยมปล่อยลูกปลามักเป็นในเวลาตอนเย็นหรือตอนค่ำ ทั้งนี้เพื่อจะช่วยให้ลูกปลาพื้นตัวได้เร็วขึ้น ไม่เกิดความเครียดและกระทบกระเทือน มาก เนื่องจากอากาศในตอนเย็นและตอนกลางคืนไม่ร้อน ลูกปลาที่จะนำมาปล่อยลงในบ่ออนุบาลควรได้ฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจติดมาจากบ่อฟักหรือพ่อแม่พันธุ์เสียก่อนทุกครั้ง โดยใช้ด่างทับทิม 3 กรัมต่อน้ำ 1 ตัน แช่ลูกปลา นาน 10 นาที หรืออาจใช้ฟอร์มาลีน (40 เปอร์เซ็นต์) 20-30 ซีซี.ต่อน้ำ 1 ตัน แช่ลูกปลานาน 30 นาที แล้วจึงปล่อยลูกปลาลงในบ่ออนุบาลได้ สำหรับการย้ายลูกปลามาจากบ่อเพาะฟักควรทำด้วยความระมัดระวังและทะนุถนอม เพราะลูกปลาระยะนี้ยังไม่สามารถทนทานต่อการกระทบกระเทือนที่รุนแรงได้ ในระยะ 2-3 วันแรกหลังจากปล่อยลูกปลาพบว่าลูกปลามักจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มตามขอบบ่อ หลังจากนั้นจะกระจายไปทั่วบ่อ

ลูกปลาดุกที่อนุบาลในบ่อดินขนาดใหญ่นี้จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะในบ่อมีอาหารธรรมชาติเพียงพอ ถึงแม้ว่าจะมีอาหารธรรมชาติอยู่ใน บ่อแล้วก็ตามแต่ก็ยังจะต้องให้อาหารสมทบเพิ่มเติมแก่ลูกปลาด้วย หลังจากปล่อยลูกปลาได้ 3-4 วันลูกปลาจะขึ้นมาผิวน้ำ ตรวจดูว่าไรแดงในบ่อยังเกิดมากอยู่หรือไม่ หากไรแดงลดน้อยลงมากควรเริ่มให้อาหารเสริมแก่ลูกปลา โดยในระยะแรกจะให้อาหารผงโรยให้กินวันละ 4-5 ครั้ง โดยกะให้อาหารกระจายเป็นชั้นบางๆ ทั่วบ่อ ลูกปลาจะเริ่มคุ้นเคยกับอาหารสำเร็จรูป เมื่ออนุบาลไปแล้ว 10 วันก็จะเริ่มหัดให้กินอาหารปั้นเป็นก้อนโดยใช้อาหารสำเร็จรูปสำหรับปลาดุกเล็กแช่น้ำพอนิ่ม ขยำเป็นก้อนเล็กๆโยนให้ทั่วบ่อ ในวันแรกๆ อาจให้อาหารผงคลุกรวมไปด้วยเพื่อให้กลิ่นอาหารคล้ายกลิ่นเดิม แล้วจึงค่อยๆลดอาหารผงลงคงเหลือแต่อาหารปลาดุกเพียงอย่างเดียว การให้อาหารลูกปลาดุกในระยะนี้ให้ยึดหลักว่าให้อาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง เพื่อให้ปลากินอาหารได้หมดไม่เหลือสะสมไว้ซึ่งเป็นเหตุให้น้ำเสียได้ และให้เพิ่มปริมาณอาหารขึ้นตามลำดับการเจริญเติบโตของปลาและความหนาแน่นของลูกปลาที่อยู่ในบ่อ

เมื่ออนุบาลไปได้ 3-4 วันลูกปลาจะเริ่มขึ้นมาผิวน้ำ ซึ่งในช่วงนี้ผู้เลี้ยงจะรู้ได้ทันทีว่ามีปลาเหลืออยู่ในบ่อมากน้อยเพียงใดโดยประมาณ ขณะเดียวกันในระหว่างการอนุบาลผู้เลี้ยงจะต้องคอยสังเกตลูกปลาในบ่อทุกวัน เพื่อดูว่าลูกปลามีอาการผิดปกติหรือไม่ หากมีอาการผิดปกติแสดงว่าปลาเริ่มเป็นโรค ควรจะได้ตรวจหาสาเหตุของโรคทันที โดยตรวจดูลักษณะอาการของโรค ชนิดของปรสิตและสภาพของน้ำในบ่อ เพื่อจะได้หาทางกำจัดต้นเหตุที่เกิดขึ้นต่อไป หลังจากอนุบาลปลาดุกไปได้ประมาณ 14 วันจะได้ลูกปลาขนาด 3-4 เซนติเมตร ในระยะเวลาอนุบาล 1 เดือนจะใช้อาหารปลาเป็ดประมาณ 250-300 กิโลกรัมต่อลูกปลา 100,000 ตัว

No comments
Back to content