การเริ่มต้นอนุบาลลูกปลาดุก - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเริ่มต้นอนุบาลลูกปลาดุก

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > การอนุบาลปลาวัยอ่อน > กาอนุบาลในบ่อดินขนาดใหญ่
การเริ่มต้นอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อดินขนาดใหญ่

จะระบายน้ำเข้าบ่อ ในระดับ 30 เซนติเมตร เพื่อให้ลูกปลาขึ้นมาฮุบน้ำบนผิวน้ำเอาอากาศใช้ในการหายใจได้สะดวก หากระบายน้ำลงบ่ออนุบาลในช่วงแรกลึกเกินไป ลูกปลาจะขึ้นมาฮุบน้ำได้ลำบากและบางตัวไม่สามารถขึ้นมาฮุบน้ำได้ก็ตายไป หลังจากนั้นให้เพิ่มน้ำในบ่อสัปดาห์ละ 10 เซนติเมตร เมื่อเริ่มอนุบาลจะมีการสะสมของเศษอาหารและของเสียที่ปลาขับถ่ายออกมาเพิ่มขึ้นตามลำดับทุกๆวัน จึงควรระบายน้ำเท่าทิ้งไปเมื่ออนุบาลไปได้ 10 วัน ซึ่งในการระบายน้ำทิ้งนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนว่าจะต้องถ่ายน้ำเมื่อไร ปริมาณเท่าใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของน้ำ โดยเมื่อสังเกตเห็นว่าน้ำเริ่มมีสีเขียวขุ่นๆจึงทำการเปลี่ยน น้ำในบ่อได้ น้ำที่มีจำนวนของออกซิเจนที่ละลายในน้ำต่ำกว่า 0.5 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร จะมีผลทำให้การเจริญเติบโตของลูกปลาช้าลง อ่อนแอและ ติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นผู้เลี้ยงจะต้องคอยสังเกตสีของน้ำในบ่ออยู่เสมอจนกว่าจะสิ้นสุดการอนุบาล

สำหรับการป้องกันโรคพยาธิ หลังจากปล่อยลูกปลาเสร็จให้ใช้น้ำยาฟอร์มาลีนความเข้มข้น 40 เปอร์เซ็นต์ สาดลงไปในบ่อให้ทั่วทั้งบ่อเป็นเวลา 3 วัน ติดต่อกัน อย่าสาดลงจุดใดจุดหนึ่งเพียงจุดเดียว เพราะจะทำให้บริเวณนั้นมีความเข้มข้นของยาสูงเป็นอันตรายต่อลูกปลาได้ อัตราของฟอร์มาลีนใช้ในอัตราส่วน 12.5 ลิตรต่อเนื้อที่บ่อ 1 ไร่ที่มีระดับน้ำลึกประมาณ 30 เซนติเมตร และควรใช้ฟอร์มาลีนในอัตราเท่าเดิมช้ำอีกครั้งหากพบว่ามีลูกปลาเป็นแผล หรือลอยตายในบ่อ

การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อดินขนาดใหญ่นี้มีข้อเสียคือ
ถ้าอนุบาลลูกปลาที่มีขนาด 3-5 เซนติเมตรอาจมีอัตราการตายได้ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นการคัดเลือกลูกปลาขนาดเดียวกันหรือไล่เลียกันมาเลี้ยงรวมในบ่อเดียวกันจะได้ผลดีกว่าการเลี้ยงลูกปลาคละขนาดรวมกันไป และมีข้อเสียอีกข้อหนึ่งคือ การควบคุมอัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดตายทำได้ยากกว่าการอนุบาลในบ่อซีเมนต์

No comments
Back to content