กาอนุบาลในบ่อดินขนาดเล็ก - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

กาอนุบาลในบ่อดินขนาดเล็ก

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > การอนุบาลปลาวัยอ่อน
1.1 บ่อดินขนาดเล็ก
เหมาะสำหรับผู้ที่มีความประสงค์ที่จะเลี้ยงลูกปลาไว้ระยะหนึ่งเพื่อรอการจำหน่ายหรือกรณีที่มีลูกปลาในปริมาณไม่มากมีความเหมาะสมมาก เพราะนอกจากจะเป็นบ่อพักของลูกปลาแล้ว ยังสะดวกในการดูแลรักษา ตลอดจนการคัดขนาดและการจับเพื่อจำหน่าย การขุดบ่อโดยใช้แรงงานจากคน ขุดให้สึก 1 เมตร พื้นก้นบ่อควรอัดให้แน่นและตกแต่งให้เรียบ

ส่วนด้านบนควรทำเป็นร่มเงาหรือปล่อยให้พืชน้ำเจริญอยู่ เพื่อใช้เป็นที่หลบของลูกปลาเวลาแดดร้อนจัด เมื่อสร้างบ่อเสร็จจึงทำการเตรียมบ่อ โดยการหว่านปุ๋ยคอกลงในบ่อให้ทั่วแล้วสูบน้ำเข้าบ่อให้ลึก 20-30 เซนติเมตร ปล่อยทิ้งไว้ 4 วันเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติโดยสังเกตได้จากสีของน้ำจะเป็นสีเขียว หลังจากนั้นเพิ่มน้ำในบ่อห้ได้ระดับ 60เซนติเมตร จึงทำการปล่อยลุกปลาลงอนุบาล

อัตราการปล่อยลูกปลาขนาด 0.9-1.2 เซนติเมตรลงอนุบาลในบ่อดินขนาดเล็กคือ ประมาณ 10,000-30,000 ตัว หลังจากปล่อยในวันรุ่งขึ้นจึงจะให้อาหารแก่ลูกปลาได้ ลูกปลาที่ถุงไข่แดงยุบหมดแล้วควรให้อาหารจำพวกไรแดงหรือไข่แดงต้มสุกต่อไปประมาณ 5-7 วัน โดยให้วันละ 2 ครั้งคือ ในเวลาเช้าและเย็น ต่อจากนั้นก็ให้อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ได้แก่ อาหารจำพวก แมลง เช่น ลูกน้ำ ไรแดง พวกเศษเนื้อวัว ควาย ปลา ไส้เป็ด ไส้ไก่ เลือด หรือเครื่องใน เนื้อกุ้ง หอย ปู และจำพวกเนื้อกบ เขียดและอื่นๆ อาหารจำพวกเนื้อสัตวืเหล่านี้จะต้องสับละเอียด สำหรับเนื้อปลานั้นควรใช้วิธีต้มทั้งตัวให้สุกเสียก่อนแล้วจึงให้ลูกปลากิน ระวังอย่าให้อาหารมากจนเกินไปเพราะจะทำให้ปลาตายได้เนื่องจากอาหารย่อยไม่ทัน อีกทั้งอาหารที่เหลือยังทำให้น้ำเสียได้ง่าย นอกจากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์แล้ว อาหารจำพวกพืช เช่น กากถั่ว รำต้ม กากมัน ก็นิยมให้เป็นอาหารสมทบแก่ลูกปลาดุกด้วย

การให้อาหารลูกปลาควรให้วันละประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนัก แต่ควรสังเกตดูว่าอาหารที่ให้เหลือมากน้อยเพียงใดเหลือมากควรลดปริมาณอาหารลง ในการให้อาหารแต่ละครั้งควรให้ในปริมาณที่ปลากินได้หมดในช่วงเวลาที่ไม่นานนักและให้ลูกปลาได้กินอย่างทั่วถึงกัน

ระดับน้ำในบ่อควรเพิ่มทุกๆ 5 วันต่อ 10 เซนติเมตร หลังจากอนุบาลลูกปลาดุกไปได้ประมาณ 10 วัน จะได้ลูกปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร (ปลาเซนต์) หากอนุบาลถึง  20 วัน จะได้ลูกปลาขนาด 4-5 เซนติเมตร (ปลานิ้ว) และถ้าอนุบาลต่อไปจนถึง 30 วันจะได้ลูกปลาดุกขนาด 6-7 เซนติเมตร

สำหรับการคัดขนาดลูกปลาดุกระหว่างอนุบาลนั้นมีความจำเป็นมาก เพราะปลาดุกเป็นปลาที่กินกันเอง คือ ปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าจะกินปลาที่มีขนาดเล็กกว่า ดังนั้นเพื่อป้องกันการกินกันเองของลูกปลาขณะอนุบาลจึงควร ทำการคัดขนาดลูกปลาเป็นระยะๆ ซึ่งอาจเริ่มทำการคัดขนาดเมื่อปล่อยลูกปลาลงอนุบาลได้ 15 วัน โดยใช้อวนไนล่อนตาถี่เย็บให้เป็นกระชอนที่มีนาดใหญ่พอที่จะสามารถช้อนลงในบ่อเพื่อรวบรวมลูกปลาได้ ทำการตัดขนาดลูกปลาที่โตกว่าออกไปปล่อยลงอนุบาลในบ่ออื่น ส่วนลูกปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยกันให้ทำการอนุบาลในบ่อเดิมเพื่อช่วยให้ลูกปลาที่มีขนาดเล็กสามารถกินอาหารได้มากขึ้น โดยไม่ถูกปลาตัวที่โตกว่าแย่งอาหาร ทำให้ขนาดและอัตราการเจริญเติบโตของลูกปลาสม่ำเสมอหรือใกล้เคียงกัน อีกทั้งยังสามารถลดการกินกันเองได้อีกด้วย

No comments
Back to content