วิตามิน-เกลือแร่ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

วิตามิน-เกลือแร่

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > อาหารปลาดุก
4. วิตามิน วิตามินมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของปลา มีหน้าที่ช่วยทำให้ปลาอยากกินอาหาร ช่วยให้การใช้สารอาหารชนิดอื่นในร่างกายเป็นไปอย่างปกติและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ปลาโตเร็ว มีอัตราการแลกเนื้อดี ทำให้ปลาแข็งแรงมีความต้านทานต่อโรค ช่วยในการสร้างกระดูกอ่อนและกระดูกแข็ง นอกจากนี้วิตามินยังช่วยทำให้ปลาสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีได้ดีกว่าปลาที่ไม่ได้รับวิตามิน หากปลาขาดวิตามินจะมีผลทำให้ปลาไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ประสิทธิภาพการใช้อาหารต่ำ และในบางครั้งทำให้ปลาเกิดอาการโรคขาดสารอาหารได้

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินโดยทั่วไปปลาได้รับวิตามินจากอาหารธรรมชาติเกือบครบถ้วนทุกชนิด แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีการเลี้ยงปลาดุกหนาแน่นมากขึ้น วิตามินในธรรมชาติอาจไม่เพียงพอ หรือมีการเลี้ยงในบ่อคอนกรีต ดังนั้นจึงควรเสริมวิตามินบางชนิดลงในอาหารที่ใช้เลี้ยงเพื่อให้ปลาเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว สำหรับวิตามินที่ควรผสมในอาหารปลาดุกก็คือ วิตามินผสมสำเร็จรูปหรือฟรีมิกซ์ ซึ่งปัจจุบันมีขายอยู่ตามร้านจำหน่ายอาหารสัตว์ทั่วไป แต่ก่อนชื้อฟรีมิกซ์ควรอ่านฉลากดูก่อนว่าฟรีมิกซ์นั้นมีชนิดและปริมาณของวิตามินตามที่ปลาดุกต้องการหรือไม่และหมดอายุเมื่อใด บางครั้งในฟรีมิกซ์ไม่ได้ผสมวิตามินซีลงไปด้วย เพราะวิตามินซีเมื่อถูกแสงแดด ถูกความร้อน หรือเก็บไว้นานจะเสื่อมได้ง่าย ดังนั้นก่อนผสมอาหารควรจะเติมวิตามินซีลงไปด้วยทุกครั้ง

5. แร่ธาตุ แร่ธาตุหรือเกลือแร่มีความจำเป็นสำหรับปลา แร่ธาตุเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูก เลือด กล้ามเนื้อ เป็นตัวเร่งในระบบเอนไซม์ ช่วยในการดูดซึมและเผาผลาญอาหารในร่างกาย และยังทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร์ในร่างกาย แร่ธาตุที่จำเป็นต้องใส่ลงในอาหารปลาจำแนกตามปริมาณที่ใส่ได้ 2 ประเภทคือ แร่ธาตุที่ปลาต้องการในปริมาณมากเรียกว่า แร่ธาตุหลัก เช่น โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และแร่ธาตุที่ปลาต้องการในปริมาณน้อยเรียกว่า แร่ธาตุรอง เช่น แมงกานีส โอโอดีน เหล็ก ทองแดง สังกะสี และโคบอลต์ สำหรับแหล่งของแร่ธาตุในอาหารได้แก่ ปลาป่น กระดูกป่น และเกลือแร่ผสมสำเร็จรูปที่มีขายตามร้านอาหารสัตว์ทั่วไป ส่วนปริมาณที่ให้จะต้องเหมาะสม เพราะการใช้แร่ธาตุที่ผิดส่วนนอกจากจะให้โทษกับปลาแล้วยังเปลืองเงินอีกด้วย ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น

ชนิดและปริมาณแร่ธาตุที่ควรใส่ในอาหารปลาดุก
ชนิดของแร่ธาตุ ปริมาณต่ออาหาร 1 กิโลกรัม



ชนิดของแร่ธาตุ
ปริมาณต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
แคลเซียม
5 กรัม
ฟอสฟอรัส
5 กรัม
แมกนีเซี่ยม
500 มิลลิกรัม
แมงกานิส
25 มิลลิกรัม
ไอโอดีน
5 มิลลิกรัม
ทองแดง
3 มิลลิกรัม
สังกะสี
150 มิลลิกรัม
เหล็ก
44 มิลลิกรัม
   
โคบอลต์
   
0.05  มิลลิกรัม

No comments
Back to content