ขุดบ่อตื้น - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ขุดบ่อตื้น

บทความ > การเลี้ยงปลาเบญพรรณ
โดยทั่วไปแล้วการขุดบ่อน้ำไว้ใช้หรือขุดบ่อเลี้ยงปลาของเกษตรกรมัก “ขุดบ่อตื้น” จึงทำให้กักเก็บน้ำไว้ไม่อยู่ในช่วงหน้าแล้ง บ่อไม่สามารถเก็บน้ำไว้ได้ นั้นก็คือน้ำรั่วซึมออกจากบ่อได้ทุกทิศทาง กล่าวคือ

1. จะต้องขุดบ่อให้ลึกกว่าปกติ ซึ่งส่วนใหญ่มักขุดบ่อลึก 2-3 เมตร แต่ตอนนี้จะต้องขุดบ่อให้ลึกลงไปประมาณ 5 เมตร ในพื้นที่ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไปขุดบ่อ ลึก 5 เมตร ทำคันบ่อกว้าง 2-3 เมตร ขอบบ่อให้เป็นแนวลาดเท หรือสโลปลง ไปถึงก้นบ่อทำมุม 45 องศากับพื้นก้นบ่อ
2. ขณะขุดทำบ่อจะต้องบดอัดแนวขอบบ่อ ก้นบ่อ และคันบ่อให้แน่น ให้ใช้รถไถเป็นตัวบดอัดดิน การขุดบ่ออย่าใช้รถตักขุดดิน ควรใช้รถไถทำงานเพื่อให้ดินบริเวณบ่ออัดแน่น วิธีนี้จะป้องกันน้ำรั่วซึมจากบ่อได้ในระยะเวลาหนึ่ง

3. เกษตรกรจะต้องใจเย็นๆ กับการกักเก็บน้ำของบ่อที่ขุดใหม่พอสมควร หลังจากที่ขุดบ่อเสร็จแล้ว หากจะยังไม่สามารถนำน้ำเข้าบ่อได้เพราะพื้นที่อยู่ห่างจาก “แหล่งน้ำถาวร” และ “แหล่งน้ำชั่วคราว” ท่านก็ต้องรอน้ำจากฟ้าประทานลงมาในบ่อ นั้นคือรดน้ำฝนจากธรรมชาตินั่นเอง
4.พื้นบ่อควรลาดเทจากหัวบ่อมาท้ายบ่อ หรือจากตะวันออกมาตะวันตก ตรงด้านไหนก็ได้ ที่เราจะใช้ขึ้นปลา เพื่อให้ปลามารวมอยู่ตรงด้านที่ต่ำมากที่สุด ในขณะที่เราสูบน้ำออกจากบ่อ ระดับน้ำจะลดลงจนเหลือน้อยที่สุด พื้นบ่อที่ลาดเอียงบริเวณต่ำกว่ากว่าหัวบ่อหรืท้ายบ่อ ปลาจะไหลมารวมกันตรงนั้น ทำให้เราขึ้นปลาหรือจับปลาได้สะดวกขึ้น
แต่หากพื้นที่อยู่ใกล้ “แหล่งน้ำชั่วคราว” ก่อนสูบน้ำเข้าบ่อ ท่านต้องทำแหล่งอาหารปลาก่อน ใช้วิธีหว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยขี้ไก่ให้ทั่วพื้นบ่อ ในอัตราส่วนพอเหมาะไม่ให้น้อยหรือมากเกินไป จากนั้นให้หว่านปุ๋ยยูเรียหรือปุ๋ยฟอสเฟสบางๆ การหว่านปุ๋ยนั้นควรหว่านแนวขอบบ่อทั้ง 4 ด้านด้วย แล้วจึงสูบน้ำจาก “แหล่งน้ำชั่วคราว” เข้าบ่อ ทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วันจะเกิดแพลงก์ตอน ไรน้ำ พืชสาหร่าย และตะไคร่น้ำที่พื้นผิวก้นบ่อและขอบบ่อ

ตัวตะไคร่น้ำ พืชสาหร่ายจะเป็นตัวประสานรอยแตกของดินในบ่อ ในระยะแรก ๆ อาจจะกักเก็บน้ำไว้ได้ไม่ตลอดปี แต่นานวันเข้าตะกอน ตะไคร่น้ำ พืช สาหร่ายต่างๆ จะเป็นตัวอุดรอยรั่วของบ่อทำให้กักเก็บน้ำไว้ได้ตลอดไป

หลักการนี้ให้พิจารณาจากการคั้นมะพร้าวในกระชอน ในระยะแรกน้ำมะพร้าวที่ถูกคั้นจะไหลลงกระชอนได้สะดวก แต่ถ้าเราไม่เอาเศษมะพร้าวที่ตัวเศษมะพร้าวจะไปอุดรูกระชอน ทำให้นำกะทิที่คั้นไม่สามารถไหลออกจากกระชอนได้
การทำบ่อให้กักเก็บน้ำก็ใช้วิธีนี้ คือให้ตะไคร่น้ำ พืชสาหร่าย วัชพืช แพลงก์ตอน พืชไปอุดรอยรั่วซึมของบ่อ

หรือหากเกษตรกรจะสามารถหาดินเหนียวมาฉาบโปะผืนผิวบ่อหลังจากขุดบ่อแล้วก็จะยิ่งดีใหญ่ แต่ก็คงเป็นไปไม่ได้เพราะพื้นที่ห่างไกลแหล่งน้ำมักจะเป็นพื้นที่ดินร่วนปนทรายเสียมากกว่า


No comments
Back to content