ปลายี่สก - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ปลายี่สก

บทความ > การเลี้ยงปลาเบญพรรณ > ปลายี่สก
ปลายี่สก เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีเชื้อสายเดียวกันกับปลาตะเพียน เช่นเดียวกับปลาตะโกก ปลากระโห้  ปลานวลจันทร์น้ำจืด และปลาสร้อย ในภาคกลางพบปลายี่สกอาศัยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำราชบุรี แม่น้ำ
ป่าสัก แควน้อย และแควใหญ่ แถวจังหวัดกาญจนบุรี

ในภาคเหนือพบมากที่แม่น้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์  อีสานพบในแม่น้ำโขง ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย หนองคาย นครพนม และ อุบลราชธานี ในอดีตที่ผ่านมามีอยู่ยุคสมัยหนึ่ง ปลายี่สกได้รับความนิยมจากชาวจังหวัดราชบุรี และกาญจนบุรี มาก

โดยเฉพาะจังหวัดกาญจนบุรีถึงกับเอาปลายี่สกเป็นสัญลักษณ์ ทำเป็นรูปปลายี่สกบนหัวเสาไฟฟ้าในเขตตัวเมือง จึงถือว่าปลายี่สกมีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง
ในต่างประเทศก็พบที่ประเทศมาเลซีย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
ปลายี่สกมีชื่อรียกขานหลากหลายชื่อมาก เรียกตามภาษาถิ่นที่อยู่อาศัย เช่น ปลายี่สกอาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงแถบจังหวัดหนองคายก็เรียก “ปลาเอิน” หรือ “ปลาเอินคางหมู” ในท้องถิ่นบางแห่งเรียกปลาชนิดนี้ว่า “ปลายี่สกทอง” หรือ  
“ปลากระสก” หรือ “ปลาอิสก” ชาวบ้านแถบบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านเรียก “ปลาชะเอิน”

ปลายี่สกเป็นปลาเนื้อมีรสดีอร่อย เนื้อเหลืองละเอียดอ่อน นิ่ม รสหวาน นำมาทำเป็นปลาต้มย่า ต้มเค็ม แกงส้ม แกงเหลือง นำมานึ่งมะนาว หรือขูดเอาเนื้อชุบแป้งทอด ปลาทั้งตัวจะรมควันเก็บเอาไว้นานๆ
ด้วยความที่ปลายี่สกมีผู้นิยมรับประทานมาก แต่ไม่ค่อยมีคนเลี้ยงกันจำนวนประชากรปลายี่สกในแหล่งน้ำธรรมชาติจึง ลดลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งแหล่งน้ำอันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ เริ่มเสื่อมโทรมไปตามธรรมชาติ มีการสร้างเขื่อน ทำฝายกันน้ำ สร้างถนน สร้างโรงงานอุตสาหกรรม และมีการปล่อยสิ่งโสโครกลงแม่น้ำเกิดน้ำเสียเป็นบริเวณกว้าง เหล่านี้มีผลกระทบต่อพันธุ์สัตว์น้ำ รวมถึงปลายี่สก

เมื่อปลายี่สกตามธรรมชาติลดลง จึงมีการส่งเสริมให้เลี้ยงปลายี่สกกัน เพื่อทดแทนการจับจากธรรมชาติ ทางสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดหนองคายประสบผลสำเร็จในการผสมเทียมปลายี่สกไทย เมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ที่รวบรวมจากแม่น้ำโขงมาเพาะขยายพันธุ์ ถึงเดือนมกราคม 2533 สถานีประมงน้ำจืดหนองคาย สามารถใช้พันธุ์พ่อแม่ปลายี่สกที่เลี้ยงไว้ในบ่อดินนำมาเพาะ พันธุ์ประสบผลสำเร็จเป็นครั้งแรก ด้วยการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ (Suprefact) ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ (Motilium) ทางช่องท้องชองแม่ปลา

อาหารปลายี่สก ถ้าเป็นปลาเล็กให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปไปก่อน จนกว่าจะโตราว 2 เดือนจึงเปลี่ยนมาให้ผักบุ้งรำ สาหร่าย ปลายข้าวต้มบดผสมกัน คลุกกับข้าวสุก หรืองาตัวอย่างละเอียดให้วันละ 1 มืออย่างพอเพียง สลับกับปุ๋ยขี้ไก่เศษ ผัก กากถั่วเหลืองเป็นอาหารเสริม

อายุการเลี้ยงปลายี่สก 6-8 เดือนสามารถจับเป็นปลาเล็กขายได้แล้ว แต่ถ้าจะปล่อยไว้ในบ่อเลี้ยงไปจนอายุ 1 ปีขึ้น ปลาจะตัวใหญ่มากมีขนาดน้ำหนักตัว 1-2 กิโลกรัมขึ้นทุกตัว ชาวจังหวัดกาญจนบุรีนิยมเลี้ยงปลายี่สกในกระชังเหนือเขื่อน เลี้ยง 1 ปีขึ้นจับได้ตัวละ 2-4 กิโลกรัม

ปลายี่สกเป็นปลาค่อนข้างหายากในแหล่งน้ำธรรมชาติ หากเกษตรกรนำมาเพาะเลี้ยงในบ่อของตนเองหรือเลี้ยงรวมกับปลาเบญจพรรณชนิดอื่นๆ จะได้มูลค่าจากปลาที่เลี้ยงทั้งหมดในบ่อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปลายี่สกจะมีราคาสูงกว่า ปลาชนิดอื่นๆ ที่เลี้ยงรวมกันในบ่อปลาเบญจพรรณ



No comments
Back to content