สถานที่เลี้ยงปลาแหล่งน้ำธรรมชาติ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

สถานที่เลี้ยงปลาแหล่งน้ำธรรมชาติ

บทความ > การเลี้ยงปลาเบญพรรณ > ปลานิล
สถานที่เลี้ยงปลาแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญ บริเวณต้นน้ำแม่กลองที่เลี้ยงปลาอยู่นี้ บรรยากาศต่างๆ เอื้อต่อการเลี้ยงปลามาก แหล่งน้ำในแม่น้ำที่เมืองกาญจน์ค่อนข้างสะอาด มีน้ำไหลตลอด เมื่อก่อนเลี้ยงปลามีกำไรตีมาก แต่มาระยะหลังมีการเลี้ยงกันมากขึ้น บริษัทก็เข้ามาส่งเสริมการเลี้ยงมากขึ้น ทำให้โรคปลามีมากตามมา การเลี้ยงก็ยากขึ้น ต้องอาศัยประสบการณ์และความชํานาญในการเลี้ยงจึงจะพอช่วยพยุงให้อยู่ได้ “กำนันเทียมศักดิ์” บอกว่า

“ผมเริ่มต้นเลี้ยงปลา 40 กระชัง พอมีกำไรที่เพิ่มกระชังเลี้ยง เพิ่มแรงงานคนเลี้ยงมากขึ้น ขยายกระชังเลี้ยงจนขณะนี้มีกระชังปลาถึง 500 กระชัง วันหนึ่งๆจับปลาขายประมาณ 3 ตันส่งขายไปทั่ว เช่นที่ตลาดไท ที่เมืองกาญจน์ และก็ยังมีรถห้องเย็น เข้ามารับซื้อปลานำไปส่งออกต่างประเทศเข้ามารับซื้ออีก”

กำนันเทียมศักดิ์ กล่าวและว่า ปลาที่ส่งออกเขาจะซื้อปลานิลแล่เนื้อ ส่งออกอเมริกาตรง นี่ถือเป็นตลาดสำคัญเลยทีเดียว

ปลานิลที่เลี้ยงส่วนใหญ่จะส่งห้องเย็นเพื่อการส่งออกมากว่า ส่วนปลาทับทิมเลี้ยงส่งขายในประเทศ เพราะต่างประเทศยังไม่ยอมรับปลาสีแดง ปลานิลนั้นมีชื่อเสียงมานานแล้ว เมื่อก่อนคนมักจะบอกว่าปลานิลกินอาหารไม่สะอาด ซึ่งจริงๆแล้วปัจจุบันการเลี้ยงปลานิลต้องเลี้ยงด้วยอาหารปลา มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลให้หัวเล็กตัวอ้วนหนาใหญ่ เนื้อเยอะ มีการบรีดส์สายพันธุ์ปลานิลให้ตัวใหญ่เลี้ยงโตเร็ว
การเลี้ยงปลานิลเริ่มจากการซื้อลูกปลาควรซื้อปลาที่เรียกว่า “ใบมะขาม” ขนาดตัวจิ๋ว ราคาตัวละประมาณ 40 สตางค์ ลูกปลาขนาดใบมะขามนี้อัตราการรอดตาย 50:50 หรือบางครั้ง 100 ตัว รอดตาย 40 ตัวที่เป็นได้ แต่ถ้าจะให้ปริมาณลูกปลารอดตายมากกว่านี้ ก็ต้องซื้อไซส์ใหญ่ขึ้นไปอีก นั้นก็หมายถึงราคาลูกปลาสูงขึ้น อยู่ที่ว่าผู้เลี้ยงมีทุนมากน้อยแค่ไหนและจะเลือกตัดสินใจอย่างไร?

ในเรื่องของกระชังเลี้ยง “กำนันเทียมศักดิ์” บอกว่า กระชังเลี้ยงของตนเป็นกระชังใหญ่เพราะว่าเลี้ยงจับส่งออกเวลาจับแต่ละที่จะต้องได้ปริมาณปลามากๆ กระชังที่เลี้ยงจึงมีขนาด 3 x 6 x 3 เมตร แต่ถ้าเลี้ยงปลาส่งตลาดภายในประเทศ  กระชังประมาณ 3 x 3 x 3 ก็พอ ขนาดนี้กำลังดี ครั้งหนึ่งจะจับปลาได้ประมาณ 200-300 กิโลกรัม หรือ 500 กิโลก็ได้อยู่ที่ความสมบูรณ์ของปลาในแต่ละรุ่น ตัวกระชังใช้อวน ตาขนาด 3-4 ซม. หรือ 5 ซม. แล้วแต่พื้นที่และกระแสน้ำว่าไหล แรงมากน้อยแค่ไหน ถ้ากระแสน้ำไหลแรงก็เลือกเอาอวนตาเล็ก น้ำไหลไม่แรงก็ เอาอวนตาใหญ่ใช้ถังน้ำมันเป็นทุ่นถังพลาสติกก็ใช้ได้ต่อกันเป็นแพลอยอยู่ในแม่น้ำ ต้องดูให้น้ำไหลผ่านครบทุกระชัง จัดจุดวางกระชังให้ดี ไม่ควรให้เป็นจุดอับที่น้ำถ่ายเทไม่สะดวก จะทำปลามีปัญหาได้

สำหรับเครื่องตีน้ำต้องใช้แต่ไม่ใช่ใช้เพื่อเพื่อออกซิเจน เป็นการใช้เพื่อตีน้ำให้เคลื่อนที่ตลอดเวลาไม่ไห้น้ำนิ่ง พอน้ำเคลื่อนไหวตลอดเวลาปลาที่เลี้ยงจะโตไว เพราะปลานิลชอบน้ำไหวมากเป็นเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ที่ควรรู้ไว้

เมื่อทำกระชังเรียบร้อยแล้ว ก็ไปซื้อลูกปลาขนาดใบมะขามมาอนุบาลในกระชัง ให้ลูกปลาโตประมาณครึ่งขีด จึงนำลงปล่อยเลี้ยงในกระชังใหญ่ ใช้อาหารลูกปลาเม็ดหว่านให้กิน การอนุบาลลูกปลาใช้เวลาประมาณ 60-75 วัน ลูกปลาก็โตพอที่จะนำลงกระชังใหญ่ในแม่น้ำได้แล้ว


No comments
Back to content