ปลาสัตว์น้ำจืด - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ปลาสัตว์น้ำจืด

บทความ > การเลี้ยงปลาเบญพรรณ > โรคปลาที่ควรรู้
สัตว์โลกทุกชนิดล้วนแต่มีศัตรูโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนทั้งสิ้น เมื่อเป็นโรคก็ต้องหาทางรักษา "มนุษย์” ประเสริฐหน่อยคือ สามารถรักษาโรคภัยที่มาเบียดเบียนให้กับตนเองและหมู่มวลมนุษย์ด้วยกันเองได้ จะต่างกับสัตว์ที่ยังไม่สามารถเปิดโรงพยาบาลรักษา แต่ละตัวต้องพึ่งพาตนกันเองได้ทั้งสิ้น

ปลาสัตว์น้ำจืดชนิดหนึ่งก็เช่นเดียวกันกับสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่มีโรคภัยเข้ามาเบียดเบียน “โรค”ของปลาที่น่าสนใจที่เกษตรกรนักเลี้ยงปลาสมควรจะศึกษาเรียนรู้เอาไว้
โรคแผลตามลำตัว
ลักษณะอาการ ระยะเริ่มแรกเกล็ดตามลำตัวจะหลุดออก ผิวหนังรอบๆเกล็ดที่หลุดจะตั้งขึ้น หากเกิดกับปลาที่ไม่มีเกล็ดบริเวณผิวหนังจะบวม มีสีแดง ต่อมาผิวหนังจะเริ่มเปื่อยเป็นแผลพุพองลึกเข้าไปในเนื้อ แผลจะเกิดกระจายตามลำตัว โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และจะเป็นสาเหตุให้ปลาติดโรคเชื้อราต่อ ปลาที่พบได้แก่ ปลาดุก ปลาช่อน ปลาบู่

การป้องกันรักษา
1. ใช้ยาปฏิชีวนะจำพวกไนโตรฟูราโซนในอัตราส่วน 1-2 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ประมาณ 2-3 วัน
2. แช่ปลาที่เป็นโรคในสารละลายออกซีเตตราซัยคลีน หรือเตตราซัยคลีน ในอัตราส่วน 10-20 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร นาน 1-2 วัน ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง
3. การฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยง ใช้ปูนขาวในอัตรา 50-60 กิโลกรัมต่อไร่
โรคตัวด่าง
เนื่องด้วยปลาเป็นสัตว์น้ำ มีน้ำเสมือนบ้านอยู่อาศัย ปลาจะขาดน้ำเป็นเวลานานไม่ได้ เพราะสภาพความเป็นอยู่ของปลาต้องอยู่ในน้ำเท่านั้น ดังนั้นโรคภัยไข้เจ็บของปลาจึงต้องเกิดจากน้ำและสิ่งแอบแฝงมากับน้ำเข้าสู่ตัวปลา

โรคตัวต่างก็เกิดมาจากน้ำเน่าเสีย ทำให้ลำตัวปลามีแผลต่างขาว ถ้าปลาเป็นโรคนี้นานๆ แผลที่เห็นต่างๆ จะกินลึกเข้าไปในเนื้อปลา สังเกตเห็นได้ชัดว่า ปลามีแผลตามตัว ปลาที่พบว่าเป็นโรคนี้ได้แก่ ปลาดุก ปลาช่อน ปลาบู่ และปลาสวยงาม

สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำเป็นจำนวนมาก

การป้องกันรักษา
1. ให้แช่ปลาในยาเหลือง อัตราส่วน 2 มิลลิกรัมต่อน้ำ 5 ลิตรนานประมาณ 30 นาที
2. ในขณะขนส่งปลาควรใส่เกลือเม็ดลงในน้ำที่ใช้สำหรับการขนปลาใน ปริมาณเกลือ 1 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ลิตร
3. ควรปรับอุณหภูมิของน้ำในถุง ให้เท่ากับน้ำในบ่อก่อนปล่อยปลาลงไป โดยใช้วิธีนำถุงใส่ปลาที่อัดลมพองไปแช่ในบ่อใหญ่ที่จะปล่อยลงลงไป ให้อุณหภูมิในถุงนอกถุงปรับเสมอกันก่อน
4. ใช้ต่างทับทิม 1-3 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ปลานาน 24 ชั่วโมง กรณีที่พบว่าตัวปลาเป็นแผลต่าง
5. หรือใช้ฟอร์มาลีน 40-50 ซีซี.ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ปลานาน 24 ชั่วโมง ถ้าพบว่าปลาเป็นแผลต่างตามลำตัว


No comments
Back to content