โรคจุดขาว - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

โรคจุดขาว

บทความ > การเลี้ยงปลาเบญพรรณ > โรคปลาที่ควรรู้
โรคจุดขาว
ลักษณะอาการจะเกิดจุดกลมขาวเล็กๆตามลำตัวปลาสังเกตได้ที่ครีบปลา  จะมีอาการหมุนควงสว่านเป็นครั้งคราว บางครั้งจะเอาตัวถูกับกระชังหรือตู้ปลา แล้วพลิกตัวไปมามักเกิดกับปลาขนาดเล็ก หากทิ้งไว้อาการจะเปลี่ยนโดยลำตัวจะคว่ำลง เริ่มมีอุจจาระยาวติดรูทวารหนัก ไม่กินอาหาร ชอบมารวมกลุ่มที่ผิวน้ำหายใจหอบและตายในที่สุด พบได้ทั้งในปลากะพงขาว ปลากระรัง และปลาเงินปลาทองในตู้เลี้ยง

สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อซิลิเอตโปรโตซัว (Cillite protozoa) ในสกุลคริบโตแครีออน (Cryptocaryon sp.) เข้ามาเกาะตามภาชนะที่ใช้อนุบาล หรือเลี้ยง หรือตามวัตถุในแหล่งน้ำ พอสภาพอากาศเหมาะสม เช่นอากาศเย็นเชื้อก็จะฟักตัวแล้วเข้ามาเกาะบริเวณผิวลำตัวและเหงือกปลา ทำให้เซลล์บุผิวของผิวตัวและเหงือกเพิ่มจำนวนหนามากขึ้น เกิดความผิดปกติจนเหงือกฟอกออกซิเจนได้น้อยลง ทำให้ปลาตาย

การป้องกันรักษา
ให้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อกระชังปลา สวิงและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้กับบ่อและปลาอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงอากาศเย็น แม้ปลาไม่เป็นโรคก็ควรแช่ยาสัปดาห์ละครั้ง แล้วเลี้ยงปลาด้วยอาหารที่มีคุณภาพ คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน จะช่วยให้ปลาแข็งแรงต้านทานโรคได้ดี

ให้ทำลายตัวอ่อนปรสิตในน้ำหรือตัวแก่ในปลาขนาดใหญ่ใช้น้ำยาฟอร์มาลีน 150-200 ซีซีต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ปลาขนาดเล็กใช้อัตราส่วน 25-50 ซีซี. ต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร
โรคปลิงใส
ลักษณะอาการ สีลำตัวปลาจะคล้ำลง เปิดดูเหงือกจะเห็นชัดขาวเล็กๆ และหากมีปรสิตเกาะอยู่มากจะมองเห็นเหงือกแดงช้ำเป็นช่วงๆ อาหารน้อยลงและมีอัตราการรอดตายสูงถึง 40% ปลาจะว่ายน้ำทุรนทุราย ลอยตามผิวน้ำ ผอมมีเมือกมากกว่าปกติ

สาเหตุของโรค เกิดจากปริสิตพวกตัวแบนหรือที่เรียกว่าปลิงใส จัดอยู่ในกลุ่มโมโนจีเนติด ทรีมาโตด (Monogenetic Trematode) เข้าไปเกาะตามตัวและเหงือก

การป้องกันรักษา
1. แช่ปลาในน้ำยาดิพเทอร์เร็กซ์ เข้มข้น 0.25-0.5 ส่วนในล้านส่วน นาน 2-3 วัน และต้องเปลี่ยนน้ำยาและน้ำทุกวัน
2. แช่ในฟอร์มาลีนเข้มข้น 250 ส่วนในล้านส่วน นาน 30 นาที วันละครั้ง ติดต่อกัน 3 วันหรือจนกระทั่งหาย

เมื่อปลาเริ่มมีอาการต้องรีบรักษา หากทิ้งไว้นาน เมื่อปรสิตขยายพันธุ์ จะมีผลทำให้อัตราการตายสูง แม้ปลาจะโตขนาด 12 นิ้วก็สามารถตายได้

การป้องกันเมื่อนำปลาใหม่จากที่อื่นมาเลี้ยง ควรสุ่มปลาตรวจก่อนลงเลี้ยง  หากพบปลิงใสเพียงเล็กน้อย ควรทำจัดด้วยน้ำยาฟอร์มาลีน เข้มข้น 250 ส่วน ในล้านส่วน นาน 30 นาที หรือใช้ฟอร์มาลีน 25-40 ซีซี.ต่อน้ำ 1,000 ลิตร หรือ  ใช้ดิพเทอร์เร็กซ์ 0.25-0.5 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ปลานาน 24 ชั่วโมง ก่อนปล่อยลงเลี้ยงรวมกับปลาอื่น


โรคเห็บปลา
ลักษณะอาการ ระยะแรกจะพบว่าปลามักพลิกตัวไปมาถูลำตัวกับข้างบ่อมากขึ้น และจะมองเห็นปลาตัวใสๆ เกาะตามลำตัว หากปล่อยทิ้งไว้ ครีบปลาจะช้ำ บางครั้งเกิดการตกเลือดที่เกล็ด ซอกเกล็ด และปลามักตายในเวลาต่อมา

สาเหตุของโรค เกิดจากปรสิตในสกุล Caligus sp. ไปเกาะที่ใต้เกล็ด แล้วดูดเลือดปลา ทำให้เกิดแผลขึ้น

การป้องกันรักษา
ควรสุ่มปลามาตรวจ หากพบว่ามีปรสิตหรือเห็บแม้เพียงเล็กน้อย ก็ต้องทำจัดให้หมดก่อนปล่อยปลาลงบ่อ พยายามดูแลปลาให้แข็งแรงจะได้มีภูมิต้านทาน ไม่ติดเชื้อได้ง่าย แช่ปลาในสารละลายดิพเทอร์เร็กซ์ 0.5-0.75 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง



No comments
Back to content