โรคเห็บระฆัง - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

โรคเห็บระฆัง

บทความ > การเลี้ยงปลาเบญพรรณ > โรคปลาที่ควรรู้
โรคเห็บระฆัง
ลักษณะอาการ ลำตัวปลาจะสีคล้ำ ครีบหาวหรือครีบหลังจะขาดลุ่ย เหงือกจะซีดและช้ำ ปลาจะเกิดระคายเคืองตามผิว ลำตัว และเหงือก มักพบในลูกปลา หากพบว่าปลาป่วยเป็นจำนวนมากจะทำให้ปลาตายทั้งบ่อได้ ดังนั้นจึงควรรีบรักษา  ตั้งแต่ปลาเริ่มเป็นโรคจะได้ผลดีกว่า

สาเหตุการเกิดโรค เกิดจากโปรโตซัวตริโชตินา (Trichodina sp.) หรือ ที่เรียกทั่วไปว่า “เห็บระฆัง” โปรโตซัวชนิดนี้สามารถเพิ่มจำนวนได้ดีในแหล่งน้ำที่ถ่ายเทไม่ดี หรือแหล่งน้ำที่สกปรก หรือจากการให้อาหารปลามากเกินไป อาหารที่เหลือจะเป็นของเสียตกตะกอนสะสมอยู่ก้นบ่อ เป็นที่อยู่อาศัยของปรสิต พอสภาพแวดล้อมไม่ดีจะทำให้ปลาอ่อนแอ ปรสิตจะเข้าเกาะตัวปลาทันที
หนอนสมอ
หนอนสมอ สามารถเกาะบนลำตัวปลาได้ทุกชนิด จะเข้าทำลายปลาโดยฝังส่วนหัวเข้าไปใต้ผิวหนังเพื่อดูดกินเลือดและของเหลวในเนื้อเยื่อจากปลา บริเวณรอบๆจุดที่มีหนอนสมอเกาะจะมีอาการตกเลือด เป็นรอยช้ำ เกล็ดหลุด และเกิด บาดแผลเป็นสาเหตุให้เชื้อราแบคทีเรียและเชื้อราเข้าทำลาย ปลาจะมีอาการว่ายน้ำเชื่องช้าเข้าอยู่ตามผิวน้ำ เอาข้างตัวถูกับข้างบ่อหรือข้างตู้ปลา

การป้องกันรักษา
ให้แช่ปลาในสารละลายดิพเทอร์เร็กซ์ อัตราส่วน 0.5 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง แล้วเปลี่ยนน้ำ เว้นระยะไป 5-7 วัน ทำการแช่น้ำยาซ้ำทำอีก 2-3 ครั้ง หนอนสมอจะหมดไป

โรคเกล็ดพอง
เกิดจากเชื้อราต่อเนื่องจากปรสิตภายนอกและติดเชื้อแบคทีเรีย ลักษณะอาการปลาจะมีเกล็ดพอง และมีตกเลือดบริเวณผิวหนัง ปลาเป็นแผลและมีปุยสี ขาวปนเทาคล้ายสำลีปกคลุม

การป้องกันรักษา
ใช้เกลือเม็ดอัตรา 200-300 กิโลกรัมหว่านในพื้นที่บ่อ 1 ไร่ ระดับน้ำ 1 เมตร ร่วมกับปูนขาว 60-100 กิโลกรัมต่อไร่ ละลายน้ำสาดทั้งบ่อ
โรคหูดปลา
ลักษณะอาการจะมีตุ่มเล็กๆ ใสคล้ายเม็ดสาคูจับกันเป็นก้อนอยู่ตามครีบตัว ครีบหาง

สาเหตุเกิดจากไวรัสจำพวกลิ่มโฟซิสติส (Lymphoeystis) เข้าไปทำให้เซลล์ผิวหนังขยายตัวผิดปกติ

การป้องกันรักษา
การรักษาไม่ต้องใช้ยา เพียงแต่อย่าไปรบกวนให้ปลาซ้ำ อาการของโรคจะหายไปเองภายใน 2-3 เดือน การป้องกันอย่านำปลาเป็นโรคมาเลี้ยงรวมกับปลาดีในบ่อ และต้องดูแลให้ปลามีสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ โดยการให้อาหารดี เปลี่ยนถ่ายน้ำให้สะอาด
การรักษาเมื่อเกิดโรคแล้วต้องรักษาด้วยการแช่ปลาในฟอร์มาลีน 250 ส่วน ในล้านส่วนนาน 30 นาที

การป้องกัน
ให้หมั่นทำความสะอาดบ่อหรือกระชังปลา โดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ฆ่าเชื้อโรคที่กระชังด้วยคลอรีนเข้มข้น 30 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 2 คืน แล้วปล่อยถ่ายน้ำออก


โรคท้องบวม
สามารถเกิดกับปลาได้ทุกขนาด โดยส่วนท้องของปลาจะบวมออกมาเห็นได้ชัดเจน ปลาจะเคลื่อนไหวช้าลงแล้วก็ตาย การรักษาให้ใช้ออกซิเตตราไซคลีน 300-500 กรัมผสมอาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินติดต่อกัน 5-7 วัน

โรคพยาธิ
โรคพยาธิที่เกิดกับปลา ได้แก่ พยาธิภายนอก เช่น หนอนสมอ, เออกาซิลัส, โกลซิเดีย, มาร์โคไดนา, อีฟิสไทลัส, ซิโลโตเนลลา, แคตไทโรจัยลิส เป็นต้นสามารถกำจัดได้โดยใช้ฟอร์มาลีน 20-50 กรัม แช่ปลาวันละ 2 ครั้ง ติดต่อ กัน 2-3 วัน
พยาธิภายใน เช่น พยาธิตัวกลม, พยาธิหัวหนาม ทำให้ปลาไม่เกินอาหาร ผอม กำจัดโดยใช้ยาถ่ายพยาธิ เช่น ดีเวอร์มิน ผสมในอาหาร 0.1-0.2% ของน้ำหนักอาหารให้ปลากิน 3 วันติดต่อกัน

เชื้อรา
เชื้อราที่มักเกิดกับปลาได้แก่แซปโปรเลคเนีย เชื้อนี้จะขึ้นที่ผิวหนังของลำตัวและจะฝังลึกเข้าไปในเนื้อเยื่อทำให้เกล็ดหลุด เกิดบาดแผล ปลาจะอ่อนแอ ให้ใช้ มาลาไคท์กรีน 1-5 ส่วนต่อน้ำล้านส่วน แช่นาน 1 ชั่วโมง ทำ 3 ครั้งติดต่อกัน



No comments
Back to content