แหล่งน้ำถาวร - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

แหล่งน้ำถาวร

บทความ > การเลี้ยงปลาเบญพรรณ
เหล่านี้เป็นการแนะนำนอกทฤษฎี สำหรับพื้นที่ที่ห่างไกลจาก “แหล่งน้ำถาวร” แต่พอจะมี “แหล่งน้ำชั่วคราว” มาช่วยได้บ้าง
ส่วนปลาที่จะเลี้ยงในบ่อนั้น ควรเป็น “ปลาเบญจพรรณ” จะเหมาะที่สุด และเมื่อได้เลี้ยงปลาสมดั่งเจตนารมณ์แล้ว ก็อย่าละเลยการเลี้ยงปลาแบบประณีตด้วย คือต้องให้อาหารปลา ต้องดูแลเรื่องความสะอาด อย่าให้อาหารปลามากจนเกินไปจะทำให้นาในบ่อเสียได้ และถ้าน้ำในบ่อเสียล่ะก็เป็นอันจบเห่ กว่าจะแก้ไขถ่ายเทน้ำเสียออกได้ก็ใช้เวลาเป็นปีหรืออาจจะหลายๆ ปี เพราะว่าบ่อของท่านห่างไกล “แหล่งน้ำถาวร” ที่จะมาช่วยเปลี่ยน

การเลี้ยงปลาในบ่อลึกๆ จะช่วยให้ปลาเกิดโรคน้อย การปล่อยปลาลงเลี้ยงจะต้องไม่ปล่อยมากจนเกินไป เพราะน้ำที่เลี้ยงปลามรขีดจำกัด
สำหรับการจับปลาขายนั้นควรจับช่วงหน้าแล้งก่อนหน้าฝนจะมาเยือน โดยการลดระดับน้ำในบ่อลงแล้วจับปลา เมื่อจับปลาหมดบ่อก็ตากบ่อทิ้งไว้ รอจนกว่าฤดูฝนใหม่จะมาเยือน จะได้น้ำจากฟ้ามาเติมบ่อเพื่อเลี้ยงปลาในรอบต่อไป

การเลี้ยงปลาเพื่อความพอเพียง สามารถให้ความสุขกับเกษตรกรได้ในระดับหนึ่ง สุขที่มีรายได้จากการเลี้ยงปลาเข้ามาเติมในกระเป๋า สุขที่มีน้ำไว้ใช้ในการทำเกษตรรอบๆ พื้นที่บ่อ ตามวิถีชีวิตในชนบท
เมื่อการขุดบ่อเลี้ยงปลาผิดไปจากกฎเกณฑ์ที่ทางวิชาการกำหนดไว้คือ กฎเกณฑ์กำหนดให้พื้นที่บ่อจะกว้างเท่าไรก็ตาม ขนาดความลึกของบ่อควรอยู่ที่ 1-2 เมตร หรือ 3-4 เมตรเท่านั้น ไม่ควรลึกไปกว่านี้ ทฤษฎีนี้สามารถใช้ได้กับพื้นที่เลี้ยงปลาที่ใกล้ “แหล่งน้ำถาวร” สามารถถ่ายเทระบายน้ำเข้าออกจากบ่อได้ เป็นการแนะนำเกษตรกรในพื้นที่ราบลุ่มทั่วไป ซึ่งก็ใช้ได้ผลดี

แต่กับเกษตรกรในพื้นที่ไกลจาก “แหล่งน้ำถาวร” แต่ไม่ไกลจาก “แหล่งน้ำชั่วคราว” ทฤษฏีบ่อแคบและตื้นคงไมได้ผล เพราะเมื่อหมดหน้าน้ำระดับน้ำในบ่อจะแห้งลง หลายๆ พื้นที่น้ำแห้งบ่อ 3-4 เดือน จึงจะมีน้ำจากน้ำฝนในรอบปีต่อไปมาเติมเต็ม ในบ่ออีก นี่คือสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ ภาคอีสาน หรือแม้แต่ภาคกลางที่ห่างจาก “แหล่งน้ำถาวร” ก็เช่นเดียวกัน
ดังนั้นจึงแนะนำให้เกษตรกรขุดบ่อกว้างและลึกมากในระดับ 5 เมตร เพื่อให้มีน้ำไว้ใช้เลี้ยงปลาและทำการเกษตรตลอดทั้งปี

เมื่อหลักการของบ่อเปลี่ยน อัตราการปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อก็ต้องเปลี่ยนให้ยึดหลักเพิ่มปริมาณปลาเป็น 2 เท่าจากบ่อมาตรฐาน เช่น บ่อมาตรฐาน 1 ไร่ ระดับความลึกของบ่อที่ 2-3 เมตร อัตราการปล่อยลูกปลาเบญจพรรณ 4 ชนิดๆ ละ 5,000 ตัว ปล่อยปลานิลมากกว่า 5,000 ตัว เท่ากับปล่อยปลานิลในบ่อ 10,000 ตัว ปลาอื่นๆ อีก 3 ชนิด ๆ ละ 5,000 ตัว รวมจำนวนปลา 1 ไร่ ระดับน้ำลึก 2-3 เมตร เลี้ยงปลาเบญจพรรณ 25,000 ตัว เป็นต้น


No comments
Back to content