ต้นทุนการเลี้ยง - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ต้นทุนการเลี้ยง

บทความ > การเลี้ยงปลาเบญพรรณ
จากการวิจัยและคำนวณต้นทุนการเลี้ยงปลาเบญจพรรณของ อาจารย์วชิราภรณ์ ไกรอ่ำ หัวหน้ากลุ่มงานวิเคราะห์เศรษฐกิจการประมงสัตว์น้ำจืด สำนักงานประมง จังหวัดสระบุรี ที่ได้เขียนเป็นบทความตีพิมพ์เผยแพร่เป็น เอกสารทางวิชาการไว้น่าสนใจมาก และเพื่อให้เป็นวิทยาทานแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาจะได้ใช้เพื่อการศึกษาต้นทุน  กำไรในการเลี้ยงปลาแต่ละรุ่น จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ดังต่อไปนี้

การเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่ เนื่องจากในปัจจุบันสัตว์น้ำในธรรมชาติลดน้อยลง  ไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค การพะเลี้ยงสัตว์น้ำจึงมีความสำคัญเพื่อเป็นอาหารสำหรับบริโภคของประชากรที่เพิ่มขึ้น
สำหรับสัตว์น้ำที่เกษตรกรนิยมเลี้ยง คือ ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาไน ปลาจีน ปลายี่สกเทศ ปลานวลจันทร์เทศ ซึ่งเป็นปลากินพืช เลี้ยงง่าย โตเร็ว ต้นทุนในการเลี้ยงไม่สูง

อีกทั้งเป็นอาหารโปรตีนราคาถูกที่มีคุณค่าต่อร่างกาย เป็นที่นิยมของผู้บริโภค โดยเฉพาะเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ และสามารถนำไปประกอบอาหารได้  หลากหลาย เช่น ปลาเผา ปลาหนึ่ง และแปรรูปเป็นปลาแดดเดียว ปลาร้า ปลาส้ม เป็นต้น

จากการสำรวจต้นทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมเพาะเลี้ยงปลาเบญจพรรณ ซึ่งเป็นการเลี้ยงปลากินพืชหลายชนิดรวมกันในบ่อดิน ได้แก่ ปลานิล ปลาตะเพียน ปลายี่สก ปลานวลจันทร์ และปลาจีน เป็นต้น
โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงส่วนใหญ่  ปล่อยลูกพันธุ์ปลานิลมากที่สุด ปลานิลเป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่าปลาชนิดอื่น สำหรับอาหารที่ใช้ เลี้ยงปลาที่ใช้เลี้ยงมีหลายรูปแบบ  เช่น เลี้ยงด้วยรำข้าวร่วมกับแหน รำข้าวรวมกับอาหารเม็ด และรำข้าวร่วมกับมูลไก่ ใช้ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 9-10 เดือน ขนาดผลผลิตปลานิลได้ขนาด 2 ตัวต่อกิโลกรัม ปลาตะเพียนได้ขนาด 3 ตัวต่อกิโลกรัม สำหรับปลายี่สก ปลานวลจันทร์ และปลาจีนซึ่งเป็นปลาขนาดใหญ่ได้ขนาด
2-2.5 ตัวต่อกิโลกรัม
จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า การเพาะเลี้ยง ปลาเบญจพรรณโดยให้อาหารรำข้าวร่วมกับแหน มีต้นทุนการเพาะเลี้ยงทั้งหมด 11,785.33 บาทต่อไร่ต่อรุ่น หรือ 16.50 บาทต่อกิโลกรัม จำแนกเป็นต้นทุนเงินสด 9,595.00 บาทต่อไร่ต่อรุ่น (คิดเป็นร้อยละ 81.41 ของต้นทุนทั้งหมด) และต้นทุนไม่เป็นเงินสด 2,190.33 บาทต่อไร่ต่อรุ่น (คิดเป็นร้อยละ 18.59 ของต้นทุนทั้งหมด) เป็นต้น
ทุนผันแปรจำนวน 10,608.03 บาทต่อไร่ต่อรุ่น (คิดเป็นร้อยละ 90.01 ของต้นทุนทั้งหมด) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าอาหาร 6,900.00 บาทต่อไร่ต่อรุ่น หรือร้อยละ 58.55 ของต้นทุนทั้งหมด และต้นทุนคงที่ 1,177.30 บาทต่อไร่ต่อรุ่น (คิดเป็นร้อยละ 9.99 ของต้นทุนทั้งหมด)

ผลผลิตที่ได้จากการเลี้ยงประมาณ 714.29 บาทต่อไร่ต่อรุ่น ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 25 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรมรรายได้จาการเลี้ยงจำนวน 17,142.86 บาทต่อไร่ต่อรุ่น กำไร 5,357.52 บาทต่อไร่ต่อรุ่น หรือ 7.5 บาทต่อกิโลกรัม อัตราผลตอบแทน ร้อยละ 45.46


No comments
Back to content