ปลาตะเพียนขาว - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ปลาตะเพียนขาว

บทความ > การเลี้ยงปลาเบญพรรณ > ปลาตะเพียนขาว
ปลาตะเพียนขาว เป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านของไทยอีกชนิดหนึ่ง ชาวบ้านมักเรียกปลาตะเพียนขาว

นิยมนำมาแปรรูปชำแหละทำเค็มตากแห้งแล้ว นำไปทอดกรอบ หรือนำปลาสดมาประกอบอาหาร หรือทำอาหารปลาประเภทต้มเค็ม แกงส้มที่นิยมเป็นอาหารพื้นบ้านของไทยแต่โบราณ

ปลาตะเพียนอยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง ห้วยหนองบึง ตามชนบททั่วๆไปเป็นปลาที่แทรกเข้ามาอยู่ในวิถีชีวิตของชาวประมงน้ำจืดพื้นบ้าน เช่นเดียวกับ ปลากระดี่ ปลาสร้อย ปลาเข็มหรือแม้แต่ปลาใหญ่ๆ เช่น ปลาช่อน ปลาดุก และก็ปลาหมอ
ปลาตะเพียนขาวมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Puntius gonionotus อยู่ในตระกูล Cyprondae มีแหล่งกำเนิดในแถบประเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา และประเทศไทยสามารถพบเห็นปลาตะเพียนได้เกือบทุกภาค เป็นปลาที่ทนต่อการเลี่ยนแปลงของอากาศและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี

รูปร่างลักษณะของปลาตะเพียนขาว ลำตัวแบนกว้าง หัวเล็ก ปากเล็กจะงอย ปากแหลม ส่วนหลังโค้งยกสูง มีหนวดเส้นเล็กๆ 2 คู่ ครีบหลังหยักตื้นๆ เกล็ดใหญ่ มีเกล็ดตามแนวข้างลำตัว ส่วนหางมีสีคล้ำ ลำตัวสีเงิน โคนเกล็ดมีสีเทาเข้ม ส่วนท้องสีขาว ครีบท้องและครีบก้นมีสีเหลืองปนส้มเล็กน้อย ครีบหูมีสีจางหรือสีเหลืองอ่อนจางๆ ครีบหลังและครีบหางมีสีเทาปนเหลือง

ปลาตะเพียนตัวผู้ ตัวเมีย ลักษณะภายนอกจะคล้ายคลึงกันมาก สามารถแยกความแตกต่างได้ดังนี้

1. ปลาตะเพียนที่มีอายุเท่ากัน เมื่อโตเต็มวัยปลาตัวผู้จะเล็กกว่าปลาตัวเมีย
2. ลำตัวของปลาตัวผู้จะเรียวยาว กว่าปลาตัวเมียที่มีลำตัวสั้นป้อม
3. พ่อแม่ปลาที่มีน้ำเชื้อ และไข่แก่ เมื่อสัมผัสตัวผู้ ส่วนแก้มครีบหู และเกล็ดข้างตัว จะรู้สึกสากมือ ยิ่งมีความสากมากเท่าไหร่แสดงว่า ปลามีความสมบูรณ์ทางเพศพร้อมผสมพันธุ์
4. ครีบท้องของปลาตัวผู้ เมื่อจัดให้แนบขนานกับท้องไปทางครีบทวาร จะยาวจรดถึงโคนฐาน ครีบกันด้านหน้า หรือเลยฐานครีบทวารไปเล็กน้อย ส่วนกับตัวเมียครีบท้องยาวไม่จรดถึงโคนฐานครีบก้น

และครีบอกของปลาตัวผู้จะยาวไปจรดโคนต้านหน้าของครีบท้องพอดีส่วนของปลาตัวเมียสั้นกว่า

5. ในฤดูผสมพันธุ์วางไข่ ปลาตัวเมียจะมีท้องอมเป่งออกมาทั้ง 2 ข้าง ส่วนท้องจะกว้างกว่าปลาตัวผู้ ท้องนิ่ม ช่องเพศเปิดกว้างกว่าปกติมีสีชมพูอ่อนๆ ส่วนปลาตัวผู้ท้องแบนและพื้นท้องแข็งกว่าปลาตัวเมีย ถ้าเอามือรัดท้องดูจะมีน้ำเชื้อสีขาวคล้ายน้ำนมไหลออกมา

ปลาตะเพียนเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย อยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย ทั้งในน้ำนิ่งและน้ำไหล เป็นปลากินพืชเป็นอาหาร ปลาจะออกหากินตอนกลางวันมากกว่ากลางคืน อาหารที่กินจะเปลี่ยนไปตามวัยและขนาด ปลาสามารถกินอาหารได้  หลายชนิดเพื่อความอยู่รอด แต่ส่วนใหญ่แล้วจะกินพวกพืชน้ำเช่นแพลงก์ตอนพืช สาหร่าย แหนเป็ด ผักบุ้ง เป็นต้น

ลูกปลาจะกินแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็ก และสาหร่ายเซลล์เดียว ส่วนปลาวัยรุ่นและปลาโตเต็มวัยจะกินทั้งพืชและสัตว์ แต่จะชอบกินพืชมากกว่า ตามธรรมชาติปลาจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ที่ต้นน้ำ ตามชายฝั่งลำธารเล็ก ๆ ที่นาไหลลงมารวมกับลำธารใหญ่ที่มีสภาพเป็นโคลน

การผสมพันธุ์วางไข่นั้นพ่อแม่ปลาจะรวมกันเป็นฝูงใหญ่ โดยตัวเมียจะวางไข่ราวปลายเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนมิถุนายน เข้าฤดูฝนพอดี หลังจากฝนตกหนัก 2-3 ครั้ง ปลาตัวเมียจะวางไข่หมด แม่ปลาตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ตั้งแต่ 50,000-100,000 ฟอง ไข่มีขนาดเล็กกลมใส มีสีเขียวครามอ่อนๆ หรือมีสีเหลืองแกมเขียว หรือเป็นสีเทา เป็นไข่ไม่ติดกัน ไข่จะฟักออกเป็นตัวภายใน 12-18 ชั่วโมงที่อุณหภูมิของน้ำ 29-30 เซลเซียส


No comments
Back to content