ปลาเบญจพรรณในวิถีชนบท - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ปลาเบญจพรรณในวิถีชนบท

บทความ > การเลี้ยงปลาเบญพรรณ
ปลาเบญจพรรณในวิถีการเลี้ยงจริงตามชนบท เกษตรกรไม่จำเป็นจะต้องเลี้ยงปลาในบ่อเดียวกันตรงตามตำราคือเลี้ยงปลา 5 ชนิดก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าท่าน ได้พันธุ์ปลาอะไรมา ก็เลี้ยงเท่าที่หาได้ เพียงแต่เลี้ยงปลา 5 ชนิดจะเกิดความหลากหลายในเรื่องของราคาปลาเวลาจับขายเท่านั้น  ในบ่อเลี้ยงหนึ่งท่านอาจเลี้ยงปลานิล ปลาตะเพียน และปลาไน ก็ได้ไม่จำกัดชนิด

ส่วนปลากินเนื้อประเภทอื่นๆ ไม่แนะนำเพราะติดปัญหาอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะเรื่องของต้นทุนการเลี้ยง และพื้นที่บ่อเลี้ยงที่จะต้องใกล้แหล่งน้ำเพื่อความเจริญเติบโตของปลา แต่ถ้าในเขตพื้นที่ไกลจากแหล่งน้ำหากจะเลี้ยง ปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ที่มีราคาสูงก็ได้ แต่จะต้องทำบ่อกว้างและลึก รวมถึงมีต้นทุนค่าอาหารพอเพียงตลอดฤดูกาลเลี้ยงในรอบการจับปลาด้วย

“ปลาเบญจพรรณ” เลี้ยงง่าย เพียงแต่ต้องตั้งใจเลี้ยง มีการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องของอาหารปลาพอสมควร อย่าเลี้ยงแบบปล่อยทิ้งไว้ในบ่อให้ปลาโตเองตามธรรมชาติ หากเป็นแบบนี้เวลาจับปลาขายจะได้น้ำหนักปลาไม่สมดังที่ตั้งใจไว้ แล้วจะทำให้เกิดความท้อถอยในเวลาต่อมาบ่อปลา ก็คือบ้านอยู่อาศัยของปลา เพราะปลาต้องอยู่แต่ในน้ำเท่านั้น ปลาไม่สามารถที่จะอยู่บนพื้นบกได้นานๆ

การ “ทำบ่อปลา” ก็คือ “การสร้างบ้านให้ปลาอยู่” ตามหลักการแล้วไม่น่าที่จะมีปัญหาเท่าไร? หากต้องทำบ่อ ก็ขุดดินให้ลึกลงไปในดินแล้วปล่อยน้ำเข้าบ่อ จากนั้นก็นำพันธุ์ปลาลงเลี้ยงในบ่อ จะสามารถเลี้ยงปลาได้แล้ว อันเป็นหลักการง่ายๆ ของการขุดบ่อเลี้ยงปลา แต่ถ้าหากจะให้ปลาที่เลี้ยงอยู่รอดปลอดภัย ผู้เลี้ยงสามารถจับขึ้นมาจากบ่อนำปลามาทำอาหารหรือจับขายใน ปริมาณมากๆ ได้ ท่านจะทำเพียงแค่ขุดบ่อแล้วปล่อยปลาลงเลี้ยงง่ายๆ คงไม่ได้ การทำบ่อปลาจะต้องมีหลักการพอสมควร จึงจะสามารถเลี้ยงปลาในจำนวนมากๆ ให้รอดตายได้


ประการแรกบ่อเลี้ยงต้องใกล้แหล่งน้ำที่จะเข้าบ่อได้พอสมควร “แหล่งน้ำถาวร” นอกเหนือจากแม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง คลอง บึง ที่มีน้ำอยู่ตลอดทั้งปี อาจรวมถึงแหล่งน้ำที่ไม่ถาวร เช่น ทางนำ ลำประดง หรือห้วย หนอง บึง ที่เหือดแห้งตอนหน้าแล้งด้วย

ปัญหาของการส่งเสริมเกษตรกรให้ทำเกษตรแบบพอเพียงในเรื่องของการเลี้ยงปลาที่ไม่ประสบความสําเร็จก็คือ “แหล่งน้ำ” นั่นเอง

จากการตีความตามหลักการทางวิชาการ การท่าบ่อเลี้ยงปลาจะต้องใกล้ แหล่งน้ำถาวร ที่สามารถถ่ายเทน้ำเสียออกจากบ่อเลี้ยงปลา แล้วเปิดน้ำหรือสูบ น้ำดีจากแหล่งน้ำเข้าทดแทนน้ำเสียในบ่อปลา ป้องกันไม่ให้ปลาที่เลี่ยงในบ่อตาย
ซึ่งก็เป็นวิธีการที่ถูกต้อง เพราะน้ำในบ่อเลี้ยงปลาหากเน่าเสียจะทำให้ปลาเป็น
โรคและตายในที่สุด ด้วยเหตุผลนี้การส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงปลาจึงกระทำกัน ในพื้นที่ราบลุ่มใกล้แหล่งน้ำถาวรพอที่จะเปลี่ยนถ่ายน้ำเสียออกจากบ่อเลี้ยงได้

แต่กับเกษตรกรทอยู่ห่างจากพื้นที่ราบลุ่ม หางจากแหล่งน้ำถาวร หลายคนมองว่า “น่าจะหมดสิทธิ์เลี้ยงปลา” ให้ประสบความสำเร็จได้ เป็นการปิดกั้น การเลี้ยงปลาของคนไกลแหล่งน้ำถาวรไปโดยปริยาย ซึ่งตามสภาพความเป็นจริง ที่น้ำจะเป็นเช่นนั้น แต่หากมองถึงสภาพแวดล้อม การประกอบอาชีพของเกษตรกรแล้ว “แหล่งน้ำชั่วคราว” ที่ผ่านในพื้นที่ของเกษตรกรน่าที่จะ “ทำบ่อเลี้ยงปลา” และเลี้ยงปลาให้ประสบความสำเร็จตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้


No comments
Back to content