การเลี้ยงปลาในกระชัง
บทความ > การเลี้ยงปลา
การเลี้ยงปลาในกระชัง
การเลี้ยงปลาในกระชัง
การเลี้ยงปลาในกระชัง หมายถึงการเลี้ยงปลาในภาชนะ กักขัง ตั้งแต่ลูกปลาไปจนถึงปลาขนาดใหญ่ น้ำสามารถถ่ายเทได้รอบด้านภาชนะกักขัง
การเลี้ยงปลาแบบนี้สามารถดำเนินการได้ในแหล่งน้ำทั่วไป ในแม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ คลองส่งน้ำ แม้แต่ในบ่อที่ขุดแร่ซึ่งมีน้ำขังหรือแหล่งน้ำที่เต็มไปด้วยตอไม้ก็ใช้ได้ การเลี้ยงปลาในกระชัง เป็นวิธีการหนึ่งที่เหมาะสมทั้งทางเศรษฐกิจและการปฏิบัติ นอกจากนั้นวิธีนี้อาจจะนำไปใช้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือในทะเลก็ได้ การเลี้ยงปลาในกระชังสามารถปล่อยปลาได้หนาแน่น การให้อาหารสมทบที่สมดุลจะทำให้ปลาเจริญเติบโตเร็ว และให้ผลผลิตสูงในระยะเวลาอันสั้น
ส่วนประกอบอย่างอื่นของตัวกระชังก็คือ
1. ทุ่นสำหรับลอยกระชัง ชนิดที่ลอยผิวน้ำ ประกอบด้วยทุ่นโลหะหรือพลาสติก หรือท่อพีวีซี (PVC)ปิดหัวท้าย
2. ฝาปิด ฝาปิดส่วนบนจะช่วยป้องกันศัตรูโดย เฉพาะพวกนก ป้องกันสาหร่ายเกาะตัวกระชังและป้องกันขโมย และบางโอกาสทำให้ปลาไม่ตื่นตกใจ กินอาหารดีขึ้น ฝาปิด อาจทำด้วยอวน ไม้ หรือ ตาข่ายโลหะ และ ผักตบชวา
3. ที่ให้อาหารควรจะต้องมี มิฉะนั้นอาจจะสูญหาย ที่ให้อาหารอาจเป็นเป็นแป้นสี่เหลี่ยมมีเนื้อที่ 1ตรารงเมตร หรือถ้าให้อาหารลอยก็ควรมีกรอบป้องกันอาหารไหลตามน้ำ
ประโยชน์ของการเลี้ยงปลาในกระชัง
การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นวิธีเลี้ยง ที่ ให้ผลผลิตสูง ง่ายต่อการดูแลรักษา ลดต้นทุนในการผลิต และสะดวกการจับขึ้นจำหน่าย นอกจากนั้นยังเป็นการเลี้ยงปลาที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ตามแหล่งน้ำตื่น เช่น ห้วย หนอง บึง แม่น้ำลำคลอง แหล่งน้ำกร่อยในทะเลสาบ และทะเลชายฝั่ง และ ผู้เลี้ยงยังไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับปัญหาคุณภาพของน้ำที่ใช้เลี้ยงปลา ซึ่งสามารถดัดแปลงเป็นที่เลี้ยงปลาได้สะดวก และสามารถเลี้ยงได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย ผลการเปรียบเทียบผลของการเลี้ยงปลาในกระชัง กับผลของการเลี้ยงปลาในบ่อ พบว่าการเลี้ยงปลาในกระชังจะได้ผลดีกว่าการเลี้ยงปลาในบ่อหลายประการดังนี้
1. ด้านการลงทุน การเลี้ยงปลาในกระชังใช้เงินในการลงทุนน้อยมาก เพราะราคาค่าก่อสร้างกระชังนั้นน้อยกว่าการขุดบ่อเลี้ยงปลา และสามารถรวบรวมลูกปลาได้เอง หรือซื้อได้ในราคาถูก เหมาะกับผู้เลี้ยงที่มีทุนทรัพย์น้อย
2. การที่กระชังเป็นภาชนะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำให้น้ำไหลถ่ายเทได้สะดวกตลอดเวลา เมื่อนำปลาใส่ลงเลี้ยงในกระชังแล้ว จึงไม่ต้องเฝ้าพะวงดูแลเหมือนกับการเลี้ยงปลาในบ่อ เพราะมีน้ำและอาหารธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ไม่มีศัตรูปลามารบกวน
3. สามารถเลี้ยงปลาได้หนาแน่น เมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยงปลาด้วยวิธีอื่นในเนื้อที่เท่ากัน และยังง่ายต่อการดูแลรักษาเพราะอยู่ในที่แคบ การให้อาหารก็สะดวก ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับโรคที่จะเกิดขึ้นกับปลา เพราะน้ำมีการไหลเวียนที่ดี
รูปร่างลักษณะของกระชัง ส่วนใหญ่มีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมด้านเท่า บางแห่งสร้างรูปกลมหรือหกเหลี่ยม ขนาดของกระชังมีปริมาตร ตั้งแต่ 1-100 ลูกบาศก์เมตร ขนาดเล็ก 0.7-10 ลูกบาศก์เมตร ส่วนใหญ่ใช้สำหรับทดลอง แต่ที่ทำ เป็นการค้า เช่น ในอินโดนีเซีย อาจมีขนาดถึง 16-150 ลูกบาศก์เมตร การเลี้ยงปลาในกระชังไม่ควรจะทำกระชังขนาดใหญ่เพราะเสียหายและความไม่สะดวกหลายประการในการจัดการ ขนาดกระชังที่เหมาะกับการเลี้ยงปลา ควรมีขนาดความจุ 2 ลูกบาศก์เมตร
การเลี้ยงปลาในกระชังมิใช่ของใหม่ แต่มีมาแล้วไม่น้อย กว่า 100 ปี การเลี้ยงปลาดังกล่าวกระทำกันตามทะเลสาบ แม่น้ำโขง และ สาขาของแม่น้ำโขง ปลาที่เลี้ยงส่วนใหญ่ ได้แก่ ปลาสวาย ปลาเทโพ และ ปลาดุก การเลี้ยงปลาในกระชังของไทย กระทำกันอยู่ในแม่น้ำน่าน จังหวัดนครสวรรค์ และแม่น้ำสะแก กรัง จังหวัดชัยนาท
No comments