การเพิ่มผลผลิตให้ปลา หน้า1 - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเพิ่มผลผลิตให้ปลา หน้า1

บทความ > การเลี้ยงปลา > การเพิ่มผลผลิตให้ปลา
การเพิ่มผลผลิตในการเลี้ยงปลา

วิธีการเพิ่มผลผลิตมีอยู่หลายวิธี กล่าวโดยสรุปคือ

1. เลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยง
การเลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยงเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มผลผลิต นอกเหนือไปจากที่จะนำมาเลี้ยงตามสภาพความเหมาะสมของปลาแต่ละอย่าง

1.1 ระดับการผลิตตามสภาพทางนิเวศน์ที่จัดให้ อาจจะได้ปริมาณ คุณภาพ และผลทางเศรษฐกิจในระดับต่างๆ กัน ตามชนิดของปลา และวิธีการเลี้ยง เช่น ในภูมิภาคซึ่งมีอุณหภูมิสูงสุดเพียง 20 องศาเซลเซียส อาจจะเหมาะต่อการเลี้ยงปลาเมืองหนาว เช่น ปลาแซลมอนและปลาไน ในสภาวะดังกล่าวผลผลิและผลผลิตปลาไน 32 กิโลกรัมต่อไร่โดยไม่ให้อาหาร ผลผลิตของปลาที่กินอาหารไม่เลือก เช่น ปลาหมอเทศจะได้ 160-254 กิโลกรัมต่อไร่ ปลากินแมลงจะได้ 36-80 กิโลกรัมต่อไร่ และปลากินเนื้อจะได้ 13-24 กิโลกรัมต่อไร่ การเลี้ยงปลากินพืชให้ผลผลิตเหนือปลาที่กินอาหารอย่างอื่น ถ้าไม่มีการให้อาหารสมทบโดยทั่วไปแล้ว ผู้เลี้ยงปลาจะเลือกเอาปลาชนิดโตเร็วมาเลี้ยงเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง

1.2 การปล่อยปลาอย่างอื่นรวมกัน ปริมาณการผลิตจะได้สูงสุด หากเลี้ยงปลาที่กินอาหารที่มีห่วงโซ่อาหารสั้น เช่น ปลากินพืช ปลากินแพลงก์ตอน ปลากินอาหารไม่เลือก และ ปลากินเศษชีวอินทรีย์ที่เน่าเปื่อย หรือเป็นปลาที่กินอาหารสมทบที่หาง่าย ราคาถูกและเป็นปลาที่อยู่รวมกับปลาอื่นได้ดี ไม่แก่งแย่งอาหารและทำร้ายกัน

2. ควบคุมการปล่อยปลา
การปล่อยปลาจะต้องคำนึงถึงปริมาณที่จะปล่อยในอัตราพอดี เพื่อให้ได้ผลทางคุณภาพและปริมาณสูงสุดภายใต้สภาวะทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุด การปล่อยปลาขึ้นอยู่กับกำลังผลิตและ ขนดของบ่อ กำลังผลิตทั้งหมดเท่ากับผลบวกของกำลังผลิตตามธรรมชาติ รวมกับกำลังผลิตที่เกิดจากการใส่ปุ๋ยและการให้อาหาร

3. ควบคุมอุณหภูมิ
อุณหภูมิมีผลกระทบต่อการผลิตปลาและปริมาณของก๊าซออกซิเจนในน้ำ การควบคุมในเรื่องนี้จะต้องพิจารณาถึงความลึกของบ่อ บ่อตื้นเกินไปอาจมีอุณหภูมิสูงในฤดูร้อนหรือ เย็นจัดในฤดูหนาว ฉะนั้นความลึกของบ่อควรจะอยู่ในระดับ 2-5 เมตร นอกจากจะควบคุมอุณหภูมิแล้วยังจะช่วยให้ปลามีเนื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น4. ปรับปรุงการสืบพันธุ์และการคัดพันธุ์

4. การปรับปรุงและการคัดเลือกพันธ์ุ
4.1 ควบคุมและปรับปรุงการสืบพันธุ์ ปลาบางชนิดขยายพันธุ์ง่ายในบ่อ แต่บางชนิดไม่ขยายพันธุ์ และบางชนิดแพร่พันธุ์รวดเร็ว ดังนั้นจึงควรมีมาตรการในการควบคุมและปรับปรุงด้วยวิธีการต่างๆ กล่าวคือ

4.1.1 กระตุ้นให้วางไข่ ปลาหลายชนิดวางไข่ยากหรือไม่วางไข่ในบ่อ การผสมเทียมที่ค้นพบในศตวรรษที่ 18 ทำให้การผสมเทียมปลาเทราและปลาแซลมอนได้เจริญก้าวหน้า และนำไปใช้ปฏิบัติในส่วนต่างๆ ของโลก และได้นำมาใช้กับการผสมเทียมและการเพาะฟักไข่ปลาชนิดต่างๆอย่างแพร่หลาย การใช้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองของปลาฉีดกระตุ้นให้ปลาที่ไข่ยากหรือไม่วางไข่ในบ่อ ทำให้ปลาวางไข่แพร่พันธุ์ได้

4.1.2 ระวังการขยายพันธุ์ ปลาบางชนิดขยายพันธุ์รวดเร็ว เช่น ปลาหมอเทศ ทำให้ปลามีจำนวนมาก และ ขนาดเล็ก การแก้ไขด้วยวิธีเลี้ยงปลาเพศเดียว หรือเลี้ยงปลาลูกผสมที่เป็นหมั่นจะช่วยระงับการแพร่พันธุ์ของปลาดังกล่าว

การเปลี่ยนเพศปลาโดยใช้ฮอร์โมนเพศผู้ หรือ เมทิลเทสทอสเทอโรน ผสมอาหารเลี้ยงปลาในอัตรา 60, 40  และ 20 มิลลิกรัม จะเปลี่ยนเพศลูกปลานิลอายุ 3-4 สัปดาห์  เป็นเพศผู้ได้ร้อยละ 84.5, 81.0 และ 72.0 ฮอร์โมนเพศผู้ดังกล่าว สามารถนำไปใช้เปลี่ยนเพศปลาในสกุลปลาหมอเทศชนิดต่างๆ ได้ผลดี

4.2 การคัดพันธุ์ การคัดพันธุ์จะช่วยเพิ่มผลผลิต เป็นที่ทราบกันดีว่าลูกปลาที่เกิดในครอกเดียวกันจะเจริญเติบโต ผิดแผกแตกต่างกัน การคัดเอาลูกที่โตดีและนำไปผสมกับลูกปลาครอกอื่นที่โตดีหลายๆชั่ว เราก็จะได้พันธุ์ที่เจริญเติบโตดีขึ้น นอกจากนั้นยังมีการคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ลักษณะตามที่ต้องการ  เช่น มีสีต่างๆ มีเกล็ดมากน้อยหรือไม่มีเลย มีรูปร่างยาว หรือ ป้อมสั้น มีความต้านทานโรค วางไข่ช้าหรือเร็วกว่าปกติ และที่สำคัญก็คือการเจริญเติบโตรวดเร็ว
การคัดพันธุ์ปลา

No comments
Back to content