การวางแผนก่อสร้างบ่อปลา
บทความ > การเลี้ยงปลา
บ่ออนุบาลลูกปลา
บ่อเลี้ยงปลาที่อาศัยน้ำฝนที่บ่าลงมา ขนาดของแหล่งรับน้ำ มีความสำคัญมาก เพราะปริมาณของน้ำจะมีมากพอ หรือไม่ขึ้นอยู่กับเนื้อที่แหล่งรับน้ำและปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา เนื้อที่แล่งรับน้ำ 4-8 ไร่ จะรับน้ำได้พอสำหรับบ่อน้ำขนาดเนื้อ 1 ไร่ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงลักษณะของแหล่งน้ำด้วย แหล่งรับน้ำที่เป็นป่ามีความสามารถในการป้องกันการไหลบ่าได้มากกว่าทุ้งหญ้าถึงร้อยละ50
1.4 ขนาดของพื้นที่ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ หากทำการเลี้ยงปลาเพื่อบริโภคในครัวเรือน ก็ใช้เนื้อที่เพียง 400 ตารางเมตร ก็พอ แต่ถ้าทำเป็นการค้าจะต้องมีบ่ออนุบาล บ่อเลี้ยง บ่อเพาะฟัก ก็ต้องมีเนื้อที่มาก การเลี้ยงปลาเป็นการค้าควรมีเนื้อที่ตั้งแต่ 30ไร่ขึ้นไป
1.5 ความสะดวกต่างๆ เช่น มีทางคมนาคมใกล้ถนนหนทาง หรือแม่น้ำลำคลองเพื่อสะดวกในการขนส่ง ใกล้ชุมชนและอื่นๆ
2. การวางแผนและการก่อสร้าง
ก่อนลงมือก่อสร้างควรวางแผนผังและออกแบบบ่อคันดิน ท่อทางระบายน้ำ อาคาร และรายละเอียดเกี่ยวกับระดับพื้นที่ดังนี้
2.1การจัดพื้นที่ก้นบ่อ ถากถางเอาพืชก้นออก แล้วขุดร่องน้ำตามก้นบ่อติดต่อกันเป็นรูปก้างปลา เพื่อให้สะดวกแก่การระบายน้ำ ร่องก้นบ่อควรมีขนาดความกว้างและ ลึก 50 เซนติเมตร มีความลาดเทอย่างน้อย 2-3 ใน 1,000 ในระหว่างการสร้างบ่อควรกลบหลุมและแอ่ง เพื่อให้การระบาย น้ำก้นบ่อแห้งตลอดจะได้จับปลาได้สะดวก ร่องน้ำตรงกลางจะขุดตรงไปยังทางระบายน้ำออกและขยายร่องให้กว้างและลึกก่อนถึงปากท่อระบายน้ำทิ้ง 2-3 เมตร เพื่อให้เป็นที่รวบรวมปลาเมื่อต้องการจับ
2.2 คันบ่อ เป็นส่วนสำคัญในการเก็บกักน้ำ สร้างคันบ่อในพื้นทีเป็นกรวด หรือแฉะ จะต้องขุดให้ถึงส่วน
ที่เป็นดินแข็ง บริเวณทีตั้งคันต้องถากถางหญ้า ต้นไม้ กิ่งไม้ และเศษวัชพืชออกให้หมด หากดินบริเวณนั้นเก็บน้ำไม่ดี ต้องขุดร่องทำแกนกลางด้วยดินเหนียวในที่ดินปนทราย ความกว้างของคันดินต้องเป็น 2 เท่า และมีแกนกลางที่เป็นดินเหนียว หนา 40-50 เซนติเมตร ดินที่ใช้ทำคันควรปราศจากเศษไม้ ก้อนหิน
คันบ่อควรถมเป็นชั้น หนาชั้นละ 20 เซนติเมตร และอัดแน่น ถ้าดินแห้งควรรดน้ำ บด และอัดถมให้ความสูง ตามความต้องการ ความกว้างของสันคันบ่อไม่ควรน้อยกว่า 1 เมตร แต่ถ้าทำให้กว้างไว้จะสะดวกต่อการใช้ยานพาหนะขน ถ่ายปลา อาหาร และ อุปกรณ์ต่างๆ ความสูงของคันบ่อควรสูงกว่าระดับเก็บกักน้ำ 30 เซนติเมตร สำหรับบ่อขนาดเล็ก และ 50 เซนติเมตรสำหรับบ่อขนาดใหญ่ และควรคำนวณถึงการ ยุบตัวของคันดินเผื่อไว้อีกร้อยละ 10
ความลาดเทของคันดินด้านนอกควรเป็น 1 : 1 และด้านใน 1 : 2 และถ้าหากบ่อมีขนาดใหญ่ที่รับคลื่นลมหรือเป็นดินร่วนควรมีความลาดเท 1 : 4 เมื่อทำคันเรียบร้อยแล้ว ควรปลูกหญ้าคลุมคันดิน เพื่อป้องกันการพังทลาย ไม่ควรปลูกต้นไม้บนคันเพราะรากจะชอนไชทำให้น้ำรั่วได้ ในระหว่างการสร้างส่วนที่จะทำท่อทางระบายน้ำควรจะทิ้งว่างไว้ก่อน
2.3 ท่อทางระบายน้ำออก ระบบการระบายน้ำมีหลายแบบด้วยกัน แบบธรรมดาสำหรับบ่อขนาดเล็กใช้ฝังท่อใต้ คันดินในตำแหน่งที่ต่ำสุดเพื่อให้การระบายน้ำได้ถึงก้นบ่อ เพื่อความรวดเร็วในการระบายน้ำ ขนาดของท่อควรมีความสัมพันธ์กับขนาดขอบ่อ ท่อระบายน้ำควรทำด้วยวัตถุที่ทนทาน เช่น ซีเมนต์ ไฟเบอร์กลาสส์ หรือเหล็กอบสังกะสี การวางท่อควรป้องกันน้ำไหลซึมข้างๆ ด้วยการหุ้มท่อด้วยคอนกรีตเป็นตอนๆ ควรวางท่อต่ำกว่าก้นบ่อ 30-40 เซนติเมตร
แผนผังบ่อเลี้ยงปลา
No comments