คันบ่อดินเลี้ยงปลา - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

คันบ่อดินเลี้ยงปลา

บทความ > การเลี้ยงปลา
ที่เป็นดินแข็ง บริเวณทีตั้งคันต้องถากถางหญ้า ต้นไม้ กิ่งไม้ และเศษวัชพืชออกให้หมด หากดินบริเวณนั้นเก็บน้ำไม่ดี ต้องขุดร่องทำแกนกลางด้วยดินเหนียวในที่ดินปนทราย ความกว้างของคันดินต้องเป็น 2 เท่า และมีแกนกลางที่เป็นดินเหนียว หนา 40-50 เซนติเมตร ดินที่ใช้ทำคันควรปราศจากเศษไม้ ก้อนหิน

คันบ่อควรถมเป็นชั้น หนาชั้นละ 20 เซนติเมตร และอัดแน่น ถ้าดินแห้งควรรดน้ำ บด และอัดถมให้ความสูง ตามความต้องการ ความกว้างของสันคันบ่อไม่ควรน้อยกว่า 1 เมตร แต่ถ้าทำให้กว้างไว้จะสะดวกต่อการใช้ยานพาหนะขน ถ่ายปลา อาหาร และ อุปกรณ์ต่างๆ ความสูงของคันบ่อควรสูงกว่าระดับเก็บกักน้ำ 30 เซนติเมตร สำหรับบ่อขนาดเล็ก และ 50 เซนติเมตรสำหรับบ่อขนาดใหญ่ และควรคำนวณถึงการ ยุบตัวของคันดินเผื่อไว้อีกร้อยละ 10

ความลาดเทของคันดินด้านนอกควรเป็น 1 : 1 และด้านใน 1 : 2 และถ้าหากบ่อมีขนาดใหญ่ที่รับคลื่นลมหรือเป็นดินร่วนควรมีความลาดเท 1 : 4 เมื่อทำคันเรียบร้อยแล้ว ควรปลูกหญ้าคลุมคันดิน เพื่อป้องกันการพังทลาย ไม่ควรปลูกต้นไม้บนคันเพราะรากจะชอนไชทำให้น้ำรั่วได้ ในระหว่างการสร้างส่วนที่จะทำท่อทางระบายน้ำควรจะทิ้งว่างไว้ก่อน

2.3 ท่อทางระบายน้ำออก ระบบการระบายน้ำมีหลายแบบด้วยกัน แบบธรรมดาสำหรับบ่อขนาดเล็กใช้ฝังท่อใต้ คันดินในตำแหน่งที่ต่ำสุดเพื่อให้การระบายน้ำได้ถึงก้นบ่อ เพื่อความรวดเร็วในการระบายน้ำ ขนาดของท่อควรมีความสัมพันธ์กับขนาดขอบ่อ ท่อระบายน้ำควรทำด้วยวัตถุที่ทนทาน เช่น ซีเมนต์ ไฟเบอร์กลาสส์ หรือเหล็กอบสังกะสี การวางท่อควรป้องกันน้ำไหลซึมข้างๆ ด้วยการหุ้มท่อด้วยคอนกรีตเป็นตอนๆ ควรวางท่อต่ำกว่าก้นบ่อ 30-40 เซนติเมตร

สำหรับบ่อขนาดใหญ่ควรทำเป็นประตูระบายน้ำทำด้วยคอนกรีต ลักษณะของประตูน้ำประกอบด้วยส่วนที่สามารถ ควบคุมน้ำมีช่องสำหรับใส่ไม้อัดน้ำ 2 ช่อง ระหว่างช่องทั้ง 2 อาจใส่ดินอัดแน่นก็ได้ และมีช่องสำหรับใส่ตะแกรงป้องกันปลาหนีอีก 1 ช่อง ประตูน้ำดังกล่าวอาจจะทำด้วยไม้ซึ่งมีความหนาประมาณ 2 นิ้วก็ได้ จะมีความคงทนนานถึง 25 ปี

ช่องสำหรับใส่ตะแกรงอาจจะทำตะแกรงเฉพาะส่วนล่าง แต่ส่วนบนใช้ไม้อัดน้ำปิดไว้ เป็นประโยชน์มากในการระบายน้ำส่วนล่างออกไปพร้อมกับก๊าซที่เป็นพิษหรือเศษเหลือตามก้นบ่อ ควรใช้ตะแกรงตาห่างเพื่อให้น้ำไหลสะดวก หรือจะคอยเปลี่ยนขนาดช่องตาของตะแกรงตามขนาดของปลาที่เลี้ยงก็ได้
บ่อเลี้ยงปลาควรมีคันบ่อซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเก็บกักน้ำ

2.4 ท่อทางระบายน้ำเข้า ท่อทางน้ำเข้าควรจะวางให้
(1) น้ำผ่านได้สม่ำเสมอ และสามารถควบคุมการปล่อยน้ำได้
(2) สามารถป้องกันไม่ให้ปลาหลบหลีกทวนน้ำออกไปได้และ
(3) ป้องกันไม่ให้ปลาที่ไม่ต้องการหรือศัตรูปลาเข้ามากับน้ำ

การวางท่อระบายน้ำควรระมัดระวังเป็นพิเศษ สำหรับบ่ออนุบาลควรจะมีตะแกรงป้องกัน 2 ชั้น ขนาดช่องตาของตะแกรงควรเปลี่ยนแปลงตามขนาดของปลา และต้องหมั่นทำความสะอาดเก็บเอาเศษตะกอน กิ่งไม้ ใบไม้ที่เข้าไปอุดตัน ทิ้งออกไป เพื่อให้น้ำถ่ายเทได้สะดวก



No comments
Back to content