การเลี้ยงกบในบ่อดิน - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเลี้ยงกบในบ่อดิน

บทความ > การเลี้ยงกบ
การเลี้ยงกบในบ่อดิน
กบที่จะทำการเลี้ยงในบ่อดินนั้น ควรมี เนื้อที่อย่างน้อยประมาณ 100-200 ตาราง 1 เมตร ทำเป็นคอกล้อมด้วยอวนไนล่อน (ดาง เขียว) ด้านล่างใช้แผ่นสังกะสีฝังลงไปในดิน ลึกประมาณ 1 ศอก เพื่อป้องกันศัตรูจาก ภายนอก อย่างเช่น หนู งู รอบบ่อภายในปล่อยให้หญ้าขึ้น หรือจะปลูกข่า ตะไคร้ให้ กบอาศัย ด้านบนของปอให้มุงด้วยทาง มะพร้าวตรงมุมใดมุมหนึ่งเพื่อบังแสงแดด เพื่อเป็นร่มเงา และเป็นที่ให้อาหารของกบ ด้วย ส่วนภายในบ่อที่เป็นแอ่งน้ำ ให้หา จำพวกผักตบชวาหรือพืชอื่นๆ เพื่อเป็นที่ให้ กบได้หลบซ่อนภัย และอาศัยความร่มเย็น ปัญหาของบ่อดิน คือกบมักจะขุดแอ่งทำเป็น ที่หลบซ่อนตัว โดยเฉพาะในช่วงของฤดูหนาว กบจะจำศีลและจะไม่ออกมาจากแอ่งหรือรู ของมันเลย ในบางครั้งกบก็จะเข้าไปอยู่ในรู อันเดียวกันอย่างแออัด ก็จะทำให้กบนั้นตาย ได้ วิธีแก้ไขก็ทำได้โดยใช้ทรายหรือดินลูกรัง หรือหินเกล็ดราดทับบนหน้าดิน ก็จะเป็นการ ช่วยอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยไม่ให้ดินนั้นเกิดมีรอย ร้าวและดินแยกแตกระแหง เพื่อเป็นการ ป้องกันไม่ให้กบเข้าไปหลบซ่อนตัวได้

การจับกบจำหน่าย
เนื่องจากว่าสภาพปอเลี้ยงกบของ เกษตรกร หรือผู้เลี้ยงกบนั้นมีสภาพความแตกต่างกัน การจับกบจำหน่ายย่อมทำให้ความ สะดวกในการดูแลรักษามีความแตกต่างกัน กล่าวคือ

ลักษณะการเลี้ยงกบแบบนี้การที่จะนำ กบออกไปจำหน่ายได้ครั้งเดียวและในเวลา พร้อมกัน ไม่มีการจับกบจำหน่ายปลีกหรือ เป็นครั้งคราวนั้น ค่อนข้างจะยากและลำบาก อยู่สักหน่อยทั้งนี้เพราะสภาพของบ่อเลี้ยงกบ ไม่เอื้ออำนวยต่อการจับกบ ถึงแม้จะจับเพียง ครั้งเดียวให้หมดบ่อ ก็จะต้องใช้แรงงานผู้คน หลายคนลงไปจับในบ่อเลี้ยงที่มีสภาพโคลน ตม และต้องเก็บพืชน้ำ เช่นผักบุ้ง ผักตบชวา ขึ้นให้หมดเสียก่อน จึงต้องใช้แรงงานมากที่ จะเที่ยวไล่จับกบในที่หลบซ่อนในครั้งเดียว

การอนุบาลลูกกบระยะแรก(ลูกอ๊อด)
หลังจากไข่กบฟักออกมาเป็นตัวแล้วลูกกบจะมีลักษณะเหมือนลูกปลาให้รีบซ้อน แล้วนำลูกกบมาปล่อยลงเลี้ยงในบ่ออนุบาล ในระยะแรกก่อนที่ถุงไข่แดง ที่ติดมากับตัวลูก กบจะยุบหมด สำหรับจำนวนของลูกกบที่จะ นำมาปล่อยนั้น จะอยู่ในประมาณ 2,000 ตัว ต่อตารางเมตร
การให้อาหาร ได้แก่ ไรแดง และอาหาร ปลาอย่างผงหรือไข่ตุ่น ซึ่งควรมีการเตรียมไว้ ก่อนในบ่อ พอถุงไข่แดงยุบลูกกบก็จะสามารถ กินอาหารได้เลย

การถ่ายเทน้ำ ควรกระทำทุกวัน วันละ 50-70 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนน้ำในบ่อ ทั้งหมด

ควรให้ออกซิเจนด้วย เพื่อป้องกันน้ำเน่า น้ำที่เพาะเลี้ยงลูกอ๊อดเป็นน้ำที่สะอาดที่ลูกอ๊อดได้เจริญเติบโตเป็นลูกกบ การเจริญของลูกกบ หลังจากฟักออก จากไข่ประมาณ 1-2 อาทิตย์ก็จะมีขาหลัง 2 ขา โผล่ออกมาจากส่วนท้ายของลำตัวที่ บริเวณของโคนขา เมื่อขาหลังเจริญเต็มที่ก็จะ มีขาหน้าโผล่ออกมาอีก 2 ขา ข้างของช่อง เหงือกทางด้านหน้าของลำตัว หัวจะเริ่มหด และสั้นลง ปากจะเริ่มมีความสมบูรณ์ขึ้น สามารถขึ้นกินอาหารได้เช่นเดียวกับกบตัวโต ซึ่งระยะเวลาในการเจริญเติบโตนี้จะแตกต่าง กันไปตามแต่ละสายพันธุ์ แต่โดยทั่วไปจะใช้ เวลาประมาณ 25 – 35 วัน จากลูกอ๊อดมาเป็นกบเล็ก

ต้นทุนการเลี้ยงกบ
ปัจจุบันการเลี้ยงกบจึงเป็นความต้องการและความสนใจของเกษตรกรหรือคนทั่วไป เนื่องจากกบเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ใช้น้ำน้อยและใช้พื้นที่ ในการเพาะเลี้ยงไม่มาก จึงสามารถเลี้ยงได้ทั้งบ่อดินและบ่อซีเมนต์ ขนาดเล็ก ความกว้างยาวประมาณ 6-12 เมตร ซึ่งสามารถเลี้ยงกบได้ประมาณ 400-300 ตัว/ บ่อ โดยการใช้เวลาเลี้ยง 3-4 เดือน ใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปก็จะได้กบที่มีขนาดประมาณ 200-250 กรัม/ตัว ซึ่งเป็นขนาดที่ต้องการ ของตลาดและขายได้ในต้นทุนปัจจุบันจะอยู่ที่ประมาณ 25-30 บาท/กิโลกรัม


No comments
Back to content