โรคที่เกิดจากเชื้อราในกบ
บทความ > การเลี้ยงกบ
โรคที่เกิดจากเชื่อรา
เป็นเชื่อราที่มีอยู่ ทั่วไปในนำ เชื่อชนิดนี้สามารถทำอันตรายต่อ ปลาได้เช่นกัน โดยโรคเชื่อราดังกล่าวนี้ อาจ จะเกิดเชื่อแบคทีเรีย ตัวอย่างเช่น การที่กบ เกิดเป็นโรคขาแดง และผิวหนังมีบาดแผล เชื่อราชนิดนี้เข้ามาเกาะตามบาดแผล จะ ทำให้บาดแผลนั้นเกิดอาการรุนแรง และเสีย หายมากขึ้น ฉะนั้นในการรักษา จำเป็นต้อง ใช้ฆ่าเชื้อรารวมกับยาปฏิชีวนะ
โรคที่เกิดเชื่อแบคทีเรียที่พบเป็นครั้งคราว
คือเชื่อไมโครกรัม แบคทีเรีย ซึ่งจะ ทำให้เกิดเป็นตุ่มตามผิวหนัง และอวัยวะภายในเชื้อสแตปฟิลโลค็อกคัส อิพิสเดอมิส ที่ทำให้เกิดเป็นหนองตามผิวหนัง หรือตามขา
โรคที่เกิดจากสารพิษ
สารพิษมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ส่วน ใหญ่มีผลต่อความเป็นอยู่ของกบทั่งทางตรงและทางอ้อม สามารถทำให้กบตายได้ในทันที่ ทันใด หรือไม่ก็จะก่อให้เกิดการเรื้อรัง สารพิษ ต่างๆ เหล่านี้ได้แก่ น้ำยาฆ่าเชื้อ เมื่อมีการให้ ยาดังกล่าวแล้ว ควรล้างทำความสะอาดทุก ครั้งด้วย
โรคตาขาว คอเอียง บวมน้ำ
สาเหตุของโรค
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียพลาโว แบคทีเรียม เมนิงโกเซพติคุม (FLaVabacterium meningoSepticum)
ลักษณะและอาการ
ลักษณะตาขาว ขุน บอด เกิดการ อักเสบ ที่ตามีหนองในช่องตา มีอาการทาง ประสาท โดยกบจะนอนหงายท้อง แสดง อาการควงสว่าน คอเอียง กบบางตัวจะมี อาการบวมน้ำ และมีน้ำคั่งใต้ผิวหนัง
การรักษา
การรักษามักจะไม่คอยได้ผล โดย เฉพาะตัวที่เป็นหนัก ทำได้โดยลดความ รุนแรงของโรค โดยการคัดแยกตัวป่วยออก และทำการฆ่าเชื้อโรคในบ่อโดยการใช้ยาฆ่า เชื้อ เช่นไอโอดีน เป็นต้น หรืออาจใช้ด่างทับทิม 5 กรัม / น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร สาดให้ ทั่วบ่อ ติดต่อกัน 3 วัน และผสมยาปฏิชีวนะ เช่น เอนโดฟร็อกซาซิน กับอาหารเพื่อป้องกัน การติดเชื้อในกบ ที่เหลือนอกจากนี้แล้วจะ ต้องแยกกบให้มีปริมาณลดจำนวนให้น้อยลง กว่าเดิม
การป้องกัน
ไม่ควรปล่อยกบลงในบ่อเลี้ยงแน่นเกิน ไป มีการพักน้ำ และฆ่าเชื้อโรคในน้ำก่อนนำ มาใช้ด้วยคลอรีน และควรมีการเปลี่ยนถ่าย น้ำอย่างสม่ำเสมอ
โรคกบขาแดง
ลักษณะและอาการของโรค
กบจะเบื่ออาหาร น้ำหนักลด หัวใจห่อ เที่ยว ผิวหนังสีผิดปกติ สูญเสียการตรงตัว มี จุดเลือดออกตามตัว และมีแผลเกิดขึ้นตาม ตัวขากระตุก และมีผื่นแดงเกิดขึ้นที่โคนขาหลังเม็ดเลือดมีอาการของโลหิตจาง เลือดแข็งตัวช้า และมีเลือดออกบริเวณอวัยวะภายใน
สาเหตุของโรค
เกิดจากการติดเชื้อ bact. A hydrophilla, Haemophilus piscium
การรักษา
ใช้เตรทตร้าไซคลิน 50-100 mg/น้ำ หนักกบ 1 กิโลกรัม (ป้อน) อาจผสมอาหาร หรือแช่ก็ได้ (ปริมาณเพิ่มขึ้น)
โรคแผลที่หัวและลำตัว
ลักษณะและอาการของโรค
ที่บริเวณของหัวและลำตัวกบจะเป็น แผลเน่าเปื่อย ถ้าหากไม่รีบทำการรักษาใน ทันท่วงที ก็ตายได้ในที่สุด
สาเหตุของโรค
เกิดจากสภาพปอสกปรกมากนั้นเอง
การรักษา
ควรจัดการทำความสะอาดเปลี่ยนถ่าย น้ำ หรือใช้ปูนขาวผสมน้ำรดลงไปในบ่อ หรือตรงบริเวณขอบบ่อ จะเป็นการช่วยป้องกันได้ อีกระดับหนึ่ง ซึ่งถ้าหากไม่อยากให้เกิดโรค ควรจะหมั่นดูแลเรื่องระบบน้ำในบ่อน้ำให้ดี อยู่สม่ำเสมอ
การป้องกันโรคกบ
แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน
- ในกรณีกบที่เลี้ยงในบ่อปูน ทำความสะอาดบ่อนั้น ควรใช้ด่างทับทิมล้าง บ่อโดยอัตราส่วนด่างทับทิม 1 ช้อนโต๊ะ / น้ำ 2 ลิตร ทุกครั้งที่มีการล้างบ่อ
- อาหารควรผสมด้วยน้ำหมักชีวภาพ ก่อนที่จะนำมาให้กบกิน ด้วยอัตราส่วน น้ำ หมักชีวภาพ 2 ช้อนโต๊ะ / อาหาร 1 กิโลกรัม
-เมื่อกบมีอาการท้องอืด หรือตัวเหลือง ซึม ให้ใช้ขิง ข่า พะลัย ฟ้าทะลายโจร ต้มน้ำ ให้ได้สีชา และนำผสมกับอาหารกบป้อน หรือ อาจให้ยาเข้าทางปากตัวละ 1 ซีซี.
- ถ้ากบมีลำตัวเป็นแผลเปื่อยให้ใช้ขมิ้น ผง และใบน้อยหน่าตากแห้ง (หรือเปลือก มังคุดแห้ง) นำทั้ง 2 อย่าง มาบดให้ละเอียด และผสมกับปูนแดงลงไปเล็กน้อย แล้วทาที่ ตรงบริเวณแผล ที่สำคัญเกษตรกร ผู้เลี้ยงจะ ต้องแยกกบที่ป่วยออกไว้ต่างหาก อย่างน้อย เป็นเวลา 1 วัน โดยนำกบที่เป็นโรคมาใส่ถุง พลาสติก เจาะช่องระบายช่องอากาศ และไม่ ให้ถูกน้ำ
กรณีที่เลี้ยงกบในบ่อ หรือบ่อปูน ควร นำเกลือแกงผสมน้ำใส่ลงไปในบ่อเลี้ยงกบ ด้วย เป็นการฆ่าเชื้อรา หรือ เชื้อโรคอื่นๆ อัตราการใส่บ่อเลี้ยง 4 x 4 เมตรให้ใส่น้ำสูง 5 เซนติเมตร และใส่เกลือแกงลงไปประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ
No comments