วิธีเลี้ยงกบ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

วิธีเลี้ยงกบ

บทความ > การเลี้ยงกบ
วิธีเลี้ยงกบ
กบที่เราจะนำลงไปเลี้ยงในกระชังได้นั้นลูกกบต้องมีอายุ 1-2 เดือน และทำการ คัดเลือกลูกกบที่เราซื้อมานั้นให้ลูกกบมีขนาด และความโตเท่ากัน (คุณพ่อได้บอกพร้อมกับ ทำท่าทางทำการคัดแยกลูกกบให้ดู) เพราะ ลูกกบที่เราซื้อมานั้น จะเป็นลูกกบที่ยังไม่ได้ มีการคัดขนาดส่วนมากจะคละกันมา ราคาก็ จะอยู่ในราคาตัวละหนึ่งบาท หรือบาทห้าสิบ สตางค์ ซึ่งเป็นราคาขายกันทั่วไปในท้องตลาด และที่สำคัญลูกกบต้องเป็นตัวที่มีความสมบูรณ์และแข็งแรงปราศจากเชื้อโรค ทนทานต่อสภาพแวดล้อมดีด้วย

คุณพ่อเล่าให้ฟังว่า สาเหตุที่ต้องมีการคัดเลือกลูกกบให้มีขนาดและความโตที่เท่านั้น ก็เพราะว่า กบนั้นจะมีพฤติกรรมและนิสัยออกไปทางนักเลงอันธพาล แต่ก็ยังไม่ถึง อันธพาล 99 ครองเมืองหลวง (คุณพ่อพูด พร้อมหัวเราะออกมานิดหน่อย) แล้วก็พูดต่อ กว่าหากไม่ทำการแยก ลูกกบที่มีตัวเล็กกว่า จะถูกลูกกบโตใหญ่รังแกเอาโดยเฉพาะตอนที่ให้อาหาร ดีไม่ดีจะทำให้กบตัวเล็กถึงกับหัว ร่างข้างแตกขาหัก และคอหักถึงตายได้ ทาง ที่ดีแล้ว ควรแยกขนาดดีกว่า คือส่วนลูกกบ ตัวเล็กก็ควรอยู่อีกกระชัง ส่วนลูกกบตัวโต (นักเลงใหญ่) ก็อยู่อีกถ้าหนึ่ง (เอ๊ะ นี่มันกบนะคุณพ่อไม่ใช่เสือนี้ถึงจะอยู่ในถ้าเดียวกันไม่ได้)


วิธีการให้อาหาร
การให้อาหาร คุณพ่อพูดพร้อมใช้มือ หยิบหัวอาหารให้ทีมงานเราดูและพร้อมกับ พูดขึ้นว่า “หัวอาหารที่ใช้สำหรับเลี้ยงลูกกบในช่วงขันต้นนี้จะต้องเป็นหัวอาหารเลี้ยงลูกกบเล็กที่มีอายุ 1-2 เดือน ลักษณะของอาหารนั้นก็จะมีลักษณะเป็นเมล็ดเล็กๆ หาไม่ได้ เราก็จะเอาอาหารเม็ดที่ใช้เลี้ยงลูกปลาดุกให้กินแทนก็ได้เหมือนกัน คุณภาพก็ใกล้เคียงกัน แต่ราคาของหัวอาหารเม็ดของลูกกบ จะมีราคาแพงกว่านิดหน่อย คุณภาพของอาหารเม็ดก็สูสีพอๆกัน การให้อาหารลูกกบก็ให้ 2 เวลา คือ เช้า-เย็น”

เรื่องของการเปลี่ยนถ่ายน้ำ คุณพ่อ หาญบอกกับทีมงานว่า "โนพลอมแพลม" (ไม่มีปังหา) ท่านเล่นพูดภาษาปะกิตเสียด้วย (ระดับผู้อำนวยการนะจะบอกให้) เพราะ สถานที่เลี้ยงกบของท่านนั้นกว้างขวาง น้ำท่า ใสสะอาด ภายในบ่อเต็มไปด้วยหมู่ปลานานา พันธุ์ ปลาดุก ปลานิล ปลาสวาย และปลาซิว อ้าว โดยเฉพาะปลาชนิดสุดท้ายนี้เหมาะสำหรับทำก้อย และทำปลาจ่อมมีรสแซบมาก เศษอาหารที่โปรยให้กบกินนั้นบางครั้งก็จะมี การหล่นหรือเหลือเศษจากการกินของกบก็ จะกลายเป็นอาหารโออันโอชะของปลาไปด้วย

ในการเลี้ยงบางครั้งก็จะให้อาหารเสริม แก่ลูกกบควบคู่ไปด้วยอย่างเช่น ปลาสับ ปูสับ และบางครั้งก็จะมีการให้ยาถ่ายพยาธิกบด้วย ก็จะเป็นการดี จนกระทั่งกบอายุได้ 2 เดือน เศษๆ ก็ควรทำการแยกกบออกเลี้ยงจาก กระชังเดิม เนื่องจากกบที่เราทำการเลี้ยงนั้น มีการเจริญเติบโตกว่าเดิม เนื่องจากพื้นที่เดิม มีความกว้างในขีดจำกัด จะทำให้กบนั้นเป็น อยู่อย่างแออัด และที่สำคัญเวลาผู้เลี้ยงให้ อาหารกบก็จะไม่สะดวกในการกินอาหาร เนื่องจากพื้นแออัด ดังนั้นจึงควรแบ่งแยก เลี้ยงโดยเฉลี่ย 200 กว่าตัว/กระชัง

การเลี้ยงกบจะมีความยากและสิ้น เปลืองในเรื่องอุปกรณ์และหัวอาหารเพียงช่วง เริ่มแรกเท่านั้น เมื่อลูกกบโตแล้วเรื่องการให้ อาหารก็ไม่ต้องกลัว หรือกังวลเหมือนเมื่อ ก่อนเลี้ยงในระยะครั้งแรก หรือครั้งต้นๆ เมื่อกบใหญ่แล้วเลี้ยงง่าย หลังจากเอาลูกกบออก จากกันมาเลี้ยงในกระชังใหม่ การให้อาหารลูกกบในช่วงนี้ สามารถให้อาหารเม็ดโตได้ใช้ เวลาในการเลี้ยงต่ออีก 2 เดือนเศษ ๆ ก็ สามารถจับออกนําจำหน่ายสู่ท้องตลาด ท้องมนุษย์เราได้

ต้นทุนในการเลี้ยงกบในกระชัง
- ค่าพันธุ์ลูกกับ ตัวละ 1 บาท
- ค่าหัวอาหารเลี้ยงกบ 10,000 บาท เป็นค่าอาหาร 20,000 บาท
- กบโต 10,000 ตัว (หนักประมาณ 1.5 ตัน)
- ค่าวัสดุและอุปกรณ์ ในการเลี้ยงกบ 10,000 ตัว ใช้เงิน 5,000 บาท (กระชังใช้ได้ 5 ปีต่อครั้ง)
เมื่อรวมต้นทุนในการเลี้ยงกบ 10,000 ตัว ใช้เงินทุนประมาณ 35,000 บาท

ในการเลี้ยงกบแต่ละรุ่นใช้เวลา ประมาณ 3 เดือน ก็จะจับกบขาย กบโต 10,000 ตัว จะหนักประมาณ 1.5 ตัน

ลงทุน 35,000 บาท ใช้เวลาเลี้ยง 3 เดือน สามารถขายได้ 77,000 บาท

เมื่อหักต้นทุนแล้ว ได้กำไรประมาณ 14,000 บาท/เดือน แต่รายของคุณพ่อหาญ นั้นมากกว่านี้เพราะเป็นบ่อใหญ่ ในกระชังนั้นมีมากด้วย (นี่เป็นเพียงตัวเลข แบบเลี้ยงในจำนวนที่น้อยของคุณพ่อหาญ) หากท่านใดมีความสนใจในการเลี้ยงกบของคุณพ่อหาญก็สามารถสอบถามราย ละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

คุณพ่อหาญ ผิวบาง
บ้านเลขที่ 148 ม.4 บ้านหนองแวง ต.บัวเงิน อ.น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
โทรศัพท์ 083-3589262, 083– 356O609



No comments
Back to content