การป้องกันและรักษาโรคที่พบในกบ
บทความ > การเลี้ยงกบ
การป้องกันและการรักษาโรคที่พบในกบ
การที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกบส่วนใหญ่ ประสบกับปัญหาเกี่ยวกับเชื้อโรคต่างๆ ใน การเลี้ยงกบนั้นปัญหาหลักส่วนใหญ่นั้นก็มา จากความสกปรกของสถานที่ และน้ำที่ใช้ใน การเลี้ยง ตัวนั้นหากการดูแลและการจัดการ ไม่ทั่วถึง กบที่มีอยู่ในบ่อที่เราเลี้ยงนั้นจะไม่ค่อยมีความสมบูรณ์และแข็งแรง หรือในกรณี ที่กบมีบาดแผลนั้น สาเหตุอื่นอาจเกิดมาจาก อาหารสกปรกก็เป็นได้
การดูแลที่ดีแล้วเรื่องของความสะอาด นั้นเป็นอันดับต้นๆ เพื่อเป็นการไม่ประมาท การเลี้ยงดูลูกกบที่ถูกต้องสุขลักษณะนั้น ต้องควรหมั่นเปลี่ยนน้ำ และอาหารที่ทำการเลี้ยง กบ และควรเลี้ยงในสถานที่มีอากาศถ่ายเทได้ สะดวก และได้รับแสงแดดในตอนเช้าๆ ด้วย ถึงจะเป็นการดี
เปลี่ยนชนิดของอาหาร โดยคำนึงถึงประเภทโภชนะของสัตว์ที่ควรได้รับในแต่ละวัน
ควรมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักและคำแนะนำเพื่อหลีกเลียงโรคที่จะเกิดกับกบเลี้ยงของเรา
โรคติดเชื้อแบคทีเรียในระยะลูกอ๊อด
ลักษณะของอาการ
ตามลำตัวของลูกอ๊อดจะด่างเป็นจุด คล้ายโรคตัวด่างในลูกปลาดุก จากนั้นก็จะมี อาการท้องบวมและมีการตกเลือด ตามครีบ หรือส่วนต่างๆ
สาเหตุของโรค
เกิดจากแบคทีเรียในกลุ่ม Flexibecteris
การรักษา
ใช้เกลือแกงแช่ในอัตรา 0.5 % (5 กิโลกรัม / น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร) นาน 3-5 วัน
ใช้ยาออกซีเดตร้าซัยคลิน แช่ในอัตรา 10-20 กรัม/ น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ติดต่อกัน ทุกวันนาน 3-5 วัน
การป้องกัน
อนุบาลลูกอ๊อดในความแน่นที่เหมาะ สม ตารางเมตรละ 1,000 ตัว
คัดขนาดของลูกอ๊อดทุกๆ 2-3 วัน/ครั้ง จนกระทั่งลูกอ๊อดเป็นลูกกบแล้ว อนุบาลให้ ได้ขนาด 1-1.5 อัตราความหนาแน่นตาราง เมตรละ 250 ตัว จากนั้นจึงทำการปล่อยลูก กบ ลงเลี้ยงในอัตราตารางเมตรละ 100 ตัว
ต้องหมั่นเปลี่ยนการถ่ายน้ำอย่าง สมาเสมอเพื่อรักษาความสะอาดของปอ อนุบาลในการเพาะเลี้ยง
โรคติดเชื่อแบคทีเรียในระยะตัวเต็ม
ลักษณะและอาการ
กบจะมีลักษณะเป็นจุดแดงๆ ตามขา และผิวตัว โดยเฉพาะด้านท้อง ถึงแผลเน่า เปื่อยบริเวณปาก ลำตัวและขา ตัวมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีจุดสีเหลืองซ้อนๆ กระจายอยู่ ทั่วไปได้ขยายใหญ่ขึ้น บางครั้งก็จะเป็นตุ่ม ลักษณะสีขาวกระจายอยู่เต็ม
สาเหตุของโรค
เกิดจากสภาพบ่อมีสภาพสกปรก
การรักษา
ใช้ออกซีเดตร้าซัยคลินผสมอาหารให้ กบในอัตรา 3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม/วัน กินติดต่อกันจนกว่าอาการจะดีขึ้นหรือให้กิน ไม่น้อยกว่าครั้งละ 5-7 วัน
โรคที่เกิดจากโปรโตซัวในทางเดินอาหาร
ลักษณะและอาการ
กบจะไม่ค่อยมีความแข็งแรง ผอมตัว ซีด กินอาหารไม่ค่อยได้
สาเหตุของโรค
เกิดจากโปรโตซัวในกลุ่ม Opalima sp. Las Balantidium sp.
การรักษา
กินยา Metronidazole ผสมอาหารให้กิน ในอัตรา 3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม ให้ กินติดต่อครั้งละ 3 วัน และเว้นระยะ 3-4 วัน แล้วให้ยาซ้ำอีก 2-3 ครั้ง หรือจนกว่ากบจะมี อาการดีขึ้น และกินอาหารตามปกติ
No comments