กบขุนหรือกบเนื้อ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

กบขุนหรือกบเนื้อ

บทความ > การเลี้ยงกบ
กบขุนหรือกบเนื้อ
บ่อซีเมนต์ที่ใช้เลี้ยงส่วนใหญ่ก็จะเป็น บ่อซีเมนต์ขนาด 3 X 4 เมตร สูง 1.2 เมตร ซึ่งเป็นบ่อที่มีความสะดวกในการจัดการ คือ ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป
ปล่อยลูกกบที่มีอยู่อายุ 1 เดือนเศษๆ ในอัตรา 120–180 ตัว / ตารางเมตร โดยจะ จับกบได้ 200-300 กิโลกรัม/บ่อ

โปรแกรมการให้อาหารกบ
ลูกอ๊อดที่มีอายุ 3-6 วัน ควรให้อาหาร ด้วยไข่ตุ๋นหรืออาหารสัตว์วัยอ่อนโปรตีน 4096 ชนิดผง หรือ เมล็ดผสมน้ำปั้นเป็นก้อนวางกระจายให้ทั่วตามบริเวณที่เลี้ยง
ลูกอ๊อดที่มีอายุ 6-20 วัน ให้อาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน 4096 ชนิดเม็ดลอยน้ำให้กินวันละ 3-4 ครั้ง (ประมาณ 6% ของน้ำหนักตัว/วัน)
กบที่มีอายุ 20 – 40 วันให้อาหารชนิด ลอยน้ำโปรตีน 3796 ซึ่งเป็นอาหารกบเล็กวัน ละ 3 ครั้ง (ประมาณ 5% ของน้ำหนักตัว)
กบที่มีอายุ 40-70 วันให้อาหารชนิด เม็ดลอยน้ำโปรตีน35% ซึ่งเป็นอาหารกบรุ่น ให้กินวันละ 2 ครั้ง (ประมาณ 3-4% ของน้ำ หนักตัว)
กบที่มีอายุ 70 วันจับขาย ให้อาหาร ชนิดเม็ดลอยน้ำ โปรตีน 30% ซึ่งเป็นกบ ขนาดใหญ่ให้กินวันละ 2 ครั้ง (ประมาณ 2-3% ของน้ำหนักตัว)

การจัดการระหว่างการเลี้ยง
การเปลี่ยนถ่ายน้ำ ควรทำความสะอาด ล้างขัดบ่อโดยทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำ วันละ 1-2 ครั้ง

ทำการคัดขนาดของลูกกบให้ได้ขนาด ความโตให้ใกล้เคียงกัน โดยการแยกตัวที่มี ขนาดเล็กออกจากตัวที่โตกว่าและนำไปเลี้ยงคนละบ่อ โดยทำการคัดขนาดอย่างสม่ำเสมอ

ควรมีการจดบันทึกข้อมูลในการเลี้ยง
ระหว่างที่มีการเลี้ยงกบ การจดราย ละเอียดในส่วนต่างๆ ก็มีบทบาท และ ประโยชน์ต่อการเลี้ยงได้เช่นกัน เช่น วันที่ เพาะฟัก ปริมาณและจำนวนกบ/ บ่อ ปริมาณ กบที่ตาย ปริมาณของอาหารที่ให้แต่ละวันปริมาณอาหารที่ให้จำนวนทังหมด ปริมาณกบที่จับได้ทังหมด ขนาดกบที่จับ วันที่จับกบ ฯลฯ

ตลาดกบในปัจจุบัน
เกษตรกรหรือผู้เลี้ยงกบส่วนใหญ่ในประเทศไทย ล้วนแล้วต่างมีความสำเร็จใน อาชีพตัวเองพอสมควร จะมีบางรายที่ไม่ค่อย จะประสบกับความสำเร็จก็มีบ้าง แต่ก็จะน้อย เหตุผลก็เนื่องจากขาดความรู้และ ประสบการณ์ ส่วนผู้ที่มีความสำเร็จในอาชีพ ของตนนั้นส่วนมากจะได้รับการเรียนรู้ เคยผ่านประสบการณ์จากอาชีพการเลี้ยงกบ มาแล้วทั้งนั้น บวกกับเป็นคนที่มีความอดทน และขยัน มีความตั้งใจต่ออาชีพตัวเอง

แหล่งตลาดต่างประเทศส่วนใหญ่ที่ เกษตรกรไทยส่งออกก็คือประเทศฮ่องกง ขนาดกบที่ส่งออกก็จะมีน้ำหนักอย่างน้อย 6-7 ตัว/กิโลกรัม และบางส่วนที่เหลือก็จะจำหน่ายในประเทศ และบริโภคภายในครอบครัว

No comments
Back to content