การเลี้ยงกบในกระชัง - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเลี้ยงกบในกระชัง

บทความ > การเลี้ยงกบ
การเลี้ยงกบในกระชังบก
ปัจจุบันอาชีพการเลี้ยงกบเป็นที่สนใจของเกษตรกรเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะกบเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ใช้เวลาน้อยลงทุนน้อย ดูแล รักษาง่าย และจำหน่ายได้ราคาคุ้มกับการลงทุน โดยเฉพาะในปัจจุบัน มีตลาดต่างประเทศที่ต้องากรสินค้ากบเปิดกว้างมากขึ้น กบนาที่เป็น ผลผลิตของเกษตรกรเมืองไทยจึงมีโอกาสส่งจำหน่ายไปยังต่างประเทศ มากขึ้น เช่นกัน และสาเหตุอีกอย่างหนึ่งมีผู้หันมาเสียงกบกันมากขึ้น  เพราะปริมาณกบที่อยู่ตามแหล่งธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลงทุกที  เนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยของกบถูกเปลี่ยนแปลงเป็นที่อยู่อาศัยของ  มนุษย์ รวมทั้งการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมการใช้สารพิษกำจัดศัตรูพืช การใช้ยากำจัดวัชพืช กำจัดปูนา ล้วนแล้วแต่มีส่วนทำลายพันธุ์กบ ในธรรมชาติให้หมดสิ้นไปแต่ละปี การเลี้ยงกบในกระชังบก เป้นวิธีที่ง่ายอีกวิธีที่ช่วยให้เกษตรกร หรือ ผู้เลี้ยงช่วยประหยัดรายจ่ายในการก่อสร้่างบ่อเลี้ยงกบ

การเลือกสถานที่วางกระชังบนดิน หรือ กระชังบก
1. ควรเป็นที่ที่อยู่ใกล้บ้าน สะดวกต่อการดูแลรักษา และ ป้องกันศัตรูได้
2. เป็นที่สูง ที่ดอน เพื่อป้องกันน้ำท่วม
3. พื้นที่ราบเสมอเสมอกัน สะดวกต่อการสร้างคอกและแอ่งน้ำในคอก
4 ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ
5. ให้ห่างจากถนน เพื่อป้องกันเสียงรบกวน กบจะได้พักผ่อนเต็มที่และโตเร็ว
สถานที่วางกระชังบกเลี้ยงกบ
สถานที่ที่จะทำบ่อเลี้ยงกบ ไม่ว่าจะเป็นสภาพบ่อปูนหรือ คอกเลี้ยง จะต้องไม่ควรอยู่ไกลจากที่อยู่อาศัยมากนัก เพราะศัตรู ของกบมีมาก โดยเฉพาะกบนั้นเมื่อตกใจเพราะมีภัยมา มันจะไม่ ส่งเสียงร้องให้เจ้าของรู้เหมือนสัตว์อื่น ๆ ศัตรูของกบส่วนมากได้แก่ งู นก หนู หมา แมว และที่สำคัญที่สุดได้แก่ คน ดังนั้นถ้าปอเลี้ยง หรือคอกเลี้ยงกบ อยู่ห่างจากที่อยู่อาศัยมาก ก็จะถูกคนขโมยจับกบ ไปขายหมด นกนั้นมีทั้งกลางวันและกลางคืน นกกลางคืนโดยเฉพาะ นกเค้าแมวสามารถลงไปอยู่ปะปนและจับกบกินอย่างง่ายดาย นับว่ามีส่วนทำลายกบมากเพราะถึงแม้มันจะจับกบกินเพียงตัวเดียว แล้วก็อิ่ม แต่เมื่ออิ่มแล้วมันยังจับกบตัวอื่นๆ มาหยอกเส้น และ ทำให้กบตายในที่สุด

การดูแลและเลี้ยงกบในกระชังเต็มวัยจนเป็นกบโต
ลูกอ๊อดเจริญเติบโตเป็นกบเต็มวัยแล้ว มันจะขึ้นจากน้ำไป อาศัยอยู่บนบกหรือวัสดุอื่นๆ ที่ลอยน้ำ เมื่อคัดขนาดนำไปเลี้ยงในบ่อ แล้วต้องเตรียมอาหารให้ถ้าเป็น ลูกอ๊อด ที่เคยให้อาหารเม็ดกินแต่แรก ก็สามารถให้อาหารเม็ดดังกล่าวกินได้ต่อไป แต่ถ้าหากเป็นลูกกบที่ ไม่เคยได้รับการฝึกมาก่อน ก็ต้องมีการฝึกการกินอาหารเม็ดใน ขั้นต่อไป เพราะโดยธรรมชาติลูกกบจะกินอาหารเป็นสิ่งที่มีชีวิต เช่น แมลง ไส้เดือน ปลวก หนอน ลูกปลา ลูกกุ้ง ฯลฯ แต่การเลี้ยง กบนั้นไม่สามารถที่จะหาอาหารสิ่งมีชีวิตดังกล่าวให้ได้โดยตลอด เพราะอาหารหลักคือ เนื้อปลา เกษตรกรจึงต้องใช้วิธีการฝึกให้ลูกกบ กินปลา โดยการเพาะหนอนแล้วนำไปใส่ในกองปลาสับที่อยู่ในถาด ให้อาหาร หนอนจะชอนไชอยู่ในกองปลาสับลูกกบจะเข้ามากินหนอน แต่ก็ติดปลาสับเข้าไปด้วย พอวันที่สองใส่หนอนลงบนกองปลาสับ น้อยกว่าวันแรก วันที่ 3 และวันที่ 4 ก็เช่นเดียวกัน คือลดจำนวน หนอนลงเรื่อยๆ ขณะเดียวกันก็เพิ่มปริมาณปลาสับมากขึ้น จนวันที่ 5 บนถาดอาหารจะมีเฉพาะกองปลาสับเพียงอย่างเดียว ลูกกบก็เข้ามากินปลาสับตามปกติและเมื่อลูกกบมีขนาดโตขึ้น อาหารปลาสับละเอียดก็เปลี่ยนเป็นชิ้นเล็กๆ และมีเพิ่มขนาดขึ้น ตามขนาดของปากกบ หรือเมื่อกบโตเต็มที่ก็อาจจะโยนปลาที่มี ขนาดพอเหมาะกับปากให้ทั้งตัวก็ได้ 5 ปริมาณการแลกอาหารเปลี่ยนเป็นเนื้อกบ 3.4 : 1 สำหรับลูกกบที่จับตามธรรมชาติแล้วนำมาเลี้ยง รวมในบ่อเป็นเวลา 1-2 วัน จึงเริ่มให้อาการกบ ลูกกบเหล่านี้เคย กินอาหารตามธรรมชาติมาแล้ว และเมื่อปล่อยเลี้ยงใหม่ๆ ยังเหนื่อย และตื่นกับสภาพแวดล้อมใหม่ จึงไม่สนใจกับการกินอาหาร และถ้า ผู้เลี้ยงจะไม่ฝึกให้กินหนอนร่วมกับปลาบด โดยให้ปลาบดหรือปลาสับ อย่างเดียวโยนให้กินพอแต่น้อยๆ ก่อน ซึ่งกบจะกินเพราะความหิว ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้า 07.00 น. และตอนเย็น 17.00 น. ปริมาณให้อาหารในอัตรา 10% ของน้ำหนักตัว คือ ถ้าปล่อยกบลง เลี้ยงมีน้ำหนักรวม 100 กก. ก็จะให้อาหารวันละ 10 กก. แบ่งออก เป็น 2 เวลาดังกล่าว หลังจากเลี้ยงได้นาน 2 อาทิตย์ ลูกกบก็จะเริ่ม ชินกับอาหาร และ เมื่อกบโตขึ้น ก็เปลี่ยนเป็นปลาหั่นเป็นชิ้นๆ หรือ โยนปลาให้ทั้งตัวเมื่อปลามีขนาดพอๆ กับปากกบ

อัตราการให้อาหารที่เลี้ยงในกระชังบก
ขนาด 4 x 4 เมตร ปล่อยกบ 1,000 ตัว ให้อาหารดังนี้ กบ
อายุ 50 วัน ให้อาหารสด 400 กรัม/วัน กบอายุ 60 วัน ให้อาหารสด 600 กรัม/วัน
กบอายุ 90 วัน ให้อาหารสด 1.5 ก.ก/วัน กบอายุ 120 วัน ให้อาหารสด 3 ก.ก./วัน
กบอายุ 150 วัน ให้อาหารสด 4 ก.ก./วัน
ในการเลี้ยงกบในกระชัง จำเป็นต้องคอยคัดขนาดของกบให้มีขนาดเท่าๆ กัน ลงเลี้ยงในบ่อเดียวกัน มิฉะนั้น กบใหญ่จะรังแกและกินกบเล็กซึ่งจะทำให้ต้องตายทังคู่ ทั้งตัวทีถูกกินและตัวทีกินครั้งเดียวให้หมดบ่อจะต้องใช้ผู้จับหลายคนลงไปในบ่อเลี้ยงที่มีสภาพ * โคลนตมและต้องเก็บพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ขึ้นให้หมดก่อน - จึงต้องใช้เวลาและแรงงานมากที่จะเที่ยวไล่จับกบในที่หลบซ่อนให้หมดในครั้งเดียว

ต้นทุนการเลี้ยงกบในกระชัง
ปัจจุบันการเลี้ยงกบนาก็ยังเป็นที่สนใจของคนทั่วไปเนื่อง จากกบนาเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ใช้น้ำน้อย และใช้พื้นที่การเลี้ยงไม่มาก สามารถเลี้ยงได้ทั้งใน กระชังบก ขนาดเล็ก2-6 ตารางเมตร ซึ่งสามารถเลี้ยงกบได้ประมาณ 200-400 ตัว/บ่อ ใช้เวลาในการเลี้ยง 3-4 เดือน ใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปจะได้กบที่มี ขนาดประมาณ 200-250 กรัม/ตัว ซึ่งเป็นขนาดที่สามารถจับขายได้ต้นทุนปัจจุบันจะอยู่ที่ประมาณ 30-35 บาทต่อกิโลกรัม
ราคากบที่ขายอยู่ในท้องตลาดประมาณราคาเดียวกันกับเนื้อหมู ซึ่งเขียนเห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะส่งเสริมให้เลี้ยงประชนชนเลี้ยงกบในกระชังบก ไว้บริโภคในครัวเรียน สามารถลดค่าใช่จ่ายภายได้บ้านได้
กระชังบนดิน
Back to content