การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์

บทความ > การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย > การเพาะพันธู์ปลดดุกบิ๊กอุย
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์
การเพาะพันธุ์โดยวิธีผสมเทียม เพื่อให้ได้ปลาดุกลูกผสมบิ๊กอุย ถ้าเป็นไปได้ผู้ทำการเพาะพันธุ์ควรเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ไว้เองจะดีที่สุด ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการคัดเลือกปลาที่มีลักษณะดีจริงๆไว้ใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ และสามารถหาพ่อแม่พันธุ์ได้ตามจำนวนที่ต้องการสะดวกต่อการวางแผนการเพาะ อย่างไรก็ตามในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์นั้นไม่จำเป็นต้องเริ่มเลี้ยงตั้งแต่ยังเป็นปลาขนาดเล็ก โดยอาจจะคัดปลาที่เจริญพันธุ์แล้วมา ปล่อยลงเลี้ยงสักระยะหนึ่ง เมื่อปลามีความสมบูรณ์เพศก็สามารถคัดเลือกไปใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้ แต่ในกรณีที่ทำการเพาะพันธุ์ปลา จำนวนไม่มากหรือไม่มีพื้นที่สำหรับขุดบ่อเพื่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ก็ควรพิจารณาเลือกชื่อพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งจำหน่ายที่เชื่อถือได้ โดยคัดเลือกเอาเฉพาะพ่อแม่ปลาที่มีลักษณะดีจริงๆมาใช้เพาะพันธุ์

1.บ่อเลี้ยง บ่อสำหรับใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ควรเป็นบ่อดินที่มีขนาดตั้งแต่ 100 ตารางเมตรขึ้นไป ลึกประมาณ 1-1.5 เมตรไม่ควรใช้บ่อที่มีขนาดใหญ่เกินไป เพราะการดูแลจะทำได้ลำบาก

ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงต้องทำการเตรียมบ่อ โดยการสูบน้ำออกจับปลาและสัตว์อื่นๆ ที่เป็นศัตรูปลาออกให้หมด ถางหญ้า และกำจัดวัชพืชน้ำ พร้อมกับตบแต่งคันบ่อให้เรียบร้อย จากนั้นลอกเลนออกแล้วโรยด้วยปูนขาวให้ทั่วพื้นก้นบ่อ เพื่อลดสภาพความเป็นกรด ตากบ่อให้แห้ง 3-5 วัน แล้วสูบน้ำเข้าบ่อทิ้งไว้ 1 วัน เพื่อให้น้ำตกตะกอน หลังจากนั้นจึงปล่อยปลาลงเลี้ยงได้

2. อัตราการปล่อย โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในอัตรา 10-20 ตัวต่อตารางเมตร ถ้าปล่อยในอัตราที่แน่นเกินไปปลาจะเครียด เจริญเติบโตช้า และมีระบบสืบพันธุ์ไม่สมบูรณ์ ทำให้ไข่และน้ำเชื้อเจริญไม่ดี ซึ่งปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงในบ่อเพื่อใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์นั้น ส่วนมากมักใช้ปลาที่มีขนาดน้ำหนัก 200 กรัมขึ้นไป โดยคัดเอาปลาที่โตเร็วกว่าตัวอื่นๆ ในรุ่นเดียวกัน

ก่อนปล่อยปลาควรแช่ปลาในน้ำยาเหลืองเจือจาง (ยาเหลือง 3 กรัมต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร) ผสมกับเกลือแกง 5 เปอร์เซ็นต์ หรือ ใช้เกลือเพียงอย่างเดียว ยาจะช่วยรักษาแผลที่เกิดจากการตีอวนและลำเลียง ส่วนเหลือจะช่วยลดความเครียดของปลา

3. การให้อาหาร อาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ควรเป็นอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำที่มีคุณภาพ ควรให้มีระดับโปรตีน ไม่ต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ โดยให้อาหารในอัตรา 1-3 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัว ในช่วง 2-3 วันแรกปลาอาจยังตื่นเพราะยังไม่ชิ้นกับที่อาศัยแห่งใหม่ ทำให้ปลาไม่ค่อยกินอาหาร ขณะให้อาหารจะต้องสังเกตด้วยว่าปลากินอาหารหมดหรือไม่ ถ้าปลากินอาหารไม่หมด การให้อาหารในครั้งต่อไปก็ควรลดปริมาณลง ต้องระวังอย่าให้อาหารเหลือตกค้างอยู่ในบ่อ เพราะจะเป็นสาเหตุทำให้น้ำในบ่อเน่าเสียได้ง่าย

หลังจากเลี้ยงปลาพ่อแม่พันธุ์ไปได้ประมาณ 10 วัน ควรสุ่มจับปลาขึ้นมาตรวจดูว่าอ้วนหรือผอมเกินไปหรือไม่ ถ้าปลาอ้วนเกินไปไขมันจะไปแย่งพื้นที่การเจริญเติบโตของไข่และถุงน้ำเชื้อ จึงควรลดปริมาณอาหารให้น้อยลง

4. การถ่ายเทน้ำ ในช่วงแรกของการเลี้ยงถ้าควบคุมการให้อาหารได้ดีก็ไม่จำเป็นต้องถ่ายน้ำ เพียงแต่เติมน้ำดีเข้าในบ่อ เพื่อรักษาระดับน้ำไว้ก็เพียงพอแล้ว ก่อนถึงฤดูเพาะพันธุ์ควรมีการถ่ายน้ำในบ่อสัปดาห์ละครั้ง โดยถ่ายประมาณครึ่งบ่อ แต่ถ้าความหนาแน่นของปลาในบ่อมีน้อยมากอาจไม่ต้องถ่ายน้ำเลยก็ได้ แต่จะต้องคอยสังเกตดูอย่าให้น้ำเสีย ถ้าเกิดน้ำเสียก็ควรถ่ายน้ำทันทีเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามการได้ถ่ายเทน้ำในบ่อบ่อยๆจะช่วยกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้ดีขึ้น และยังส่งผลให้ปลาพัฒนาระบบสืบพันธุ์ถึงวัยเจริญพันธุ์ได้เร็วขึ้น และให้ไข่และนำเชื้อที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

No comments
Back to content