การเก็บรักษาต่อมใต้สมอง - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเก็บรักษาต่อมใต้สมอง

บทความ > การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย > การเพาะพันธู์ปลดดุกบิ๊กอุย > ชนิดของฮอร์โมนและอัตราการใช้ > ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
การเก็บรักษาต่อมใต้สมอง
การเก็บรักษาต่อมใต้สมองไว้ใช้ในครั้งต่อไป โดยการใส่ต่อมไว้ในขวดเล็กๆ ที่ใส่แอลกอฮอล์ขาวหรือน้ำยาอะซีโตน แช่ไว้ ประมาณ 10 ชั่วโมง แล้วเปลี่ยนน้ำยาใหม่ ปิดฝาขวดให้มิดชิด จากนั้นก็สามารถเก็บไว้ได้นาน โดยเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาไม่ให้ถูกแสงแดด ในการเก็บรักษาต่อมควรจดรายละเอียดเกี่ยวกับต่อมปลาไว้ด้วย ได้แก่ ชื่อปลา น้ำหนัก วันเดือนปีที่เก็บ โดยใช้ ดินสอดำจดลงในกระดาษแผ่นเล็กๆ ใส่ไว้ในขวด

การคำนวณปริมาณฮอร์โมน การใช้ฮอร์โมนต่อมใต้สมองฉีดเร่งให้แม่ปลาไข่แก่และกระตุ้นให้พ่อปลาสร้างน้ำเชื้อได้มากขึ้น จะต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่เป็นอันตรายต่อพ่อแม่ปลา ปริมาณการใช้ต่อมใต้สมองปัจจุบัน ใช้วิธีเปรียบเทียบน้ำหนักของปลาที่จะฉีดกับน้ำหนักของปลาที่เก็บต่อมมา โดยกำหนดหน่วยขึ้นมาเรียกว่า  “โดส (Dose)” โดยถือว่า โดส คือ น้ำหนักปลาที่เก็บต่อมมาเท่ากับน้ำหนักของปลาที่จะฉีด เช่น แม่ปลาดุกอุยหนัก 300 กรัม ได้รับการฉีดสารละลายต่อมใต้สมองจากปลาที่มีน้ำหนัก 300 กรัม จนหมดสารละลาย แสดงว่าแม่ปลาดุกอุยได้รับการฉีดฮอร์โมนครบ 1 โดส หรือถ้าแม่ปลาดุกอุย หนัก 300 กรัม แต่ได้รับการฉีดสารละลายต่อมใต้สมองจากปลาที่มีน้ำหนัก 600 กรัม จนหมดสารละลาย แสดงว่าแม่ปลาดุกอุยได้รับการฉีดฮอร์โมน 2 โดส โดยสรุปเป็นสูตรการคำนวณได้ดังนี้

โดส = น้ำหนักปลาที่เก็บต่อมใต้สมอง ÷ น้ำหนักปลาที่จะฉีดฮอร์โมน

อัตราการใช้ต่อมใต้สมอง

การฉีดฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองให้แม่ปลาดุกอุยมีไข่แก่พร้อมที่จะรีดผสมกับน้ำเชื้อ จะต้องทำการฉีด 2 ครั้ง ครั้งแรกฉีดระดับความเข้มข้น 1 โดส แล้วทิ้งระยะห่างไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง จึงทำการฉีดในครั้งที่สองที่ระดับความเข้มข้น 2 โดส หลังจากฉีดครั้งที่สองเป็นเวลาประมาณ 9-10 ชั่วโมง เมื่อสังเกตเห็นว่ามีไข่ตกออกมาจากช่องท้องของแม่ปลา บางตัวแล้วจึงสามารถนำไปรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อได้ การใช้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองฉีดเร่งให้แม่ปลาวางไข่นี้อาจใช้ร่วมกับฮอร์โมนสกัด (HCG) ได้ เพื่อให้การรีดไข่สะดวกขึ้น โดยใส่ฮอร์โมนสกัดในระดับความเข้มข้น 100-300 ไอยูต่อแม่ปลาหนัก 1 กิโลกรัม ร่วมกับการใช้ต่อมใต้สมองฉีดให้กับแม่ปลาในเข็มที่สอง

สำหรับพ่อพันธุ์ปลาดุกเทศสามารถกระตุ้นให้มีน้ำเชื้อมาก ขึ้นโดยใช้ต่อมใต้สมองในระดับความเข้มข้น 0.5 โดส ฉีดให้กับ พ่อปลาพร้อมกับการฉีดฮอร์โมนให้กับแม่ปลาในเข็มที่สอง หรือ ก่อนผ่าท้องเอาน้ำเชื้อประมาณ 9-10 ชั่วโมง
แม่ปลาดุกอุย พอปลาดุกเทศ
เข็มที่1 ฉีดเข็มเดียว
1โดส 0.5 โดส
เว้นระยะ 6 ชั่วโมง เว้นระยะ 9-10 ชั่วโมง
เข็มที่2 ผ่า
2 โดส
เว้นระยะ 9 ชั่วโมง
รีด

สำหรับข้อควรระวังในการใช้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองก็คือ ประสิทธิภาพของฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองปลามักจะมีความแปรปรวนค่อนข้างสูง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการบันทึกข้อมูลของน้ำหนักปลาที่จะเก็บต่อม และขั้นตอนการเก็บต่อมใต้สมอง ดังนั้นการบันทึกข้อมูลของน้ำหนักปลาที่เก็บต่อมควรจะกระทำด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง ในทางปฏิบัติแล้วควรแยกต่อมใต้สมองเก็บไว้เป็นชุดๆ ตามขนาดของปลา เพื่อให้ง่ายต่อการเลือกใช้ต่อมและไม่ผิดพลาด

นอกจากนี้การทำความสะอาดต่อมให้ปราศจากเลือดหรือเมือกปลา ก็จะช่วยลดการสูญเสียประสิทธิภาพของต่อมใต้สมองได้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้เพราะน้ำยาอะซีโตน(acetone) ซึ่งเป็นน้ำยาที่ใช้สำหรับดองต่อมใต้สมองเพื่อเก็บไว้ใช้นานๆจะดูดน้ำออกจากเนื้อเยื่อต่อมใต้สมองที่สะอาดได้เร็วกว่าจากต่อมที่มีสิ่งสกปรกเคลือบอยู่ ซึ่งจะทำให้อายุการใช้ของต่อมใต้สมองนั้นนานขึ้น





No comments
Back to content