องค์ประกอบของฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย(ต่อ) - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

องค์ประกอบของฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย(ต่อ)

บทความ > การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย > การเพาะพันธู์ปลดดุกบิ๊กอุย > องค์ประกอบของฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย
1.4 บ่ออนุบาล บ่ออนุบาลอาจใช้บ่อคอนกรีตหรือบ่อดินก็ได้ บ่อดินไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไป เพราะจะดูแลยากควรมี ขนาดประมาณ 200-800 ตารางเมตร ลักษณะบ่อควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก้นบ่อเรียบและลาดลงมาหาท่อระบายน้ำออกเล็กน้อย สำหรับบ่อคอนกรีตนั้นอาจใช้บ่อชุดเดียวกับบ่อฟักไข่ก็ได้ และจะเป็นผลดีเพราะไม่ต้องย้ายลูกปลา ลูกปลาจะไม่บอบช้ำ ส่วนจำนวนบ่ออนุบาลจะมีกี่บ่อนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนลูกปลาที่ผลิตแต่ละครั้ง ซึ่งบ่อขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 3 เมตร สามารถอนุบาล ลูกปลาได้ประมาณ 5,000 ตัว นอกจากนี้อาจใช้ถังส้วมมาดัดแปลงทำเป็นบ่อก็ได้ เช่นกัน อย่างไรก็ตามหากจะไม่อนุบาลลูกปลาเอง บ่ออนุบาลก็ไม่จำเป็นต้องมี

1.5 บ่อพักน้ำ น้ำที่จะนำมาใช้ภายในโรงเพาะฟักจำเป็นจะต้องพักไว้ก่อนเสมอ ทั้งนี้เพื่อปรับคุณสมบัติของน้ำให้เหมาะสม ก่อนนำไปใช้ซึ่งบ่อพักน้ำอาจจะสร้างเป็นถังทรงสูงเพื่อจะช่วยประหยัดพื้นที่ อีกทั้งยังทำให้น้ำมีแรงดันพอที่จะทำกิจกรรมต่างๆในโรงเพาะฟักได้โดยสะดวก จากถังพักน้ำจะมีท่อน้ำส่งไปยังบ่อต่างๆ ภายในโรงเพาะฟัก รวมทั้งอุปกรณ์ฟักไข่

สำหรับขนาดของถังพักน้ำนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่ใช้ในโรงเพาะฟักในแต่ละวัน โดยบ่อพักน้ำควรมีความจุน้ำประมาณ 2 เท่าของบ่อทั้งหมดที่อยู่ในโรงเพาะฟัก

1.6 ระบบให้อากาศในโรงเพาะฟัก ระบบการให้อากาศเป็นสิ่งจำเป็นในโรงเพาะฟัก เพราะนอกจากจะเป็นการป้องกันการขาดออกซิเจนแล้ว การมีปริมาณก๊าซออกซิเจนที่สูงจะช่วยลดพิษของแอมโมเนียลงได้ด้วย ซึ่งระบบการให้อากาศในโรงเพาะฟักประกอบด้วยเครื่องเป่าลม ท่อลมทำด้วยท่อเอสล่อน วาล์วเปิดปิดท่อพลาสติก และหัวทราย

การเดินท่อระบบให้อากาศภายในโรงเพาะฟัก เริ่มจากเครื่องเป่าลมแล้วต่อท่อเอสล่อนไปยังจุดต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ลม โดยวางท่อนี้ให้อยู่ในระดับสูงเหนือศีรษะเพื่อความสะดวกในการทำงาน จากนั้นก็ต่อท่อพลาสติกแยกไปตามบ่อต่างๆ เช่น บ่อ ฟักไข่ และบ่ออนุบาล โดยมีวาล์วควบคุม ส่วนปลายด้านที่จะใส่ลงในบ่อใช้หัวทรายสวมไว้ เพื่อให้ลมกระจายดีและเพื่อถ่วงปลายท่อพลาสติกให้จมด้วย สำหรับโรงเพาะฟักขนาดกลางให้ใช้เครื่องเป่าลมขนาด 1-1.5 แรงม้าก็เพียงพอแล้ว

2. บ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ เป็นบ่อลักษณะเดียวกับบ่อใช้เลี้ยงปลาดุกทั่วไป แต่ไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไป เพราะจะทำให้การดูแลและการจับปลาทำได้ลำบาก บ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ควรเป็นบ่อดินขนาดตั้งแต่ 100 ตารางเมตรขึ้นไป ลึกประมาณ 1-1.5 เมตร ถ้าเป็นไปได้ควรมีบ่อแยกเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ 2 บ่อ เพื่อที่จะสามารถจับปลาสลับกันไปมาได้และไม่เป็นการรบกวนปลาบ่อยเกินไป บ่อสำหรับเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ควรจะอยู่ในที่โล่งและเงียบสงบ หากอยู่ใกล้โรงเพาะฟักก็จะทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์นี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ ถ้าหากใช้พ่อแม่พันธุ์ที่ซื้อโดยตรงมาจากแหล่งอื่น

No comments
Back to content