องค์ประกอบของฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย
บทความ > การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย > การเพาะพันธู์ปลดดุกบิ๊กอุย > องค์ประกอบของฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย
องค์ประกอบของฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย
องค์ประกอบที่สำคัญของฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุยนั้น สามารถแยกออกเป็นส่วนต่างๆได้ดังนี้
1. โรงเพาะฟัก โรงเพาะฟักเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรกในการเพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีผสมเทียม เนื่องจากเป็นบริเวณที่ต้องใช้ ดำเนินกิจกรรมแทบทุกอย่างในการเพาะพันธุ์ โดยเริ่มตั้งแต่ใช้เป็นที่พักพ่อแม่พันธุ์ เป็นที่ฉีดฮอร์โมน รีดไข่แม่ปลา ผ่าท้องพ่อพันธุ์ เพื่อเอาถุงน้ำเชื้อ ฟักไข่ และในบางโอกาสอาจใช้เป็นที่อนุบาลลูกปลาวัยอ่อนด้วย โดยทั่วไปโรงเพาะฟักมีลักษณะเป็นโรงเรือน หลังคาทึบ สามารถกันแดดกันฝนได้ ด้านข้างปล่อยโล่งหรือบุด้วยตาข่ายหรือไม้ระแนง ซึ่งภายในโรงเพาะฟักประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1.1 บ่อพักพ่อแม่พันธุ์ บ่อสำหรับพักพ่อแม่พันธุ์มีไว้สำหรับขังพ่อแม่พันธุ์ในระยะก่อนนำมาฉีดฮอร์โมนและภายหลังฉีดฮอร์โมนแล้ว เพื่อรอการรีดไข่และผ่าเอาถุงน้ำเชื้อ ดังนั้นควรมีอย่างน้อย 2 บ่อ คือ ใช้ขังพ่อพันธุ์ 1 บ่อ และขังแม่พันธุ์ 1 บ่อ
บ่อพักพ่อแม่พันธุ์ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่มากนัก เพราะปลาดุกสามารถขังแบบหนาแน่นได้ โดยมากมักสร้างด้วยคอนกรีตไว้อย่างถาวร ฉาบผิวเรียบ พื้นลาดเทเล็กน้อย ควรสร้างให้อยู่
ใกล้กับบริเวณที่ฉีดฮอร์โมนและบ่อฟักไข่ เพื่อความสะดวกในการทำงาน ซึ่งบ่อขนาด 1 ตารางเมตรสามารถขังแม่พันธุ์ปลาดุกอุยได้ประมาณ 30-40 ตัว ส่วนพ่อพันธุ์ปลาดุกเทศควรขังให้มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ โดยใส่น้ำน้อยๆ เพราะหากใส่น้ำมากปลาจะกัดกัน การป้องกันปลากัดกันอีกวิธีหนึ่งก็คือ ไม่ใส่น้ำในบ่อแต่จะปล่อยน้ำเข้าและออกไหลผ่านตัวปลาตลอดเวลา สำหรับกรณีที่ทำการเพาะพันธุ์ปลาจำนวนไม่มากนัก อาจใช้ภาชนะขนาดใหญ่ เช่น กะละมังหรือถังลำเลียงปลาแทนก็ได้ ช่วยให้ทำงานสะดวกขึ้นเพราะสามารถเคลื่อนย้ายได้
1.2 บริเวณที่ฉีดฮอร์โมนและผสมเทียม จะใช้เนื้อที่ไม่มากนักเพื่อสำหรับวางโต๊ะขนาดยาว 1 เมตร กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร เมื่อวางโต๊ะแล้วผู้ฉีดและผู้ช่วยจะสามารถเดินไปมารอบโต๊ะได้เพื่อทำงานได้สะดวก โต๊ะนี้หากได้ออกแบบไว้เป็นพิเศษ จะช่วยให้ทำงานได้สะดวกขึ้น โดยทำเป็นโต๊ะ 2 ชั้น ด้านล่างทำ เป็นช่องสำหรับวางกะละมังที่ใช้ในการรีดไข่ได้ 2 ใบ ตรงกลางมี ช่องสำหรับใส่ผ้าขาวบาง ขนไก่และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ เมื่อจะ ใช้งานเป็นโต๊ะรองฉีดฮอร์โมนก็เพียงแต่น้ำไม้กระดานมาวางปิดไว้ ก็สามารถใช้ทำงานได้อย่างสะดวก
1.3 บ่อฟักไข่ บ่อฟักไข่นิยมทำเป็นบ่อคอนกรีตสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 3 เมตร สูงประมาณ 30-60 เซนติเมตร พื้นก้นบ่อควรมีความลาดเอียงเล็กน้อย บ่อพักจะต้องมีระบบการถ่ายเทน้ำที่ดี โดยมีทางน้ำเข้าและทางน้ำออก ทางน้ำเข้าอาจใช้ท่อประปา ท่อพีวีซี หรือใช้สายยางแทนก็ได้ ส่วนทางน้ำออกควรทำเป็นท่อน้ำล้นเพื่อความสะดวกในการระบายน้ำ และ
ท่อน้ำออกต้องมีตะแกรงตาถี่หรือกรวยบุด้วยผ้าไนล่อนกันที่ปากท่อด้านใน เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกปลาเล็ดลอดออกไปตามน้ำ
เมื่อต้องการใช้บ่อเพื่อฟักไข่ จึงนำผ้าไนล่อนเขียวขนาดตา 18-20 ช่องต่อตารางนิ้วมาขึงให้ตึงอยู่ในบ่อฟัก โดยขึงให้อยู่ใต้ ระดับผิวน้ำประมาณ 5 เซนติเมตร เพื่อใช้เป็นวัสดุให้ไข่ติด ซึ่งบ่อฟักขนาดดังกล่าวนี้สามารถฟักไข่ปลาดุกอุยได้ประมาณ 9 ตัว ส่วนกรณีที่ทำการเพาะโดยใช้แม่ปลาจำนวนไม่กี่ตัว ก็สามารถใช้กะละมังขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30-40 เซนติเมตร แทนบ่อคอนกรีตได้เช่นกัน แต่จะต้องจัดระบบการถ่ายเทน้ำให้ดี โดยให้มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลา
(มีต่อ)
No comments