สูตรอาหาร
บทความ > กบฝ่าวิกฤต
ส่วนผสมของวัตถุดิบ (%) ในสูตรอาหารที่ใช้โปรตีนข้าวโพด ทดแทนปลาป่นเลี้ยงกบนาในกระชัง
ชนิดวัตถุดิบ
ปริมาณ(%)
ปลาป่น
26
กากถั่วเหลือง
22
โปรตีนข้าวโพด
20
ปลาข้าว
14
สารเหนียว
7
กากน้ำตาล
2
ยีสต์
0.1
แป้งหมาก
0.025
น้ำมันปลา
1.8
น้ำมันพืช
1
น้ำมันหมู
2.2
แกลบ
3.875
วิธีการหมักโปรตีนข้าวโพด นำโปรตีนข้าวโพด กากน้ำตาล ยีสต์ และแป้งหมาก มาผสมรวมกัน ใส่น้ำจนสามารถกวนได้สะดวก ทำการกวนอาหารทุกๆ 1 ชั่วโมงจนครบ 12 ชั่วโมง แล้วทิ้งไว้อีก 12 ชั่วโมง จึงนำมาผสมกับวัตถุดิบที่เหลือ ไป แล้วนำไปทำการอัดเม็ดด้วยเครื่องทำอาหาร จะได้อาหารที่มีลักษณะเป็นเส้นยาว
นำอาหารไปอบให้แห้งด้วยเครื่องอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 – 12 ชั่วโมง อาหารแห้งที่ได้มาต้องนำมาหักเป็นท่อนสั้นๆ ก่อนเก็บใส่ถุงพลาสติก นำไปเก็บรักษา โดยการแช่แข็งที่อุณหภูมิ –20 องศาเซลเซียส จนกว่าจะนำไปใช้เลี้ยงกบ
สูตรนี้ท่านอาจจะเพิ่มวิตามินและแร่ธาตุรวมเข้าไปด้วยที่ได้
3. การเพิ่มคุณค่าอาหารกบนา มีรายงานว่าการใส่ยีสต์มีชีวิตในอาหารสัตว์ จะช่วยสร้างความเจริญเติบโต เพิ่มจำนวนเซลล์ในกระเพาะอาหารและระบบทางเดินอาหารสัตว์ได้ มีผลการทดลองเลี้ยงกบด้วยอาหารเสริมยีสต์ 4% กบมีอัตรา การเจริญเติบโตดีที่สุดประสิทธิภาพของโปรตีน ประสิทธิภาพของอาหาร และอัตราแลกเนื้อดี
ส่วนประกอบของอาหารกบนาที่เสริมยีสต์ระดับ 4 เปอร์เซ็นต์
วัตถุดิบอาหาร(เปอร์เซ็นต์)
ปริมาณ(%)
ปลาป่น
35
กากถั่วเหลือง
9.5
ปลายข้าว
25
รำละเอียด
6
สารเหนียว
6
น้ำมันถั่วเหลือง
1
น้ำมันปลาทะเล
2
น้ำมันปาล์ม
2.5
ยีสต์(Saccharomyces cerevisiae)
4
วิตามินและแร่ธาตุรวม
2
วิตามินซี
0.1
แกลบบดละเอียด
3.875
รวม
100
วิธีการเตรียมอาหาร นำส่วนประกอบของอาหารกบตามตารางมาผสมให้เข้า กัน แล้วเติมน้ำประมาณ 30% ของน้ำหนักอาหาร จากนั้นนำมาอัดเม็ดด้วยเครื่องบดเนื้อที่มีรูหน้าแว่นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร อาหารที่ได้มีลักษณะเป็นเส้นยาว ให้นำมาผึ่งลมให้แห้ง และหักเป็นท่อนๆ นำไปใช้เลี้ยงกบได้เลย
นอกจากนี้ยังมีการศึกษารูปแบบและอาหารที่เหมาะสม สำหรับการผลิตกบนา เพื่อเป็นอาหารปลอดภัยและประโยชน์อย่างยังยืน โดย อาจารย์ ณัฎฐกานต์ มุกดาจตุพักตร์ อาจารย์ชนกันต์ จิตมนัส และ อาจารย์จงกล พรมยะ จากคณะ เทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ ได้แบ่งการ
ศึกษาออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. การศึกษาผลของอาหารเสริมสาหร่ายสไปรูสิน่า
2. การศึกษาผลของอาหารเสริมกระเทียม
มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต อัตราการรอด อัตราการแลกเนื้อของกบนา โดยการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงกบ แบบบ่อวงรองปูนกลมหรือบ่อรองซีเมนต์ ได้ทำการทดลองเลี้ยงกบบ่อวงรองเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร 60 เซนติเมตร ปล่อยลูกกบนา 30 ตัวต่อบ่อ น้ำหนักเริ่มต้นตัวละ 9 กรัม ระยะเวลาในการทดลอง 90 วัน
ผลการทดลองพบว่า กบที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมสาหร่ายสไปรูลิน่า 5% มีน้ำหนักเพิ่มมากที่สุด รองลงมาคือกบที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมสาหร่ายไก 5% และอาหารที่ผสมกระเทียม 5% อัตราการแลกเนื้อของกบที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมกระเทียม 5% มีอัตราการแลกเนื้อดีที่สุด
No comments