โรคเล็ปโตสไปโรซิส - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

โรคเล็ปโตสไปโรซิส

บทความ > กบฝ่าวิกฤต
โรคเล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) โรคนี้อาการไม่เด่นชัด กบจะเบื่ออาหาร บ่นอยากตาย ซึมเหงอยแล้วก็รีบตาย เล่นเอาคนเลี้ยงเจ้าของฟาร์มถึงกับเหงื่อตกกันเลยทีเดียว เพราะหนี้เก่าก็ยังใช้ไม่หมด หนี้อาหารกบรุ่นใหม่ก็ตามมาอีก ธกส. ก็ ทวงถาม บัตรเครดิตก็เต็มวงเงิน กบดันมาเบื้อโลกบ่นอยากตาย ๆ แล้วก็รีบตายซะอีก หมอกบบอกว่า ไตมันอักเสบรักษาไม่ได้
ชั่วโมง
โรคชาโปรเลกเนีย (Saprollegnia) พบทั่วไปในน้ำ มักเกิดที่ผิวหนังกบโดย เฉพาะบริเวณที่มีบาดแผลหรือติดเชื้อแบคทีเรียอยู่ก่อนแล้ว จะเห็นเป็นฝ้าขุ่ยสีขาว บนผิวหนังกบ

การรักษาให้นำกบไปแช่ในน้ำต่างทับทิมเข้มข้น 1 : 5,000 นาน 5 นาที แล้วเอาขึ้น หรือ แช่ในน้ำมาลาไคท์กรีน 1 : 15,000 นาน 15 นาที วันละครั้งติดต่อกัน 2 – 3 วัน

โรคไรโซปัส (Rhizopus) ผิวหนังของกบจะเปื่อยและหลุดลอก มีสายใยของเชื้อรากระจายที่บาดแผลบนผิวหนัง ปอด ตับ ม้าม ไต และกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อพบให้นำกบไปแช่น้ำในสารละลายซัลฟาไดอาซีน ขนาด 132 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวกบ 1 กก. วันละครั้งติดต่อกัน 6 อาทิตย์ หรือจนกว่าจะหาย

โรคเกิดจากพยาธิ ได้แก่
โพรโทซัว (Protozoa) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ได้แก่
อะมีบีเอซิส (Amebiasis) กบจะถ่ายเป็นมูก อาจมีเลือดปน มีจุดเนื้อตาย ในตับ และผนังลำไส้ ผิวลำไส้หลุดออก การรักษาผสมเมโทรนิดาโซลขนาด 150 มิลลิกรัมต่อกบ 1 กก. ในอาหารให้กบกิน

ค็อกซิดิโอซิส (coccidiosis) เป็นเชื้อตระกูลไอโซสปอร่า (Isopora Spp.) กบจะถ่ายเป็นมูกเลือดมีเลือดปน ผิวหนังลำไส้มีเลือดออกการรักษาใช้ซัลฟาเมอราชีน ละลายน้ำขนาด 75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม 7 วันติดต่อกัน
พยาธิเม็ดเลือด ฮีโมบาร์โตเนลล่า (Haemobartonella ranarum) โลหิตจาง ซึม เบื่ออาหาร แล้วก็เด็ดสะมอเร่ การรักษายังไม่มี กบตายสถานเดียว
พยาธิใบไม้ (Trematodes) พบพยาธิใบไม้ตามระบบทางเดินหายใจ เช่น ที่ ปอด ระบบปัสสาวะ และระบบทางเดินอาหาร พยาธิใบไม้นี้มักมาจากหอยเป็นตัวนำ
มาพยาธิจะพัฒนาตัวอ่อนให้เจริญเติบโตเป็นระยะติดเชื้อในหอยก่อน แล้วเมื่อหอยมาลงในบ่อเลี้ยงตัวอ่อนของพยาธิก็จะลงบ่อแล้วเข้าไปในตัวกบตายใน 10 วัน กบ จะท้องป่องพุงกาง ทรงตัวไม่อยู่เหมือนจอมยุทธหมัดเมา เคลื่อนไหวช้า แล้วก็นอน หงายตายลอยน้ำในท่าว่ายกรรเชียง 4 x 100 เมตร กบจะตายภายใน 2 – 3 วันหลัง แสดงอาการพุงป่องออกมา

การรักษายังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แต่จะใช้ยาบางชนิดเพื่อกำจัดพยาธิใบไม้ เช่น เตตร้าคลอเอทธีลีนขนาด 0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ป้อนให้กบกิน 4 วันติดต่อ กัน จากนั้นให้ซ้ำอีกเมื่อครบ 3 อาทิตย์

พยาธิตัวแบน (Cestodes) ในกบมีหลายชนิด ทำให้กบป่วย ไม่สบาย ร่างกาย อ่อนแอ ขาดอาหาร เนื่องจากถูกพยาธิแย่งเอาไปกินหมด ลำไส้อักเสบ หากมีตัวพยาธิมากๆ จะทำให้ทางเดินอาหารอุดตัน อึไม่ออกบอกไม่ถูกได้แต่ส่ายหน้าไปมาเพราะ ปวดท้องอี้

การรักษาต้องใช้ยานิคโลชานิคผสมอาหารขนาด 165 – 220 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม การป้องกันก็ต้องป้องกันกับกบที่มาใหม่ ตรวจไข่พยาธิจากอุจจาระกบเป็นระยะๆ แล้วก็รักษาความสะอาดบ่อ

พยาธิตัวกลม(Nematodes) มีทั้งชนิดที่อยู่ในระบบอาหารและทางเดินหายใจ กบที่มีพยาธิอยู่ในลำไส้จะเบื่ออาหาร ร่างกายซูบผอม การรักษาให้ใช้อ๊อกซเฟนคาโซล ผสมอาหาร 5 มิลลิกรัม / กิโลกรัม หรือใช้ลีวามีโซลขนาด 10 มิลลิกรัม ฉีดเข้าใต้ ผิวหนังหรือละลายในน้ำที่กบอยู่

1 comment
Average Vote: 115.0/5

fern
2024-08-24 20:48:21
รับน้องมาเมื่อวันที่ 4 สิงหาคะ น้องขับถ่ายครั้งล่าสุด 13 สิงหาคะ ขับถ่ายยากมากคะหมอเลยให้ยาระบายมารอดูอาการคะ กลัวจะเลยคะ
Back to content