เสียงเพลงฝนเดือนหก
บทความ > กบฝ่าวิกฤต
ย่างเข้าเดือนหก ฝนก็ตกพรำรำ กบมันร้องงึมงำระงมไปทั่วท้องนา
เสียงเพลงฝนเดือนหก บทเพลงลูกทุ่งอมตะที่กล่าวถึงฤดูกาลธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมไว้อย่างน่าฟัง “คุณครู ไพบูลย์ บุตรขัน” ผู้ประพันธ์เพลง ได้นำเอาช่วงเดือนหกราวเดือนพฤษภาคม ต้นฤดูฝนมากล่าวเป็นบทเพลงบรรยายถึงถึงธรรมชาติยามค่ำคืน เมื่อฝนตกพรำจะได้ยินเสียงกบร้องระงมอยู่ทั่วท้องนา ถ่ายทอดสภาพชีวิตจริงในชนบทออกมา เป็นเพลงลูกทุ่งจนได้รับความนิยมโด่งดังไปทั่วประเทศมาจนทุกวันนี้ ฝนเดือนหกตามสภาพชีวิตในชนบท คือการเริ่มต้นแห่งฤดูกาลทำนาในปีนั้นๆ เมื่อมีฝนก็ต้องมีกบ เขียด อึ่งอ่าง คางคก ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ ออกมาส่งเสียงร้องเริงร่า ว่าถึงฤดูกาลผสมพันธุ์วางไข่ออกลูกหลานไว้สืบสกุลแล้ว หลายๆ คนบอกว่า ทุกวันนี้ตามท้องนาหาฟังเสียงกบ เสียงเขียดร้องยากเต็มทน เพราะในนามีแต่สารเคมี ก่อนทำนาชาวนาจะเผาตอซังข้าว กบเขียดมุดรูอยู่ใต้ดินกลาย
เป็นกบอบฟางตายคารูน่าสังเวช ฝนเดือน หาตามชนบทที่กลางนาจึงมีแต่ความ เงียบ ถนนผ่านท้องนาจะมีก็แต่เสียงรถ เครื่องทะลวงท่อไอเสียส่งเสียงดังก้องเข้าไปในโสตประสาท นักบิตรุ่นกระทง มักใช้ถนนในหมู่บ้านเป็นสนามประสอง ความเร็วรถและแข่งกันเสียงดังลันทุ่ง
ประชากรกบส่วนหนึ่งจะถูกจับมาทำเป็นอาหาร มาเป็นยำกบ ผัดกะเพรากบ และกบทอดกรอบ ที่หลงเหลืออยู่ตาม ธรรมชาติทุกวันนี้ก็ต้องหลบๆ ซ่อนๆ แอบไปร้อง อ๊บ อ๊บ อยู่ท้ายไร่ท้ายนาตามร่องคูประตูน้ำ จะเที่ยวมาร้องเริงร่า เหมือนสมัยก่อนไม่ได้อีกแล้ว
ชีวิตของกบนาในธรรมชาติต้องอยู่อย่างเสี่ยงภัย แม้แต่แหล่งน้ำสะอาด แหล่งน้ำเต็มไปด้วยน้ำคร่ำ น้ำโสโครก เป็นที่อยู่ของลูกน้ำและยุง พ่อกบ แม่กบ หมดสิทธิผสมพันธุ์กันเพราะแหล่งน้ำ ไม่ดี หากมีที่พอจะให้แม่กบวางไข่ได้บ้างลูกอ๊อดที่เกิดมาก็จะเจริญเติบโตยากในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เป็นการวางแผนครอบครัวกบในเมืองไปโดย
ปริยากบตามธรรมชาติ มีน้อยลงทุกวัน
กบนา หรือ กบลายเสือ หรือกบ บึง (Rana rugulosa) ทางวิทยาศาสตร์บอกว่าเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ชาวบ้านบอกว่าเป็นสัตว์สะเทินบกสะเทินน้ำ หมายถึงที่อยู่ได้หรือใช้งานได้ทั้งในน้ำและบนบก ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 กล่าวถึงคำว่า “สะเทินสะเทินบก” หมายถึง เชิงการรบสินน้ำทะเทินบก เรือสะเทินน้ำสะเทินบก เครื่องบินสะเทินน้ำทะเทินบก เรียกสัตว์จำพวกหนึ่งที่อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก
ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดหรือขน หายใจด้วยเหงือก ปอด ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก มีแต่วุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลา อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้ว มีปอดหายใจขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ เช่น กบ คางคก อิงอ่าง ว่าสัตว์สะเทินน้ำ สะเทินบก
ได้มีการอนุกรมวิธานกบออกเป็นวงศ์ทั้งหมด 27 วงศ์ ใน 419 สกุล ปัจจุบันพื้นโลกใบนี้มีกบกว่า 5,556 ชนิด เป็นอันดับที่มีความหลากหลายมากที่สุดของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และก็ยังคงมีการค้นพบกบชนิดใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ ในทุกปี ประมาณ 60 ชนิดต่อปี โดยกบส่วนใหญ่มักจะพบในเขตร้อน ใช้หลักการพิจารณาจากโครงสร้าง กระดูก กล้ามเนื้อขา รูปร่างลักษณะของลูกอ๊อด และรูปแบบการกอดรัด เป็นต้น
No comments