เห็บระฆัง - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

เห็บระฆัง

บทความ > การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย > โรคและปริสิตปลาดุก
เห็บระฆัง
เห็บระฆังจะทำให้ปลาเกิดอาการระคายเคือง เนื่องจากพยาธิในกลุ่ม Trichodinids ซึ่งเป็นปรสิตเซลล์เดียว รูปร่างกลม มีแผ่นขอหนามอยู่กลางเซลล์เข้าไปเกาะอยู่ตามลำตัวและเหงือกปลา และมีการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งอยู่ตลอดเวลา ทำให้ปลาเกิดเป็นแผลขนาดเล็กตามผิวลำตัวและเหงือก มักพบในลูกปลา ถ้าพบเป็นจำนวนมากจะทำให้ปลาตายได้หมดบ่อ ดังนั้นเมื่อพบควรรีบทำการรักษาเสียตั้งแต่ปลาเริ่มเป็นโรคในระยะแรกๆจะได้ผลดีกว่า

การป้องกันรักษา
การป้องกันทำได้โดยการตรวจปลาก่อนที่จะนำมาเลี้ยงว่ามีเห็บระฆังติดมาหรือไม่ ระวังการติดต่อระหว่างบ่อผ่านทางอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน ควรขังปลาไว้ประมาณ 2-3 วัน เมื่อตรวจจนแน่ใจว่าไม่มีโรคแล้วจึงค่อยปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อ แต่ถ้ามีเห็บระฆังเกิดขึ้นกำจัดได้โดยการใช้ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซี.ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง หรือฟอร์มาลีน 25-30 ซีซี.ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 24 ชั่วโมง



ปลิงใส
ปลิงใสเป็นพยาธิปลาที่มีขนาดเล็ก ลำตัวไม่มีปล้อง มีขอเกี่ยวใช้สำหรับเกาะยึดอยู่ทางส่วนท้ายของลำตัว ปลิงใสมักเกิดกับลูกปลาดุกที่เริ่มปล่อยลงเลี้ยงในบ่อดินใหม่ๆ โดยพบปลิงใสทั่วไปในบริเวณเหงือกและเมือกของปลา ถ้าพบบริเวณเหงือกจะสังเกตเห็นกระฟุ้งแก้มเผยอเล็กน้อย เหงือกซีดและบวม ถ้าพบบริเวณลำตัวปลาจะขับเมือกออกมามากกว่าปกติ

ถ้าพบมีปลิงใสเข้ารบกวนมากจะทำให้การดำรงชีวิตผิดปกติ เช่น ว่ายน้ำทุรนทุราย ว่ายน้ำเชื่องช้า ลอยตัวตามผิวน้ำ กินอาหารลดลง ผอม กระพุ่งแก้มเปิดปิดเร็วกว่าปกติ หายใจผิดปกติ เนื่องจากเหงือกถูกทำลาย หรือมีเมือกออกมามากกว่าปกติ เปิดโอกาสให้เชื้อโรคชนิดอื่นเข้าทำลายได้ง่าย นอกจากนี้อาจมีแผลขนาดเล็กเท่าปลายเข็มหมุดกระจายอยู่ทั่วลำตัว และถ้าเป็นในขั้นรุนแรงอาจมองเห็นเหมือนกับว่า ปลามีขนสีขาวสั้นๆ ปกคลุมอยู่ ซึ่งจะทำให้ปลาตายได้

การป้องกันรักษา
ถ้าพบว่าปลาถูกปลิงใสเข้าทำลายในระยะแรกๆ ก็สามารถรักษาให้หายได้ไม่ยาก โดยใช้ฟอร์มาลีนจำนวน 25-40 ซีซี.ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ปลานาน 24 ชั่วโมง หรือใช้ดิพเทอร์เร็กซ์จำนวน 0.25-0.5 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ปลานาน 24 ชั่วโมง



พยาธิใบไม้
พยาธินี้มักจะพบมากในการอนุบาลลูกปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อดินที่มีการใช้ปุ๋ยคอกมาทำให้น้ำเขียว โดยไข่ของพยาธิชนิดนี้ จะติดมากับปุ๋ยคอกสดแล้วผ่านเข้าสู่หอยฝาเดียว แล้วจึงเข้าสู่ตัวปลา ซึ่งพยาธิใบไม้ที่ทำให้เกิดโรคปลานั้นพบทั้งระยะที่เป็นตัว เต็มวัยแล้วและตัวอ่อน

พยาธิใบไม้ระยะตัวเต็มวัยจะพบได้ในระบบทางเดินอาหาร แต่ไม่ค่อยทำอันตรายต่อปลาเท่าใดนัก ซึ่งต่างกับตัวอ่อนที่พบฝังตัวอยู่บริเวณเหงือกภายในช่องท้อง และอวัยวะภายในต่างๆ ทำให้เกิดความเสียหายกับเนื้อเยื่อของเหงือกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลูกปลาที่เป็นโรคนี้มักมีอาการกระฟุ้งแก้มเปิดอ้า อยู่ตลอดเวลา ว่ายน้ำทุรนทุราย ว่ายน้ำเชื่องช้า ลอยตัวที่ผิวน้ำ ไม่กินอาหาร ผอม เหงือกบวม อาจมองเห็นจุดขาวๆ คล้ายเม็ด สาคูขนาดเล็กเป็นไตแข็งบริเวณเหงือกได้ และปลาจะทยอยตายเรื่อยๆ

การป้องกัน
สามารถทำได้โดยหลีกเลี้ยงการใช้ปุ๋ยคอก เพราะอาจมีไข่ของพยาธิใบไม้ติดมา ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยคอก ควรตากให้แห้งเป็นอย่างดีเสียก่อน และตัดวงจรด้วยการกำจัดหอย ซึ่งเป็นตัวช่วยเสริมการระบาดของพยาธิ โดยการตากบ่อให้แห้ง และโรยปูนขาวให้ทั่วในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากจับปลาขึ้นขายแล้วทุกครั้ง

No comments
Back to content