โรคหมวดกุด - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

โรคหมวดกุด

บทความ > การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย > โรคและปริสิตปลาดุก
โรคปากเปื่อยหรือโรคหมวดกุด
โรคปากเปื่อยหรือหนวดกุดเกิดจากพวกตัวปรสิต เช่น เห็บระฆังและปลิงใส พบมากในช่วง 1-10 วันหลังจากปล่อยลูกปลา โดยเฉพาะในบ่อที่ดินเป็นกรดและการเตรียมบ่อไม่ดี น้ำในบ่อมักจะเป็นสีขาวขุ่นหรือน้ำตาลใส ลูกปลาจะว่ายน้ำไปมาอย่างรวดเร็ว และจะลอยหัวตั้ง เหงือกซีด รอบๆ ปากจะด่างเป็นสีขาวขุ่น มีเมือกมาก ปลาจะอ่อนแอติดเชื้อต่างๆแทรกซ้อนได้ง่าย

การป้องกันรักษา
ก่อนปล่อยปลาควรปรับสภาพน้ำในบ่อให้มีค่า pH อยู่ในระดับ 7.5-8.5 สำหรับการรักษานั้นใช้ปูนขาวปรับสภาพน้ำให้มี pH 7.5-8.5 จากนั้นเตรียมน้ำให้เป็นสีเขียว โดยใช้ปุ๋ยคอกที่แห้งโรยให้ทั่วบ่อ ในอัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยเคมีในอัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อไร่ ในระดับน้ำลึกประมาณ 50 เซนติเมตร



โรคโอโดดิเนีย หรือ โรคสนิมเหล็ก
สาเหตุเกิดจากปรสิตที่มีชื่อว่า โอโอดิเนียม (Oodinium sp.) เป็นปรสิตเซลล์เดียวชนิดที่มีรูปร่างกลมรี สีเหลืองปนน้ำตาล หรือเหลืองปนเขียวแบบสีสะท้อนแสง ภายในเซลล์มีองค์ประกอบที่คล้ายสบู่อยู่เป็นจำนวนมาก สามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว โดยการแบ่งเซลล์

ปลาที่เป็นโรคนี้จะว่ายน้ำทุรนทุราย บางครั้งพบว่ากระฟุ้งแก้มเปิดอ้ามากกว่าปกติ อาจมีแผลตกเลือดหรือรอยด่างสีน้ำตาล หรือเหลืองคล้ายสีสนิมตามลำตัว ครีบหางตกหรือสู่ลง ปลาจะทยอยตายติดต่อกันทุกวัน ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องปลาจะตายหมดบ่อในเวลาไม่นาน

การป้องกันรักษา
แช่ปลาที่เป็นโรคนี้ในฟอร์มาลีนอัตรา 30-40 ซีซี. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง แล้วเปลี่ยนน้ำ ใหม่ ถ้าปลายังมีอาการไม่ดีขึ้นควรเปลี่ยนน้ำแล้วให้ยาซ้ำอีก ปลาที่ป่วยควรจะมีอาการดีขึ้นภายใน 3-4 วัน และในระหว่างการใช้ยา ถ้ามีปลาตายควรตักออกจากตู้ให้หมด



โรคครีบและหางกร่อน
โรคครีบและหางกร่อนเป็นโรคที่พบอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาขนาดเล็ก เกิดจากการติดเชื้อโรคหลายชนิด ทั้ง ปรสิตและแบคทีเรีย ปลาที่ป่วยเป็นโรคนี้ระยะแรกจะเกิดการกร่อน บริเวณปลายครีบก่อน และจะค่อยๆลามเข้าไปจนทำให้ดูเหมือนว่าครีบมีขนาดเล็กลง ในบางครั้งครีบจะกร่อนไปจนหมด

การป้องกันรักษา
ควรฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยงก่อนทำการปล่อยปลา โดยใช้ปูนขาวในอัตรา 50-60 กิโลกรัมต่อไร่ แต่เมื่อปลาเกิด โรคแล้วให้ใช้ยาปฏิชีวนะไนโตรฟิวแรนในอัตราส่วน 1-2 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ปลานานประมาณ 2-3 วัน


No comments
Back to content