โรคแผลตามลำตัว - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

โรคแผลตามลำตัว

บทความ > การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย > โรคและปริสิตปลาดุก
โรคแผลตามลำตัว
โรคแผลตามลำตัวเกิดขึ้นเนื่องจากโปรโตซัวจำพวกเห็บระฆัง และปลิงใสเข้ามาเกาะตามลำตัวปลา ทำให้บริเวณนั้นบวมขึ้น มีสีแดง และเป็นแผลขึ้นตามลำตัว ต่อมาแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในน้ำเข้าทำลายผิวหนังและแผลจะเริ่มเปื่อยลึกลงไปจนเห็นกล้ามเนื้อ และเน่าเปื่อยลุกลามออกไปอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุทำให้ปลาตายได้ โดยแผลจะเกิดกระจายทั่วตัว และเป็นสาเหตุให้ปลาติดโรคเชื้อราต่อไปได้ ซึ่งโรคนี้ส่วนใหญ่เกิดกับลูกปลาที่เริ่มปล่อยลงเลี้ยงประมาณ 15 วัน และหลังจากเสียงไปได้ 3-4 เดือนซึ่งปลามีขนาดโตพอที่จะส่งจำหน่ายมักเป็นโรคนี้อีกครั้ง

การป้องกันรักษา
ถ้าเป็นปลาที่เลี้ยงในบ่อและเริ่มมีอาการของโรคอาจผสมยาปฏิชีวนะจำพวกไนโตรฟูราโซนกับอาหารปลาในอัตราส่วน 60-70 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม หรือ 2-3 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินติดต่อกัน 3-5 วัน หรือนำปลาที่เป็นโรคไปแช่ในสารละลายออกซีเตตร้าไซคลิน ในอัตราส่วน 10-20 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร นาน 1-2 วัน ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง



โรคจุดขาวหรือโรคอิ๊ก
สาเหตุเกิดจากปรสิตที่มีชีที่มีชื่อว่า อิ๊กทีอ๊อฟทีเรียส มัลติฟิลิส (Icthyopthirius multifilis) โรคจุดขาว เป็นโรคที่พบบ่อยในช่วงอากาศหนาว ปลาที่เป็นโรคนี้จะเป็นจุดสีขาวขุ่น ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดเล็กๆ กระจายอยู่ตามลำตัว ครีบ เหงือก และ บางครั้งจะพบอยู่ใต้ผิวหนังชั้นนอก ซึ่งเมื่ออิ๊กเจริญเต็มวัยแล้วก็จะออกจากตัวปลาจมลงสู่บริเวณก้นบ่อ สร้างเกราะหุ้มตัวเองแล้วแบ่งเซลล์ภายในเกราะ เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมเกราะจะแตกออก และตัวอ่อนก็จะว่ายเข้าเกาะตามผิวหนังของปลาอีก อาการระยะสุดท้ายของโรคนี้คือ ปลาจะมีสีผิวซีด ครีบเปื่อย ว่าย้ำเฉื่อยชา และมีอัตราการตายสูง

การป้องกันรักษา
การรักษาจะต้องทำอย่างต่อเนื่องโดย การใช้ฟอร์มาลีน 25 ซีซี. ต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ใส่ลงในบ่อที่มีปลาป่วยทุกๆ 3 วัน เป็นเวลาติดต่อกัน 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย แต่ละครั้งที่ใส่จะต้องงดการถ่ายน้ำนาน 48 ชั่วโมง ดังนั้นในระยะเวลาที่แช่ฟอร์มาลีนจำเป็นที่จะต้องลดปริมาณไรแดงหรืออาหารที่ลูกปลากินเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำในบ่อเน่าเสีย แล้วจึงทำการถ่ายน้ำบางส่วนในวันที่ 3 แล้วเติมฟอร์มาลีนซ้ำอีก ทำเช่นนี้จนกระทั่งครบ 3 ครั้ง

No comments
Back to content