โรคท้องบวม - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

โรคท้องบวม

บทความ > การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย > โรคและปริสิตปลาดุก
โรคท้องบวม
เกิดจากการที่ปลาได้รับอาหารที่เก็บไว้นานเกินไปหรืออาหารเป็นพิษ โดยเชื้อแบคทีเรียพวก Aeromonas hydrophila เป็นตัวเข้าไปทำลายระบบขับถ่ายของปลา ทำให้ปลาไม่สามารถระบายน้ำเสียออกจากร่างกายได้ตามปกติ ดังนั้นจึงเกิดมีของเหลวคั่งค้าง อยู่เต็มช่องท้อง ทำให้ท้องของปลาบวมออกมาและเนื้อหนังแตก เป็นแผลพุพองตามลำตัวของปลา

วิธีการป้องกันรักษา
ไม่นำอาหารเป็นพิษมาให้ปลากิน ไม่เลี้ยงปลาในปริมาณที่แน่นจนเกินไป ควรฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยงหลังจากสูบน้ำออกแล้วโดยโรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ สำหรับปลาที่เกิดโรคนั้นให้นำไปแช่ในยาปฏิชีวนะออกซีเตตร้าไซคลิน หรือ เตตร้าไซคลิน ในอัตราส่วน 10-30 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ปลานาน 24 ชั่วโมง



โรคตัวด่าง
โรคนี้มักเกิดกับลูกปลาหลังจากเริ่มปล่อยประมาณ 1-3 วัน สาเหตุเนื่องจากลูกปลาได้รับความบอบช้ำจากการขนส่งแล้วติดเชื้อแบคทีเรีย Flexibacter Columnaris หรือในช่วงที่อุณหภูมิของอากาศมีการเปลี่ยนแปลงจากสูงไปต่ำ ให้เกิดโรคจะเจริญได้ดี เป็นโรคที่รู้จักกันภายใต้ชื่อโรคคอลัมนาริส โรคนี้มักเกิดในบ่อที่มีการอนุบาลลูกปลาอย่างหนาแน่น ทำให้ปลา เกิดความเครียด อีกทั้งยังทำให้คุณภาพน้ำในบ่ออนุบาลไม่ดี เชื้อคอลัมนาริสนีก็จะเข้าทำอันตรายต่อลูกปลาทันที

ลักษณะการทำลาย จะทำให้ลูกปลาเกิดเป็นรอยด่างขาว เป็นแถบหรือเป็นจ้ำๆ ตามลำตัว ผิวหนังซีด เมื่อขุดเมือกปลา บริเวณรอยด่างมาตรวจจะพบเชื้ออยู่รวมกันคล้ายกองฟาง และถ้าเกิดโรคเป็นระยะเวลานานแผลด่างขาวนี้จะกลายเป็นแผลลึกได้ ขณะเดียวกันเซลล์ที่เหงือกก็ถูกทำลายเช่นกัน ทำให้ลูกปลาหายใจลำบาก อ่อนแอ ว่ายน้ำเชื่องช้า ปลาที่ป่วยบางส่วนก็จะลอยตัวอยู่ที่บริเวณผิวน้ำและปลาจะทยอยตายเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ภายใน 24-48 ชั่วโมง

วิธีการป้องกันรักษา
วิธีที่ดีที่สุดและควรทำคือ การปรับปรุงสภาพภายในบ่อให้เหมาะสม เช่น การเพิ่มออกซิเจนและการลดอินทรีย์สารในน้ำให้น้อยลง เป็นต้น ควรขนส่งลูกปลาในความหนาแน่นที่เหมาะสม และในขณะขนส่งลำเลียงปลาควรใส่เกลือเม็ดลงในน้ำที่ใช้ลำหรับลำเลียงปลาประมาณ 1 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ลิตร หลีกเลียงการขนส่งและปล่อยปลาในช่วงอากาศร้อน และหลีกเลียงการกระทบกระเทือนขณะขนส่ง ส่วนการรักษาให้ใช้ฟอร์มาลีน อัตรา 40-50 ซีซี. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ปลานาน 24 ชั่วโมง แต่การใช้ยาสารเคมีใส่ลงในบ่อดินมักไม่ได้ผล การป้องกันจะให้ผลดีที่สุด


No comments
Back to content