โรคและปริสิตปลาดุก - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

โรคและปริสิตปลาดุก

บทความ > การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย > โรคและปริสิตปลาดุก
โรคและปริสิตปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุกในปัจจุบันปัญหาที่ผู้เลี้ยงประสบอยู่เสมอ คือ ปัญหาปลาเป็นโรค เนื่องจากการเกิดโรคของปลาในแต่ละครั้งย่อมสร้างความเสียหายให้กับผู้เลี้ยงไม่มากก็น้อย ดังนั้นถ้าหากผู้เลี้ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุและชนิดของโรคปลาที่เกิดขึ้น รวมทั้งวิธีการป้องกันและรักษาที่จะช่วยให้การเลี้ยงปลาประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้นมาก

การเกิดโรคของปลานั้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา พยาธิภายนอก พยาธิภายใน คุณภาพน้ำหรืออาหารที่ใช้เลี้ยงไม่เหมาะสม เป็นต้น แต่สาเหตุที่ ทำให้ปลาเกิดโรคบ่อยและร้ายแรงที่สุดคือ เชื้อแบคทีเรีย

โรคโคนครีบหูบวม
โรคโคนครีบหูบวมหรือที่ผู้เลี้ยงเรียกกันติดปากว่า โรคกกหูบวม สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas hydrophila เชื้อชนิดนี้พบได้ทั่วไปในบ่อเลี้ยงปลาดุก ปกติแล้วปลาที่แข็งแรงจะมีความต้านทานต่อเชื้อดังกล่าวได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อปลาอ่อนแอ อาจเนื่องมาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเชื้อนี้จึงจะเข้าทำลาย ทำให้ปลาเกิดโรคได้ทันที โดยเชื้อดังกล่าวจะเข้าสู่ร่างกายทางปาก ทางผิวหนังหรือทางเหงือกที่มีบาดแผล และเชื้อจะไปเพิ่มจำนวนมากขึ้นในลำไส้หรือบริเวณที่เข้าไป แล้วแพร่กระจายไปตามกระแสเลือดทั่วร่างกาย

โรคนี้พบมากในลูกปลาขนาด 1 เซนติเมตรหรือที่เรียกว่า ปลาลูกไร และขนาด 3-7 เซนติเมตร หรือที่เรียกว่า ปลาเซนต์ อาการของโรค เริ่มแรกคือลำตัวจะแขวนตรงกับผิวน้ำ เมื่อจับปลาขึ้นมาดูพบว่าที่โคนครีบหูบวม ในระหว่างนั้นปลาจะไม่กินอาหาร และจะตายไปในที่สุด สำหรับปลาโตนั้นก่อนตายส่วนที่บวมจะแตกออก นอกจากนี้เมื่อสังเกตดูอวัยวะภายในพบว่าที่บริเวณใต้ตับ ในช่องท้อง และช่องว่างใกล้โคนครีบหูมีอาการบวม สีซีด หรืออวัยวะดังกล่าวอาจจะหยุดทำงาน

การป้องกันรักษา
ควรปล่อยลูกปลาในอัตราที่เหมาะสมและ ให้อาหารอย่างถูกต้อง ส่วนการรักษาให้ปฏิบัติดังนี้
1. ถ่ายน้ำจากพื้นก้นบ่อออกอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดตะกอน เศษอาหารเน่าเสียที่พื้นก้นบ่อ

2. ใช้ปูนขาวเพื่อลดระดับ pH ของน้ำให้อยู่ในช่วง 7.5-8.5 ในอัตราครั้งละประมาณ 30-60 กิโลกรัมต่อไร่

3. ใช้เกลือแกงในการลดพิษต่างๆ และการเน่าเสียของพื้นบ่อในอัตราครั้งละ 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมกับลดปริมาณอาหารตามความเหมาะสม

4. ถ้าปลายังกินอาหารดีอยู่อาจใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซีเตตร้าไซคลินผสมอาหารในอัตรา 1-2 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้กินติดต่อกันอย่างน้อยครั้งละ 5-7 วัน จะช่วยให้ปลาหายป่วยเร็วขึ้น

No comments
Back to content