การเลี้ยงปลานิล - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเลี้ยงปลานิล

บทความ > การเลี้ยงปลานิล
การเลี้ยงปลานิลแบ่งออกเป็น  3    ประเภท
1. การเลี้ยงแบบธรรมชาติ
2. การเลี้ยงแบบกึ่งพัฒนา
3. การเลี้ยงแบบพัฒนา


การเลี้ยงปลานิลแบบธรรมชาติ
       วิธีการเลี้ยงในลักษณะนี้จะมุ่งเน้นในการใช้อาหารที่ได้จากธรรมชาติมาใช้ในการเลี้ยงเป็นหลัก  ไม่มีการนำอาหารเม็ดสำเร็จรูปมาใช้ในการเลี้ยง  ดังนั้นปลาที่เลี้ยงจะมีการเจริญเติบโตช้า จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงนาน ส่วนใหญ่แล้วจะเลี้ยงเพื่อบริโภคในครัวเรือน ซึ่งใช้ต้นทุนในการเลี้ยงต่ำ ปล่อยปลาไม่หนาแน่น  มีการจัดการน้อย


การเลี้ยงแบบกึ่งพัฒนา
     วิธีการเลี้ยงในลักษณะนี้จะมุ่งเน้นในการใช้อาหารที่ได้จากธรรมชาติร่วมกับนำอาหารเม็ดสำเร็จรูปมาใช้ในการเลี้ยงเป็นหลัก  ดังนั้นปลาที่เลี้ยงจะมีการเจริญเติบโตที่เร็วกว่าการเลี้ยงแบบธรรมชาติ ช่วยย่นระยะเวลาในการเลี้ยง มีทั้งการเลี้ยงเพื่อบริโภคในครัวเรือนและการเลี้ยงเพื่อจำหน่าย ซึ่งใช้ต้นทุนในการเลี้ยงเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการใช้อาหารสำเร็จรูปด้วย เริ่มมีการปล่อยปลาหนาแน่นขึ้น  มีการจัดการดูแลเพิ่มขึ้น

การเลี้ยงแบบพัฒนา
    วิธีการเลี้ยงในลักษณะนี้จะมุ่งเน้นในการใช้อาหารอาหารเม็ดสำเร็จรูปมาใช้ในการเลี้ยงเป็นหลัก  ดังนั้นปลาที่เลี้ยงจะมีการเจริญเติบโตที่เร็ว ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการเลี้ยงเพื่อเชิงพาณิชย์เพื่อจำหน่ายและส่งออก ซึ่งใช้ต้นทุนในการเลี้ยงสูงเนื่องจากมีการใช้อาหารสำเร็จรูปอย่างเดียว มีการปล่อยปลาหนาแน่นขึ้น  มีการจัดการดูแลเพิ่มขึ้น

การเตรียมบ่อ
1. บ่อใหม่   
- ต้องมีการวัด pH ของน้ำให้อยู่ในช่วง 6.5 – 8.5 ซึ่งดินโดยทั่วไปจะใส่ปูนขาวประมาณ  100 – 150  กก./ไร่
- ใส่ปุ๋ยคอก อัตราที่ควรใส่  200 – 250  กก./ไร่  หรือมากกว่านั้น
- สูบน้ำใส่บ่อ ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ ปรับสภาพให้เหมาะสมแก่การเลี้ยงปลา  

2. บ่อเก่า
- ระบายน้ำออกและจับปลาที่ยังคงเหลืออยู่ออกให้หมด
- ควรตากบ่อทิ้งไว้ประมาณ 5 – 10 วัน แสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อ
- ใช้ปูนขาวอัตราส่วน 50 – 100 กิโลกรัม/ไร่ หรือมากกว่า ปูนขาวจะช่วยฆ่าเชื้อโรค ศัตรูปลาและช่วยปรับสภาพดิน
- ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 100 – 200 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติ
- สูบน้ำใส่บ่อทิ้งไว้ 10 – 15 วัน อาหารธรรมชาติสำหรับลูกปลาจะมีปริมาณเพียงพอ
- ถ้าสูบน้ำออกไม่หมดให้ฆ่าศัตรูปลาด้วยโล่ติ้นหรือกากชา อัตรา 5 – 10 กิโลกรัม/น้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร จะทำให้ศัตรูปลาตาย ทิ้งไว้ 5 –7 วัน พิษของสารพิษจะสลายตัว


การปล่อยลูกปลาลงเลี้ยง

ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำ อาหาร และการจัดการเป็นสำคัญ โดยทั่วไปจะปล่อยลูกปลาขนาด ๓-๕ ซม. ลงเลี้ยงในอัตรา ๑-๓ ตัว/ตารางเมตร หรือ ๕,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ ตัว/ไร่
Back to content