โรคและพยาธิปลานิล
บทความ > ปลาที่เลี้ยงง่าย > ปลานิล
โรคและพยาธิปลานิล
การเลี้ยงปลานิลในปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงแบบหนาแน่น มาก ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในบ่อไม่เหมาะสมและ ปลาเกิดความเครียด จึงส่งผลให้ปลาเกิดโรคได้ง่าย สำหรับโรคและศัตรูปลานิลมีดังนี้
1. โรคจุดขาวหรือโรคอิ๊ก สาหตุเกิดจากโปโตซัว Ichyothirius multifilis ปลาที่เป็นโรคนี้ที่บริเวณลำตัว ครีบ หรือเหงือก จะเกิดเป็นจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ปลาจะพยายามเอาตัวไปถูกับวัสดุที่
อยู่ใต้น้ำหรือกระโดดขึ้นเหนือผิวน้ำและขับเมือกออกมามาก เนื่องจากเกิดการระคายเคือง ว่ายน้ำไม่ตรงทางและไม่กินอาหาร
การป้องกันรักษา ใช้วิธีกำจัดหรือทำลายตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัย โดยใช้ฟอร์มาลีนความเข้มข้น 150-200 ส่วนในล้านส่วน แช่ปลานาน 1 ชั่วโมง หรือใช้มาลาไคท์กรีนความเข้มข้น 1-1.25 ส่วนในล้านส่วน แช่ปลานาน 30 นาที
2. ปลิงใส ปลิงใสที่เข้าทำลายปลามี 2 ชนิดคือ
1. Gyrodacylus sp. จะเกาะอยู่ตามครีบ เหงือก และลำตัวของปลา ถ้าเกาะติดอยู่เป็นจำนวนมากๆ จะทำให้ปลาเกิดแผลเล็กๆ ขึ้น ที่ผิวหนังหรือเหงือก ซึ่งเป็นสาเหตุให้เชื้อแบคทีเรียและเชื้อราเข้าทำลายจนเกิดบาดแผลลุกลามมากขึ้นได้
2. Dacrylogyrus sp. จะเกาะอยู่ตามผิวหนังและเหงือกในลูกปลา จะทำให้เหงือกเป็นแผลและขาดกร่อน การแลกเปลี่ยนออกซิเจนติดขัด เครียด อ่อนแอ ไม่กินอาหาร และอาจทำให้ปลาตายได้
การป้องกันรักษา ใช้ฟอร์มาลีนความความเข้มข้น 30-50 ส่วน ในล้านส่วน หรือใช้ดิพเทอร์เร็กความเข้มข้น 0.25-0.50 ส่วนในล้าน ส่วน แช่ปลาตลอดไป
3. เห็บปลา ปลาที่ถูกเห็บปลาเกาะมากๆ จะถูกดูดเลือดและของเหลวในเนื้อเยื่อ และเห็บปลายังปล่อยสารพิษออกมาอีกด้วย ปลาจะว่ายน้ำทุรนทุรายและพยายามถูตัวเองกับข้างบ่อเพื่อให้เห็บหลุด ทำให้ปลาอ่อนเพลีย ไม่กินอาหาร และเจริญเติบโตช้า
การป้องกันรักษา โดยแช่ปลาในสารละลายดิพเทอร์เร็ก ในอัตราส่วน 0.5-0.75 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง ส่วน การกำจัดเห็บปลาที่เกิดขึ้นในบ่อทำได้โดยการตากบ่อให้แห้งแล้วโรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ
4. หนอนสมอ เข้าทำลายปลาโดยฝังส่วนหัวเข้าไปใต้ผิวหนัง เพื่อดูดกินเลือดและของเหลวในเนื้อเยื่อจากปลา บริเวณรอบๆ จุดที่มีหนอนสมอเกาะจะมีอาการตกเลือด เป็นรอยช้า เกล็ดหลุด และเกิดบาดแผล ซึ่งเป็นสาเหตุให้เชื้อแบคทีเรียและเชื้อราเข้าทำลาย ปลาจะมีอาการว่ายน้ำเชื่องข้าอยู่ตามผิวน้ำ เอาข้างตัวถูกับข้างบ่อ
การป้องกันรักษา ให้แช่ปลาในสารละลายดิพเทอร์เร็ก ในอัตราส่วน 0.5 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง แล้วเปลี่ยนน้ำ เว้นระยะไป 5-7 วันจึงทำการแช่ยาซ้ำอีก 2-3 ครั้ง
No comments