การเพาะพันธุ์ปลานิล - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเพาะพันธุ์ปลานิล

บทความ > ปลาที่เลี้ยงง่าย > ปลานิล
ปลานิล
ปลานิลเป็นปลานิลจัดชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ จัดอยู่ในตระกูลซิคลิตี้(Cichidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis nilotica เป็นปลาที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เพราะเนื้อมีรสชาติดี อร่อย มีเนื้อมาก และสามารถนำมาปรุงและแปรรูปเป็นอาหารได้หลายอย่าง เช่น ทอด ต้ม แกง ทำเป็น ปลาเค็มตากแห้ง ปลากรอบ ปลาร้า ปลาเจ่า ปลาจ่อมหรือปลาส้ม เป็นต้น

ปลานิลมีความอดทนและสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี สามารถขยายพันธุ์ได้เองในบ่อเลี้ยง ผสมพันธุ์เก่ง ให้ลูกดก กินอาหารง่าย โดยสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ รวมทั้งซากพืชที่เน่าเปื่อย อีกทั้งยังสามารถฝึกให้ปลานิลกินอาหารเม็ดหรืออาหารผสมและเศษอาหารได้ง่าย เลี้ยงง่ายและสามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นได้เจริญเติบโตเร็ว และตลาดมีความต้องการสูง ปัจจุบันปลานิลสามารถส่งออกเป็นสินค้าไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศในลักษณะแล่เนื้อแช่แข็งแปรรูป และแช่แข็งส่งออกทั้งตัวได้

การเพาะพันธุ์ปลานิล
ปลานิลเป็นปลาที่สามารถผสมพันธุ์วางไข่ได้เองตามธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการใช้ฮอร์โมนช่วยกระตุ้นเหมือนปลาชนิดอื่น ดังนั้นการเพาะพันธุ์ปลานิลจึงสามารถทำได้ง่าย ซึ่งสามารถเพาะพันธุ์ ได้ทั้งในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ และในกระชัง

การเพาะพันธุ์ในบ่อดิน การเพาะพันธุ์ปลานิลในบ่อดินจะมีประสิทธิภาพกว่าวิธีอื่น เพราะเป็นบ่อที่มีสภาพแวดล้อมคล้ายคลึงกับธรรมชาติที่สุด อีกทั้งได้ผลผลิตลูกปลาสูงกว่าและต้นทุนต่ำกว่า

1. การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์ บ่อที่ใช้สำหรับเพาะพันธุ์ปลานิลควรเป็นบ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเนื้อที่ตั้งแต่ 50-1,600 ตาราง เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้สูง 1 เมตร ควรมีเชิงลาดเพื่อป้องกันดินพังทลายและมีชานบ่อกว้าง 1-2 เมตร หากเป็นบ่อเก่าให้สูบน้ำออกแล้วลาดเลนขึ้น และตบแต่งภายในบ่อให้ดินแน่น

หลังจากเตรียมบ่อเสร็จแล้ว จึงโรยปูนขาวให้ทั่วบ่อในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่บ่อ 10 ตารางเมตร ใส่ปุ๋ยคอกแห้ง 300 กิโลกรัมต่อไร่ ตากบ่อทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน แล้วจึงสูบน้ำเข้าบ่อผ่านตะแกรงตาถี่ให้มีระดับน้ำสูง 30-50 เซนติเมตร หลังจากนั้นประมาณ 3-5 วันน้ำในบ่อจะมีสีเขียว จึงนำพ่อแม่พันธุ์มาปล่อยได้

2. การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ พ่อแม่พันธุ์ปลานิลที่จะนำมาปล่อยควรมีลักษณะที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากเชื้อโรคและบาดแผล สำหรับปลาเพศเมียที่พร้อมจะวางไข่นั้นอวัยวะเพศจะมีสีชมพูแดงเรื่อๆ ท้องค่อนข้างกลม ส่วนปลาเพศผู้สังเกตได้จากสีของตัวปลาจะเข้มสดใส ครีบจะมีสีชมพูเข้มออกแดง ขนาดของพ่อแม่พันธุ์ควรมีขนาดใกล้เคียงกันคือ มีความยาว ตั้งแต่ 15-25 เซนติเมตร มีน้ำหนักตั้งแต่ 150-200 กรัม มีอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 2 ปี

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ควรจะเลี้ยงแยกกัน เพื่อป้องกันปลานิลผสมพันธุ์กันเอง แล้วทำการเลี้ยงดูพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ด้วยอาหารที่มีโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ในปริมาณสูง เพื่อบำรุงเชื้อตัวผู้และรังไข่ การให้อาหารจะต้องไม่มากจนเกินไป เพราะถ้าปลาอ้วนจะไข่ออกมาน้อย ใช้เวลาขุนประมาณ 10-20 วัน

4. อัตราส่วนการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ อัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในบ่อเพาะที่เหมาะสมคือ 1 ตัวต่อ 4 ตารางเมตรหรือ 400 ตัวต่อไร่ และควรปล่อยในอัตราส่วนพ่อพันธุ์ 2 ตัวต่อแม่พันธุ์ 3 ตัว สำหรับเวลาที่เหมาะสมในการปล่อยคือ เวลาเช้าหรือเย็น

5. การให้อาหารและปุ๋ยในบ่อเพาะพันธุ์ การเลี้ยงปลานิล ในบ่อเพาะพันธุ์มีความจำเป็นจะต้องให้อาหารสมทบหรืออาหารผสม ได้แก่ ปลายข้าว รำละเอียด สาหร่าย ในอัตราส่วน 1 : 3 : 2 โดยให้ในปริมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ให้วันละครั้งในตอนบ่าย

ส่วนปุ๋ยคอกแห้งใส่ในอัตราประมาณ 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน หรือตามความเหมาะสม เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณอาหารธรรมชาติภายในบ่ออันเป็นประโยชน์ต่อลูกปลานิลวัยอ่อน หลังจากถุงอาหารยุบตัวแล้ว และจะต้องดำรงชีวิตอยู่ในบ่อเพาะดังกล่าวต่อไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนย้ายไปเลี้ยงในบ่ออนุบาล

6. การรวบรวมลูกปลาในบ่อ หลังจากปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลง เพาะในบ่อประมาณ 15 วัน จะสังเกตเห็นลูกปลานิลเป็นฝูงตามขอบบ่อในเวลาเช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น การรวบรวมลูกปลาจะต้องใช้อวน ตาถี่ พื้นกันอวนควรกรุด้วยผ้าขาวบางหรือผ้าป่าน

หลังจากรวบรวมลูกปลาได้แล้วให้น้ำไปคัดขนาด แล้วน้ำลูกปลาที่คัดขนาดแล้วไปเลี้ยงในบ่ออนุบาลต่อไป


No comments
Back to content