การอนุบาลลูกปลาดุกบิ๊กอุย - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การอนุบาลลูกปลาดุกบิ๊กอุย

บทความ > การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย > การอนุบาลลูกปลาดุกบิ๊กอุย
การอนุบาลลูกปลาดุกบิ๊กอุย
การอนุบาลลูกปลานับเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยให้ประสบความสำเร็จ เนื่องจาก
ลูกปลาที่ได้จากการเพาะพันธุ์นั้นยังเป็นลูกปลาที่มีความอ่อนแอต่อสิ่งแวดล้อมมาก ยังไม่สามารถจะปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงได้ จำเป็นจะต้องนำลูกปลาเหล่านี้มาอนุบาลเสียก่อน ก่อนที่จะนำลูกปลาไปปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงต่อไป

ซึ่งจุดประสงค์หลักของการอนุบาลลูกปลาก็คือ เพื่อให้ได้ลูกปลาที่แข็งแรงสมบูรณ์ เจริญเติบโตเร็ว และมีอัตราการรอดตายสูง ได้ปริมาณลูกปลาที่เพียงพอกับความต้องการ แต่ในการอนุบาลให้ได้ลูกปลาที่มีคุณภาพสูงและปริมาณมากนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดและลักษณะของบ่ออนุบาล คุณสมบัติของน้ำ อาหาร และการให้อาหาร อุณหภูมิ อากาศ ความหนาแน่นของปลา ตลอดจนการปฏิบัติดูแลรักษาและการป้องกันโรคและศัตรู เพราะฉะนั้นการอนุบาลลูกปลานับเป็นงานที่ละเอียดอ่อนอย่างมาก จึงจำเป็นต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและปฏิบัติต่อลูกปลาอย่างถูกต้อง จึงจะสามารถอนุบาลลูกปลาดุกบิ๊กอุยให้มีอัตราการรอดตายสูงและมีคุณภาพดีได้ ซึ่งการอนุบาลลูกปลาดุกบิ๊กอุยสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อซีเมนต์และบ่อดิน

สำหรับการเคลื่อนย้ายลูกปลาดุกบิ๊กอุยออกจากบ่อฟักไปยังบ่ออนุบาล ควรกระทำเมื่อลูกปลามีอายุครบ 2 วัน เพราะลูกปลาที่เพิ่งฟักออกเป็นตัวจะอ่อนแอและบอบบาง โดยเฉพาะบริเวณถุงไข่แดง ดังนั้นจึงควรงดการกระทบกระเทือนลูกปลาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 วันหลังจากที่ลูกปลาฟักออกเป็นตัว โดยในช่วงนี้ควรรักษาคุณภาพน้ำให้ดีที่สุด ถ้ามีไข่เสียตกลงไปบริเวณพื้นบ่อควรรีบดูดทิ้ง จนกระทั่งเมื่อลูกปลาอายุครบ 2 วันสีตัวจะเข้มขึ้น ปลาจะมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น จึงสามารถย้ายลูกปลาได้

การเคลื่อนย้ายลูกปลาจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้ลูกปลามีความบอบช้ำน้อยที่สุด การนำลูกปลาออกจาก บ่อฟักนี้ส่วนมากจะใช้วิธีการดูดน้ำด้วยสายยางแบบกาลักน้ำ แต่วิธีการนี้มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรใช้สายยางที่มีขนาดใหญ่เกินไป และไม่ควรให้ระดับความสูงของปลายสายยางทั้งสองด้านแตกต่างกันมาก เพราะจะทำให้น้ำไหลแรงและเป็นอันตรายกับลูกปลาได้ง่าย ในการแยกลูกปลาไปอนุบาลควรเลือกดูดเอาเฉพาะลูกปลาที่เข้ากลุ่ม เพราะจะได้ลูกปลาที่มีสุขภาพแข็งแรงและไม่พิการ


No comments
Back to content