การถ่ายเทน้ำ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การถ่ายเทน้ำ

บทความ > การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย > การอนุบาลลูกปลาดุกบิ๊กอุย > การอนุบาลลูกปลาในบ่อซีเมนต์
การถ่ายเทน้ำ
การถ่ายเทน้ำในบ่ออนุบาลมีความสำคัญมากต่ออัตราการรอดของลูกปลา โดยต้องพยายามดูดตะกอนออก ให้มากที่สุด แต่ไม่ควรถ่ายน้ำหรือลดระดับน้ำลงต่ำมากในช่วงถ่ายน้ำ วิธีที่ถูกต้องคือ ควรจะดูดตะกอนออกให้หมด จากนั้นจึงค่อยๆ เปิดน้ำใหม่เข้าบ่อพร้อมกับให้ปล่อยน้ำออกด้วย วิธีนี้จะช่วยไม่ให้คุณภาพของน้ำในบ่ออนุบาลเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน เมื่อน้ำในบ่อสะอาดแล้วจึงปิดทางน้ำทิ้ง แล้วเติมน้ำให้ได้ระดับเติม

ก่อนให้อาหารลูกปลาทุกครั้งต้องใช้สายยางดูดของเสีย และเศษเหลือของอาหารที่สะสมอยู่กันบ่อออกก่อนเสมอ พร้อมกันนั้น ให้ดูดน้ำในบ่อทิ้งประมาณ 1 ใน 3 ของน้ำในบ่อ และในขณะกันก็ให้เติมน้ำใหม่ลงไปให้ได้ระดับเท่าเดิมแล้วจึงให้อาหาร เพื่อเป็นการเร่งให้ลูกปลากินอาหารและมีการเจริญเติบโตดี อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการเน่าเสียของน้ำอีกด้วย แต่ถ้าให้อาหารที่ไม่มีชีวิต เช่น ไข่ตุ่นบด เต้าหู้บด จะต้องดูดตะกอนทุกครั้ง หลังจากให้อาหารประมาณ 30 นาทีด้วย

การดูดตะกอนถ่ายน้ำจะต้องระมัดระวังอย่าให้เกิดการกระทบกระเทือนลูกปลามากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ ปลาป่วยสิ่งที่ควรปฏิบัติคือ ลดปริมาณอาหารลงประมาณ 30-50 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นดูดตะกอนและลูกปลาที่ตายออก แล้วจึงเติมน้ำ โดยใช้วิธีดังกล่าวข้างต้น อย่าลดระดับน้ำลงจนต่ำมากเป็นเวลานานๆ หรือคนน้ำให้ตะกอนมารวมกันกลางบ่อโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ปลาอ่อนแอและตายง่ายขึ้น เมื่อเติมน้ำเรียบร้อยแล้วควรใช้ยาปฏิชีวนะอ๊อกซี่เตตร้าซัยคลิน ในอัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือยาในกลุ่มไนโตรฟูราโซน 5-10 กรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร แช่ลูกปลา และในช่วงนี้พยายามอย่าไปรบกวนปลา พอวันรุ่งขึ้นจึงให้อาหาร ดูดตะกอนและถ่ายน้ำ จากนั้นจึงใช้ยาในปริมาณ ¾ เท่าหรือเท่ากับที่เคยใช้เติมลงไปอีก ซึ่งจะต้องกระทำติดต่อกันจนกว่าปลาจะมีอาการดีขึ้นหรือแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า 5-7 วัน ถ้าการรักษาวิธีดังกล่าวได้ผลปลาจะหยุดตายภายใน 2-3 วันหลังจากที่ให้ยา

ในระหว่างอนุบาลให้เพิ่มระดับของน้ำในบ่อให้สูงขึ้นตามขนาดและความหนาแน่นของปลา แต่ทั้งนี้จนถึงเวลาขาย ระดับน้ำไม่ควรลึกเกิน 30 เซนติเมตร น้ำที่นำมาใช้จะต้องเป็นน้ำที่สะอาด ทางที่ดีควรได้ทำการฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฟอร์มาลีนเสียก่อน ไม่ควรใช้น้ำประปาที่มีคลอรีน เพราะลูกปลาวัยอ่อนเมื่อเจอคลอรีน

นอกจากนี้ในบ่ออนุบาลควรมีหัวทรายใส่ไว้และเปิดลมไว้ เบาๆ หลายๆ จุด เพราะนอกจากจะเป็นการป้องกันการขาดออกซิเจนแล้ว การให้ออกซิเจนยังช่วยลดพิษจากแอมโมเนียที่อาจเกิดจากเศษอาหารและขี้ปลาได้ แต่ถ้าใช้แอร์ปั้มจนแรงเกินไป ลูกปลาอาจจะถูกรบกวนจนได้รับอันตรายได้

No comments
Back to content