การอนุบาลลูกปลาในบ่อดิน - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การอนุบาลลูกปลาในบ่อดิน

บทความ > การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย > การอนุบาลลูกปลาดุกบิ๊กอุย > การอนุบาลลูกปลาในบ่อดิน
การอนุบาลลูกปลาในบ่อดิน
การอนุบาลลูกปลาในบ่อดินนี้ หลังจากปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงแล้วไม่ต้องเอาใจใส่มากนัก เพราะใช้อัตราการปล่อยที่น้อยกว่าบ่อซีเมนต์ ลูกปลาดุกบิ๊กอุยที่อนุบาลในบ่อดินจะมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว เนื่องจากในบ่อดินมีอาหารธรรมชาติสมบูรณ์ อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงน้อยและ มีสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับธรรมชาติ บ่อดินช่วยป้องกันไม่ให้ ลูกปลาเกิดบาดแผลตามลำตัว อีกทั้งยังช่วยดูดซับของเสียจากตัวปลาได้ดีกว่าบ่อซีเมนต์ แต่ข้อเสียของการอนุบาลลูกปลาในบ่อดิน คือ ใช้พื้นที่มาก สังเกตตัวปลายาก การจัดการเกี่ยวกับโรคและปรสิตทำได้ลำบาก ควบคุมอัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดได้ยากกว่าการอนุบาลในบ่อซีเมนต์ และการจับรวบรวมลูกปลาทำได้ยากกว่าบ่อซีเมนต์ ลูกปลาบอบซ้ำมาก และมักจะจับลูกปลาไม่หมด

ขนาดและลักษณะของบ่อ ขนาดของบ่อดินสำหรับอนุบาล ลูกปลาจะชิ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการอนุบาลและปริมาณลูกปลา ที่ต้องการอนุบาล เช่น ถ้าต้องการจะเลี้ยงลูกปลาไว้เพียงระยะหนึ่ง เพื่อรอจำหน่ายหรือมีลูกพันธุ์ปลาในปริมาณไม่มากนัก ก็ควรใช้บ่อขนาดเล็กประมาณ 2-3 ตารางเมตรก็พอ แต่ถ้าต้องการอนุบาล ลูกปลาให้ได้ขนาด 3-5 เซนติเมตรเพื่อรอการจำหน่ายหรือปล่อยลงบ่อเลี้ยงและมีปริมาณมาก ควรใช้บ่อขนาดใหญ่ตั้งแต่ 100-800 ตารางเมตร ส่วนลักษณะของบ่อควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

บ่อดินที่ใช้อนุบาลลูกปลาจะต้องกำจัดศัตรูของลูกปลาออกให้หมดก่อน พื้นก้นบ่อควรเรียบและลาดเอียงไปทางประตูระบายน้ำทิ้งเล็กน้อย ภายในบ่อต้องสะอาดปราศจากพืชพรรณไม้น้ำต่างๆ ที่พื้นก้นบ่อควรขุดเป็นร่องขนาดกว้างประมาณ 0.5-1.0 เมตร

ยาวจากหัวบ่อจรดท้ายบ่อและลึกจากระดับน้ำพื้นก้นบ่อประมาณ 20 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกในการอนุบาลลูกปลา และ ตรงปลายร่องควรขุดเป็นแอ่งลึกมีพื้นที่ประมาณ 2-4 ตรารางเซนติเมตร เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมลูกปลา นอกจากนี้ควรมีตาข่ายปิดบริเวณบ่อเพื่อ ป้องกันนกมากินลูกปลาโดยเฉพาะนกกาน้ำและนกกลางคืน

การเตรียมบ่อ หลังจากขุดบ่อเสร็จแล้วจึงทำการเตรียมบ่อ ปรับสภาพภายในบ่อให้เหมาะสม เนื่องจากลูกปลาดุกในระยะนี้ยังมีความอ่อนแอและไม่ค่อยทนต่อสภาพแวดล้อมมากนัก อาจกล่าวได้ว่าอัตราการรอดตายและการเจริญเติบโตของลูกปลาจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการเตรียมบ่อนเอง ซึ่งการเตรียมบ่อที่ดีจะช่วยให้การดูแลลูกปลาในระยะต่อๆไปง่ายขึ้น ส่งผลให้ลูกปลามีอัตราการรอดตายและการเจริญเติบโตสูง

การเตรียมบ่ออนุบาลลูกปลาดุกในบ่อดินเริ่มจากตากบ่อให้แห้ง แล้วใส่ปูนขาวในอัตรา 50-200 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหว่านให้ทั่วบ่อ ซึ่งปริมาณการใช้ปูนขาวนั้นจะขึ้นอยู่กับระดับความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดิน ก่อนปล่อยลูกปลาประมาณ 2-3 วันให้สูบน้ำเข้าบ่อประมาณ 30 เซนติเมตร ซึ่งขณะสูบน้ำเข้าบ่อจะต้องกรองด้วยมุ้งเขียวด้วย เพื่อไม่ให้ปลาหรือไข่ของปลาอื่นๆ ติดไปกับน้ำ ไม่ควรสูบน้ำเข้าบ่อก่อนปล่อยลูกปลาหลายวัน เพราะจะทำให้เกิดศัตรูของลูกปลา เช่น ตัวอ่อนแมลงปอ ลูกอ๊อดต่างๆ ฯลฯ หลังจากนั้นจึงใส่ปุ๋ยคอกประมาณ 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ โดยกองไว้ตามมุมบ่อ เมื่อน้ำเขียวดีแล้วจึงนำไรแดงมาปล่อยเพื่อให้ขยายพันธุ์นาน 1-2 วัน ปริมาณไรแดงจะเพิ่มมากขึ้น เป็นการเพาะไรแดงไว้ล่วงหน้าเตรียมไว้เพื่อเป็นอาหารสำหรับลูกปลา


No comments
Back to content