โรคและปรสิตปลาดุก - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

โรคและปรสิตปลาดุก

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > โรคปลาดุกและการป้องกันรักษา
โรคและปรสิตปลาดุก
ในการเลี้ยงปลาดุกไม่ว่าจะเลี้ยงเป็นอาชีพ หรือเลี้ยงเป็นงานอดิเรกก็ตาม ปัญหาหนึ่งที่ผู้เลี้ยงปลาดุกมักพบอยู่เสมอคือ เรื่องการเกิดโรค ดังนั้นถ้าหากผู้เลี้ยงมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับชนิด และสาเหตุของโรคที่เกิดขึ้น รวมทั้งวิธีการป้องกันและรักษาเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันรักษาด้วยตนเอง จะช่วยให้การเลี้ยงปลาของท่านประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายได้เป็นอย่างดี สำหรับโรคที่ผู้เลี้ยงปลาดุกมักพบอยู่บ่อยๆ มีอยู่หลายโรคด้วยกันคือ

1. โรคโคนครีบหูบวม หรือที่ผู้เลี้ยงเรียกกันติดปากว่า โรคกกหูบวม สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย aeromonas hydrophila เชื้อชนิดนี้พบได้ทั่วไปในบ่อเลี้ยงปลาดุก ปกติแล้วปลาที่แข็งแรงจะมีความต้านทานต่อเชื้อดังกล่าวได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อปลาอ่อนแออาจเนื่องมาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง เชื้อนี้จึงจะเข้าทำลาย ทำให้ปลาเกิดโรคนี้ได้ทันที

โรคนี้พบมากในลูกปลาขนาด 1 เซนติเมตรหรือที่เรียกว่า ปลาลูกไร และขนาด 3-7 เซนติเมตรหรือที่เรียกว่า ปลาเซนต์ อาการของโรคเริ่มแรก คือลำตัวจะแขวนตรงกับผิวน้ำ เมื่อจับปลาขึ้นมาดูพบว่าที่โคนครีบหูบวม ในระหว่างนั้นปลาจะไม่กินอาหารและจะตายไปในที่สุด สำหรับปลาโตนั้นก่อนตายส่วนที่บวมจะแตกออก นอกจากนี้เมื่อสังเกตดูอวัยวะภายในพบว่าที่ บริเวณใต้ตับ ในช่องท้องและช่องว่างใกล้โคนครีบหูมีอาการบวม สีซีด หรืออวัยวะดังกล่าวอาจจะหยุดทำงาน

การป้องกันรักษา ควรปล่อยลูกปลาในอัตราที่เหมาะสมและให้อาหารอย่างถูกต้อง ส่วนการรักษาให้ปฏิบัติดังนี้
1. ถ่ายน้ำจากพื้นก้นบ่อออกอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดตะกอนเศาอาหารเน่าเสียที่พื้นก้นบ่อ
2. ใช้ปูนขาวเพื่อลดระดับ pH ของน้ำให้อยู่ในช่วง 7.5-8.5 ในอัตรา ครั้งละประมาณ 30-60 กิโลกรัมต่อไร่
3. ใช้เกลือแกงในการลดพิษต่างๆและการเน่าเสียของพื้นบ่อในอัตรา ครั้งละ 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมกับลดปริมาณอาหารลงตามความผสม
4. ถ้าปลายังกินอาหารอยู่ อาจใข้ยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซีเตตร้าไซคลินผสมอาหารในอัตรา 1-2 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้กินติดต่อกันอย่าง น้อยครั้งละ 5-7 วัน จะช่วยให้ปลาหายป่วยเร็วขึ้น



2. โรคท้องบวม เกิดจากการที่ปลาได้รับอาหารที่เก็บไว้นานเกินไป หรืออาหารเป็นพิษ โดยเชื้อแบคทีเรียพวก Aeromonas hydrophila เป็นตัว
เข้าไปทำลายระบบขับถ่ายของปลา ทำให้ปลาไม่สามารถระบายน้ำเสียออก จากร่างกายได้ตามปกติ ดังนั้นจึงเกิดมีของเหลวคั่งค้างอยู่เต็มช่องท้อง ทำให้ท้องของปลาบวมออกมา และเนื้อหนังแตกเป็นแผลพุพองตามลำตัวของปลา

การป้องกันรักษา ไม่นำอาหารเป็นพิษมาให้ปลากิน ไม่เลี้ยงปลาในปริมาณที่แน่นจนเกินไป ควรฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยง หลังจากสูบน้ำออกแล้วโดยโรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ สำหรับปลาที่เกิดโรคนั้นให้ นำไปแช่ในยาปฏิชีวนะออกซิเตตร้าไซคลิน ในอัตราส่วน 10-30 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร



3. โรคแผลตามลำตัว เกิดขึ้นเนื่องจากโปรตัวซัวจำพวกเห็บระฆังและปลิงใสเข้ามาเกาะตามลำตัวปลา ทำให้บริเวณนั้นบวมขึ้น มีสีแดง และเป็นแผลขึ้นตามลำตัว ต่อมาแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในน้ำเข้าทำลายผิวหนังและแผลจะเริ่มเปี่อยลึกลงไปจนเห็นกล้ามเนื้อ และเน่าเปื่อยลุกลามออกไปอย่างรวดเร็วเป็นเหตุทำให้ปลาตายได้ ซึ่งโรคนี้ส่วนใหญ่เกิดกับลูกปลาที่เริ่มปล่อยลงเลี้ยงประมาณ 15 วัน และหลังจากเลี้ยงไปได้ 3-4 เดือนซึ่งปลามีขนาดโตพอที่จะส่งจำหน่ายมักเป็นโรคนี้อีกครั้ง

การป้องกันรักษา ถ้าเป็นปลาที่เลี้ยงในบ่อและเริ่มมีอาการของโรค อาจผสมยาปฏิชีวนะจำพวกไนโตรฟูราโซนกับอาหารปลา ในอัตราส่วน 60-70 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม หรือ 2-3 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินติดต่อกัน 3-5 วัน หรือนำปลาที่เป็นโรคไปแช่ในสารละลายออกซีเตตร้าไซคลิน ในอัตราส่วน 10-20 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร นาน 1-2 วัน ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง
1 comment
Average Vote: 110.0/5

น้ำฝน เเซ่เบ้
2022-02-25 14:33:03
มีโรคน้อยเกินไป
Back to content