โรคและพยาธิปลาสวาย - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

โรคและพยาธิปลาสวาย

บทความ > ปลาที่เลี้ยงง่าย > ปลาสวาย
โรคและพยาธิปลาสวาย
ปกติแล้วปลาสวายจะเป็นปลาที่ไม่ค่อยสร้างปัญหาให้กับผู้เลี้ยงมากนักในเรื่องโรคและพยาธิ แต่ก็อาจพบโรคและพยาธิเข้าทำลายปลาสวายได้บ้างในบางครั้ง ได้แก่
1.โรคที่เกิดจากพยาธิ “อิ๊ก” (Ichthyophthirius sp.) ทำลายโดยตัวเต็มวัยของพยาธิจะอยู่ใต้ผิวหนังของปลาและดูดเลือดกินเป็นอาหาร ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วลำตัว มีเมือกหลุดออกมา ปลามีอาการเฉื่อยชา สาเหตุเกิดจากการเลี้ยงปลาหนาแน่น เกินไป อาหารที่ให้มีคุณภาพไม่ดี อุณหภูมิต่ำ

เมื่อพบปลาตัวใดเป็นโรคควรรีบใช้ยารักษาทันที จะสามารถป้องกันการระบาดของโรคได้ โดยนำปลาไปแช่ในน้ำยาฟอร์มาลีนเข้ม ขัน 25 ส่วนในล้านส่วน (25 ซีซี.ต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร) โดยแช่วันเว้นวัน

2. โรคที่เกิดจากพยาธิ “ทริโคดินา” (Trichodina sp.) มักเกิดกับปลาขนาดเล็ก โดยพยาธิในกลุ่มนี้จะเกาะอยู่ตามลำตัว ครีบและซี่เหงือก ทำให้ปลาเกิดอาการระคายเคือง ลักษณะอาการที่ปรากฏให้ เห็นคือ จะมีลักษณะเป็นแผ่นเยื่อบางๆปกคลุมทางด้านหัวและด้านหลัง รวมทั้งบริเวณครีบ ทำให้ปลามีอาการเฉื่อยชา ไม่ค่อยกินอาหาร และ จะผอมตายในที่สุด
หากปลาเกิดโรคนี้ให้แช่ปลาในน้ำเกลือเข้มข้น 3-5 เปอร์เซ็นต์ ( 300-500 กรัมต่อน้ำ 100 ลิตร) จนกระทั่งเมื่อปลามีอาการกระวนกระวายจึงเปลี่ยนน้ำใหม่ ทำต่อเนื่องกัน 4-5 วัน หรือแช่ปลา ในน้ำยาฟอร์มาลีนเข้มข้น 25 ส่วนในล้านส่วน

3. โรคที่เกิดจากพยาธิ “แดคทีโลยีรัส” (Dactylogyrus sp.) หรือพวกพยาธิตัวแบน พยาธิจะเกาะที่บริเวณซี่เหงือกของปลาสวาย และจะทำลายซี่เหงือก ทำให้ปลามีอาการหายใจไม่สะดวก

กำจัดโดยการใช้น้ำยาฟอร์มาลีน 50 ส่วนในล้านส่วน (50 ซีซี.ต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร) หรือละลายดิพเทอร์เร็กซ์ 0.25 ส่วนในล้านส่วนก็ได้ผลเช่นเดียวกัน ซึ่งการใช้ยาเข้มข้นในระดับดังกล่าวนี้ หากปลามีอาการทุรนทุรายควรรีบจับปลาไปปล่อยในน้ำที่ไม่มีตัวยา มิเช่นนั้นปลาอาจตายได้ โดยทั่วไปจะแช่ไม่เกิน 10-15 นาที

4. โรคท้องบวม สามารถเกิดขึ้นได้กับปลาทุกขนาด โดยส่วนท้องของปลาจะบวมออกมาเห็นได้ชัดเจน ทำให้ปลาเคลื่อนไหวช้าลง และตายในที่สุด การรักษาที่ได้ผลคือใช้ออกซีเตตร้าไซคลิน 300-500 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ผสมในอาหารให้ปลากินติดต่อกัน 5-7 วัน ควบคู่กับการจัดการที่ดี


No comments
Back to content