ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับจำหน่าย - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับจำหน่าย

บทความ > การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย > การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อดิน
ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับจำหน่าย
แม้ว่าปลาดุกบิ๊กอุยจะเป็นปลาที่เจริญเติบโตรวดเร็วก็ตาม แต่การเจริญเติบโตของปลาดุกบิ๊กอุยที่เลี้ยงในบ่อดินยังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน ปัจจัยที่สำคัญได้แก่ ความหนาแน่นของปลา อาหารที่ใช้เลี้ยง คุณภาพของน้ำในบ่อ เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปถ้าตลอดระยะเวลาการเลี้ยงปลามีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีปัญหาเรื่องโรค ได้รับอาหารเต็มที่ น้ำในบ่อมีคุณภาพดี มีการจัดการระบบการเลี้ยงที่ดี หากเริ่มเลี้ยงจากลูกปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร โดยใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 3-4 เดือน จะได้ปลาดุกบิ๊กอุยที่มีขนาดน้ำหนักตัวละประมาณ 200-400 กรัม หรือ 3-5 ตัวต่อกิโลกรัม ผลผลิตที่ได้ประมาณ 10-14 ตันต่อไร่ อัตราการรอดตายประมาณ 40-70 เปอร์เซ็นต์ แต่การที่จะเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยให้โตได้ขนาดดังกล่าวนี้ คุณภาพของอาหารที่ใช้เลี้ยงจะต้องดี และคุณภาพของน้ำในบ่อต้องดีสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาการเลี้ยงด้วย

หลังจากเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยจนโตได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการแล้ว จึงทำการจับจำหน่าย ซึ่งฤดูหรือระยะเวลาที่ควรจับปลาดุกบิ๊กอุยส่งจำหน่ายตลาดนั้น ควรพิจารณาจับในฤดูที่ปลาขาดแคลน จะทำให้ขายได้ราคาดี โดยทั่วไปแล้วราคาปลาดุกจะสูงขึ้นในช่วงฤดูแล้ง เพราะเป็นช่วงที่ปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติลดลง

เมื่อปลาโตจนได้ขนาดตามที่ต้องการแล้ว ผู้เลี้ยงจะต้องติดต่อกับพ่อค้าไว้ล่วงหน้าเพื่อนัดวันจับก่อนถึงวันจับ 1 วันจะต้องงดให้อาหารและการถ่ายเทน้ำ เพื่อให้ปลาท้องว่างจะได้ไม่สำรอก อาหารออกมาในระหว่างการจับและลำเลียง การจับปลาดุกบิ๊กอุยที่เลี้ยงในบ่อดินจะใช้วิธีตีอวนเป็นคราวๆ ไป เนื่องจากพ่อค้าจะรับชื่อปลาจำนวนกำจัดในแต่ละครั้ง เมื่อตีอวนจนปลาเหลือน้อยจึงระบายน้ำออกและจับปลาจนหมด เมื่อถึงวันจับผู้เลี้ยงจะลดระดับ น้ำในบ่อลงเหลือประมาณ 50 เซนติเมตรพอที่จะตีอวนได้ จากนั้น ใช้อวนลากรวบรวมปลามายังมุมด้านลึกของบ่อ ใช้สวิงขนาดใหญ่ ตักปลาขึ้นมาแล้วนำไปล้างโคลนออกจนสะอาดแล้วบรรจุภาชนะลำเลียง

สำหรับวิธีการลำเลียงขนส่งปลาดุกที่นิยมในปัจจุบัน คือ การลำเลียงขนส่งโดยใช้ลังปลา ลังปลาดุกที่นิยมใช้กันมี 2 ขนาด คือ ลังขนาดใหญ่ (50X90x30 เซนติเมตร) สามารถบรรจุปลาดุกได้ 70 กิโลกรัม และลังขนาดเล็ก (45x75x35 เซนติเมตร) สามารถบรรจุปลาดุกได้ 50 กิโลกรัม แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะทางการขนส่งด้วย หลังจากบรรจุปลาลงในลังได้ครบตามต้องการแล้วให้ทำการบิดฝา มัดให้แน่น แล้วลำเลียงขนส่งไปขายยังตลาดต่อไป

No comments
Back to content