การเลี้ยงปลาดุกอุยในบ่อซีเมนต์ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเลี้ยงปลาดุกอุยในบ่อซีเมนต์

บทความ > การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย > การเลี้ยงปลาดุกอุยในบ่อซีเมนต์
การเลี้ยงปลาดุกอุยในบ่อซีเมนต์
การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อซีเมนต์นับเป็นวิธีที่ได้ผลดี เป็นวิธีการเลี้ยงที่น้ำมาใช้แทนการเลี้ยงในบ่อดิน ซึ่งการเลี้ยงใน บ่อดินนอกจากจะมีขนาดใหญ่และปล่อยปลาเป็นจำนวนมากแล้ว ยังให้กินอาหารสดเป็นอาหารด้วยทำให้น้ำในบ่อมักจะเสียอยู่เป็นประจำ ทำให้ปลาเกิดโรคได้ง่าย เมื่อจะใส่ยารักษาโรคก็ทำได้ยาก และสังเกตอาการของปลาได้ยาก เพราะบ่อมีขนาดกว้างปลากระจายกันอยู่ แต่การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์จะสังเกตความผิดปกติของปลาได้ง่าย ถ่ายเทน้ำได้ง่าย ให้ยาได้สะดวก เพราะพื้นที่มีเพียงเล็กน้อย แต่สามารถปล่อยปลาหนาแน่นได้และให้ผลผลิต ต่อหน่วยพื้นที่สูง นอกจากนี้ยังสามารถทยอยจับปลาส่งตลาดได้ ตามความต้องการของตลาดดีกว่าการเลี้ยงในบ่อดิน

ทำเลที่เหมาะสม เนื่องจากการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อซีเมนต์จะต้องใช้น้ำในปริมาณที่มาก ดังนั้นจึงควรสร้างบ่อให้อยู่ ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติที่มีน้ำคุณภาพดีและปริมาณมากพอ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนองน้ำ อ่างเก็บน้ำ ใช้ปั๊มขนาดครึ่งแรงม้า สูบน้ำเข้าบ่อแล้วปล่อยทิ้งไปเลย แต่ถ้าหาทำเลที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติไม่ได้อาจใช้น้ำจากบ่อดินขนาดใหญ่ หรืออาจใช้น้ำบาดาล ก็ได้แต่ต้องมีบ่อพักน้ำขนาดใหญ่ โดยกะว่าน้ำที่สูบขึ้นมาต้องพักประมาณ 10 ชั่วโมงจึงจะสูบไปใช้เลี้ยงปลาได้ การใช้น้ำบาดาลต้นทุนอาจจะสูง แต่มีข้อดีตรงที่ว่าคุณภาพของน้ำสม่ำเสมอไม่ค่อย
เปลี่ยนแปลง และยังสะอาดกว่าน้ำในบ่อหรือน้ำในคลอง นอกจากนี้ทำเลที่ตั้งบ่อซีเมนต์ควรอยู่ใกล้แหล่งจำหน่ายพันธุ์ปลา อาหารปลา และมีเส้นทางคมนาคมสะดวกด้วย

บ่อและการเตรียมบ่อ
ลักษณะของบ่อซีเมนต์ใช้เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย อาจใช้บ่อที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือบ่อคอนกรีต กลมก็ได้ แล้วแต่ความต้องการของผู้เลี้ยงและความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ พื้นก้นบ่อควรสร้างให้ลาดเทไปทางท่อระบายน้ำ นอกจากนี้ควรทาสีพื้นก้นบ่อและขอบบ่อด้านในด้วยสีป๊อกซี่ที่สว่างๆ เพื่อให้มองเห็นตัวปลาได้ชัดเจน ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น และป้องกันสารต่างๆในปูนซีเมนต์ที่จะละลายออกมากับน้ำเป็นอันตรายต่อลูกปลา บ่อซีเมนต์ควรมีทางน้ำเข้าและน้ำออกคล้ายๆกับบ่ออนุบาล แต่ขนาดของบ่อควรมีขนาดใหญ่กว่า

หลังจากสร้างบ่อเสร็จแล้วใช่ว่าจะปล่อยปลาลงเลี้ยงได้เลยจะต้องมีการเตรียมบ่อเสียก่อน บ่อที่สร้างใหม่ยังไม่สามารถปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงได้ เนื่องจากน้ำในบ่อจะเป็นด่าง ความเป็นด่าง ของปูนนี้ถึงแม้ว่าจะไม่ทำให้ลูกปลาดุกตายก็ตาม แต่จะทำให้ปลาอ่อนแอเป็นเหตุให้เกิดโรคได้ง่าย ดังนั้นบ่อซีเมนต์ที่สร้างเสร็จใหม่ๆ จะต้องสูบน้ำเข้าให้เต็มบ่อแล้วทิ้งไว้ 2 สัปดาห์ หรือถ้าเปลี่ยนน้ำบ่อยๆเพียง 1 สัปดาห์ก็ใช้ได้ เพื่อลดความเป็นด่างของปูนซีเมนต์ จากนั้นจึงปล่อยน้ำในบ่อทิ้งพร้อมทั้งทำความสะอาดบ่อ แล้วจึงระบายน้ำเข้าบ่อให้ได้ระดับความลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร จึงปล่อยปลาลงเลี้ยงได้

สำหรับบ่อเก่า เมื่อจับปลาออกจากบ่อหมดแล้วควรทำความสะอาดขัดด้วยแปรงให้สะอาด หากปลารุ่นก่อนเป็นโรคให้ใช้น้ำยาฟอร์มาลีนราดให้ทั่วบ่อ ตากบ่อให้แห้งประมาณ 1 วันก็สามารถ 1 ปล่อยลูกปลาดุกบิ๊กอุยลงเลี้ยงได้ แต่ถ้าปลารุ่นก่อนไม่เกิดโรค ก็ไม่จำเป็นต้องราดด้วยน้ำยาฟอร์มาลีน เพียงแต่ทำการตากบ่อไว้ 1-3 วันจึงระบายน้ำเข้าบ่อ แล้วปล่อยปลาลงเลี้ยงต่อไปได้

No comments
Back to content