การเตรียมบ่อและการดูแลรักษาบ่อ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเตรียมบ่อและการดูแลรักษาบ่อ

บทความ > การเลี้ยงปลาน้ำจืด > ปลานิล
การเตรียมบ่อและการดูแลรักษาบ่อ
บ่อที่ใช้เลี้ยงปลานิลควรเป็นบ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดตั้งแต่ 400 ตารางเมตรขึ้นไป ระดับน้ำในบ่อควรลึกประมาณ 1 เมตรตลอดทั้งปี ทั้งนี้เพื่อจะได้เลี้ยงปลาซึ่งมีขนาดโต และใช้สำหรับเพาะลูกปลาพร้อมกัน 4เปอร์เซ็นต์ หากเป็นบ่อทีมีขนาดเล็ก ลูกปลาทีเกิดขึ้นใหม่จะมีความแน่นภายในบ่อ ทำให้ลูกปลาเหล่านี้ไม่โต โดยที่ปลานิลเป็นปลาที่วางไข่โดยการขุดหลุมตามก้นบ่อ ดังนั้นจึงควรมีชานบ่อหรือทำให้ขอบบ่อมีเชิงลาดเทมากๆ ซึ่งเป็นแหล่งที่ตื้นสำหรับให้แม่ปลาวางไข่

หากบ่ออยู่ใกล้กับแม่น้ำ เช่น คู คลอง ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวิดน้ำเข้าออกเพียงแต่ทำท่อระบายน้ำแล้วกรุด้วยตะแกรงตาถี่เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาที่เลี้ยงไว้หลบหนีออกไป และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ศัตรู ของปลาจากภายนอกเล็ดลอดเข้ามา หากบ่อไม่สามารถทำท่อระบายน้ำได้ ก็จำเป็นที่จะต้องสูบน้ำเข้าบ่อเมื่อเวลาน้ำลด และเราต้องหมั่นเปลี่ยนน้ำในเวลาที่น้ำเสีย

การเตรียมบ่อ

1. บ่อใหม่ หากเป็นบ่อที่ขุดขึ้นมาใหม่ ดินมักมีคุณภาพเป็นกรดเราควรใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วบ่อในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร

2. บ่อเก่า จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรปรับปรุงบ่อ โดยการกำจัดวัชพืชออกให้หมด จำพวกปลากินเนื้อเช่นปลาช่อน หากมีสัตว์จำพวก กบ เขียด เต่า ก็ควรกำจัดให้พ้นพื้นที่นั้นด้วย วิธีกำจัดง่ายๆคือ โดย การระบายน้ำออกให้หมด แล้วจับสัตว์ต่างๆออกให้หมด หากบ่อที่เราเลี้ยงอยู่ใกล้ทางน้ำ ไม่สะดวกแก่การระบายน้ำออกก็ควรใช้โล่ติ๊นสด ในอัตราส่วน 1 กิโลกรัมต่อปริมาณน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร วิธีใช้คือทุบหรือบดโล่ติ๊นให้ละเอียด นำลงแช่น้ำ 1 หรือ 2 ปี๊บ ขยำโล่ติ๊นเพื่อให้น้ำสีขาวออกมาหลายๆครั้งจนหมด แล้วนำไปสาดให้ทั่วบ่อ ศัตรูปลาดังกล่าวจะตายจนหมด แล้วเก็บออกให้หมดอย่าปล่อยให้เน่าในบ่อ
เพราะจะทำให้น้ำเสีย ก่อนที่เราจะปล่อยปลาลงเลี้ยงควรทิ้งบ่อไว้ ประมาณ 7-10 วัน เพื่อรอให้ฤทธิ์โล่ติ๊นสลายตัว

3. การใส่ปุ๋ย โดยปกติปลาจะกินอาหารซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และจากที่ให้สมทบเป็นจำนวนเท่าๆกัน ดังนั้นในบ่อเลี้ยงปลาควรดูแลให้มีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้นอยู่เสมอ จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยลงไปเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติ ปุ๋ยที่เรานำมาใส่ได้แก่ มูลวัว มูลควาย มูลหมู มูลเป็ด และมูลไก่ นอกจากปุ๋ยมูลสัตว์แล้ว ปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดต่างๆก็นำมาใช้ได้


อัตราการใส่ปุ๋ย
ในระยะแรกเราควรใส่ประมาณ 250-300 กิโลกรัมต่อไร่ ในระยะหลังๆ ควรใส่ในอัตราครั้งละครึ่งหนึ่งของระยะแรก

วิธีใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยหากเป็นปุ๋ยคอก คือปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ ควรตากให้แห้งเสียก่อน เพราะถ้าเป็นปุ๋ยที่ยังสด จะทำให้น้ำในบ่อมีแก๊สจำพวก แอมโมเนียละลายอยู่ในน้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อปลา การใส่ปุ๋ยคอกให้หว่านลงไปในบ่อให้ละลายไปทั่ว อย่าโยนให้ตกอยู่ในที่เดียว ส่วนปุ๋ยพืชสด ควรเทสุ่มเป็นกองไว้ตามมุมบ่อ 1 หรือ 2 แห่ง โดยมีไม้ไผ่ปักล้อมไว้เป็นคอกรอบกองปุ๋ยพืชสด เพื่อป้องกันมิให้ส่วนที่ยังไม่สลายตัวลอยกระจัดกระจาย

บ่อที่มีอาหารมากหรือน้อยเราดูได้จากสีของน้ำ หากน้ำในบ่อ มีสีเขียวแสดงว่ามีอาหารจำพวกพืชเล็กๆปนอยู่มาก และหากน้ำในบ่อมีสีค่อนข้างคล้ำ มักมีอาหารจำพวกไรน้ำมาก พวกพืชเล็กๆและไรน้ำเหล่านี้เป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อการเลี้ยงปลาเป็นอย่างดี

No comments
Back to content