การเจริญเติบโต - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเจริญเติบโต

บทความ > การเลี้ยงปลาน้ำจืด > ปลาสลิด
การเจริญเติบโต
ไข่ปลาสลิดจะเริ่มฟักเป็นตัวภายในระยะ 24 ชั่วโมง โดยทยอยออกเป็นตัวเรื่อยๆ ไข่จะออกเป็นตัวหมดภายใน 48 ชั่วโมง แต่ไข่บางฟองที่ไม่ได้รับการผสมจะมีลักษณะขุ่นเป็นราสีขาวไม่ออกเป็นตัว

ลูกปลาที่ออกจากไข่ใหม่ๆ มีถุงอาหารติดอยู่ที่ท้องยังไม่กินอาหาร จนกว่าพ้น 7 วันไปแล้ว เมื่อถุงอาหารยุบหมดจึงจะเริ่มกินอาหารต่างๆ และเมื่ออายุได้ 7 เดือน จะมีความยาวตั้งแต่ 10 เซนติเมตรขึ้นไป เป็นขนาดที่พร้อมจะสืบพันธุ์
การให้อาหาร
อาหารที่ปลาสลิดชอบกินก็คือตะไคร่น้ำ รำละเอียด หรือปลายข้าว โดยต้มปนกับผักบุ้งที่หั่นแล้ว รวมกับแหนสดและปลวก

ตะไคร่น้ำและไรน้ำเป็นอาหารของลูกปลาในวัยอ่อนอายุตั้งแต่ 7 วัน ถึง 1 เดือน เมื่อปลามีอายุได้ 21 วัน ควรให้รำข้าวอย่างละเอียด ต้มปนกับผักบุ้งที่หั่นละเอียดหรือแทนสดและปลวก เพราะลูกปลาบางตัวเจริญเติบโตเร็วจนสามารถกินอาหารได้

สำหรับผักบุ้งที่ใช้ต้มปนกับรำ ควรใช้ผัก 1 ส่วน รำ 2 ส่วน โดยต้มผักให้เปื่อย แล้วจึงเอารำลงไปเคล้าเป็นก้อน การให้อาหารควรให้วันละ 2 ครั้ง ในเวลาเช้าโดยจัดวางบนแป้นใต้ระดับน้ำ 1 คืบ ควรกะปริมาณอาหารให้ปลากินหมดพอดีในแต่ละวัน หากอาหารเหลือข้ามวันจะทำให้เน่าบูด เน่าเสีย แต่การที่จะกำหนดปริมาณอาหารให้แน่นอน เพราะปลาย่อมเจริญเติบโต อาหารที่ให้แต่ละคราวจึงต้องค่อยเพิ่มปริมาณให้มากขึ้นเสมอ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของปลา

การให้อาหารแต่ละครั้ง ควรพยายามให้เป็นเวลาและควรให้อาหารในระหว่างที่อากาศยังไม่ร้อน คือในช่วงเช้าและเย็น ก่อนวางอาหารบนแป้นไม้ ควรดีดน้ำให้สัญญาณเสียก่อน ปลาจะได้เชื่องและเคยชิน


โรคของปลา
ตามธรรมชาติปลาสลิดไม่ค่อยจะเป็นโรค ทั้งยังไม่เคยปรากฏว่ามีโรคระบาดเกิดขึ้นในบ่อปลาสลิด นอกจากน้ำในบ่อเน่าเสีย ซึ่งจะทำให้ปลาขึ้นลอยหัว เพราะออกซิเจนที่ละลายในน้ำไม่เพียงพอ ปลาจึงต้องขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ ผู้เลี้ยงต้องรีบถ่ายน้ำเก่าออกแล้วระบายน้ำเข้าใหม่ หรือรีบย้ายปลาไปพักไว้บ่ออื่น อีกอย่างหนึ่งก็คือในฤดูร้อนมักปรากฏเสมอว่าจะเกิดตัวเห็บน้ำเกาะติดตามตัวปลา ตัวเห็บน้ำนี้จะเกาะดูดเลือดของปลา ทำให้เกิดการเจริญเติบโตหยุดชะงัก หากเกิดมีเห็บน้ำขึ้นมาต้องรีบกำจัดโดยวิธีระบายน้ำเข้าไปในบ่อให้มากๆ จะทำให้ตัวเห็บนี้หาย

อีกประการหนึ่ง ปลาที่จะนำมาเป็นพ่อ-แม่พันธุ์ หากพบว่ามีบาดแผล ไม่สมควรปล่อยลงไปเลี้ยงรวมกันในบ่อ เพราะปลาที่เป็นแผลอาจกลายเป็นโรคและปล่อยเชื้อระบาดไปติดปลาตัวอื่น


No comments
Back to content